คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรีย (จัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอลฯ) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ผู้แทนทางการค้าของไทย (นายประจวบ ไชยสาส์น) ได้นำคณะผู้แทนทางการค้าออสเตรียเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรีย โดยรัฐบาบออสเตรียจะจัดหาเงินช่วยเหลือระยะยาวสำหรับจัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงแลกเปลี่ยนกับการซื้อสินค้าจากไทย
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรีย ในการจัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงโดยแลกเปลี่ยนกับการซื้อสินค้าจากประเทศไทย โรงงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทย เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีเทคโนโลยี และระบบที่ได้มาตรฐาน และใช้วัตถุดิบจากภาคเกษตรของไทย และขณะนี้ออสเตรียได้จัดตั้งกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบด้วย Siemens Steyr Daimler-Puch และ Vogelbusch ภายใต้ชื่อ Austrian Consortium of Infrastructure (ACI)ซึ่งกำลังร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 300,000 ลิตรต่อวันโดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ รวมกับโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบชีวภาพขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อวัน จำนวน 5 โรงงาน
โรงงานดังกล่าวเป็นระบบซึ่งสามารถผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบภาคเกษตรต่าง ๆ (Flexible system) ได้อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กำลังร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ ทั้งนี้ อาจให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นคู่สัญญา โดยอาจร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีความสนใจ
รัฐบาลออสเตรียจะได้จัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวสำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวให้แก่ฝ่ายไทย โดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 5 - 10 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ส่วนการปรับระบบการผลิตเพื่อให้ใช้วัตถุดิบทางเกษตรต่าง ๆ นั้น มีความเป็นไปได้ แต่หากสามารถใช้ผลผลิตเพียงอย่างเดียวในหนึ่งโรงงาน จะช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าและเอทานอลสามารถใช้แทน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Esther) ได้อย่างสมบูรณ์
สถานที่ตั้งโรงงานดังกล่าว หากไทยมีวัตถุดิบมากเพียงพออาจตั้งกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ซึ่งมีผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถป้อนโรงงานได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ การตั้งโรงงานจะดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์จะให้ใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ในประเทศให้มากที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 ก.ค.44--
-สส-
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและออสเตรีย ในการจัดสร้างโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงโดยแลกเปลี่ยนกับการซื้อสินค้าจากประเทศไทย โรงงานดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทย เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีเทคโนโลยี และระบบที่ได้มาตรฐาน และใช้วัตถุดิบจากภาคเกษตรของไทย และขณะนี้ออสเตรียได้จัดตั้งกลุ่มบริษัทซึ่งประกอบด้วย Siemens Steyr Daimler-Puch และ Vogelbusch ภายใต้ชื่อ Austrian Consortium of Infrastructure (ACI)ซึ่งกำลังร่วมกันจัดทำข้อเสนอในการดำเนินโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 300,000 ลิตรต่อวันโดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ รวมกับโรงงานผลิตไฟฟ้าแบบชีวภาพขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อวัน จำนวน 5 โรงงาน
โรงงานดังกล่าวเป็นระบบซึ่งสามารถผลิตเอทานอลจากวัตถุดิบภาคเกษตรต่าง ๆ (Flexible system) ได้อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กำลังร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ ทั้งนี้ อาจให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นคู่สัญญา โดยอาจร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีความสนใจ
รัฐบาลออสเตรียจะได้จัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวสำหรับดำเนินโครงการดังกล่าวให้แก่ฝ่ายไทย โดยมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 5 - 10 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ส่วนการปรับระบบการผลิตเพื่อให้ใช้วัตถุดิบทางเกษตรต่าง ๆ นั้น มีความเป็นไปได้ แต่หากสามารถใช้ผลผลิตเพียงอย่างเดียวในหนึ่งโรงงาน จะช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าและเอทานอลสามารถใช้แทน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Esther) ได้อย่างสมบูรณ์
สถานที่ตั้งโรงงานดังกล่าว หากไทยมีวัตถุดิบมากเพียงพออาจตั้งกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ซึ่งมีผลผลิตทางการเกษตรที่สามารถป้อนโรงงานได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ การตั้งโรงงานจะดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่ประสงค์จะให้ใช้วัตถุดิบและอุปกรณ์ในประเทศให้มากที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 ก.ค.44--
-สส-