ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาเรื่อง การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้คนไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กรณีว่าควรจะกำหนดแนวทางโดยใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักนั้น ในการพิจารณากรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวขอรับโอนที่ดิน จะเลือกบังคับเฉพาะกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งไม่ได้ ต้องพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ได้บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องสอบสวนในเรื่องการหลีกเลี่ยงกฎหมาย สิทธิ และความสามารถของบุคคล รวมตลอดถึงความสมบูรณ์แห่งนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 74 และมาตรา 77 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ดังนั้น การพิจารณากรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ขอได้มาซึ่งที่ดินจึงต้องนำประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาประกอบกัน การวางแนวทางปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0710/ว 792 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 (ปรากฏตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542) นั้นเหมาะสมแล้ว
2. กรณีว่าควรมีหลักเกณฑ์เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐมนตรีในการออกคำสั่งด้วยนั้น ในการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยในการรับฟังว่าการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรายใดจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือเป็นการซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าวหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนในแต่ละเรื่อง โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้สอบสวนและพิจารณาในเบื้องต้นว่ามีกรณีดังกล่าวหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจะเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ดังนั้น การจะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ประกอบดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาต จึงไม่สามารถกระทำได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาเรื่อง การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้คนไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กรณีว่าควรจะกำหนดแนวทางโดยใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักนั้น ในการพิจารณากรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวขอรับโอนที่ดิน จะเลือกบังคับเฉพาะกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งไม่ได้ ต้องพิจารณากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไป ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ได้บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องสอบสวนในเรื่องการหลีกเลี่ยงกฎหมาย สิทธิ และความสามารถของบุคคล รวมตลอดถึงความสมบูรณ์แห่งนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 74 และมาตรา 77 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ดังนั้น การพิจารณากรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ขอได้มาซึ่งที่ดินจึงต้องนำประมวลกฎหมายที่ดิน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาพิจารณาประกอบกัน การวางแนวทางปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0710/ว 792 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 (ปรากฏตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542) นั้นเหมาะสมแล้ว
2. กรณีว่าควรมีหลักเกณฑ์เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐมนตรีในการออกคำสั่งด้วยนั้น ในการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามนัยมาตรา 74 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยในการรับฟังว่าการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรายใดจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมายหรือเป็นการซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าวหรือไม่ จะขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนในแต่ละเรื่อง โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้สอบสวนและพิจารณาในเบื้องต้นว่ามีกรณีดังกล่าวหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจะเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ดังนั้น การจะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ประกอบดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาต จึงไม่สามารถกระทำได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--