ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) ต่ออายุหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชัยบาดาล เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่หินอ่อน ตามประทานบัตรที่ 22446/13996 จังหวัดลพบุรี
ทั้งนี้ จังหวัดลพบุรี และป่าไม้เขตสระบุรี พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาต และกรมป่าไม้พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชัยบาดาล เพื่อการทำเหมืองแร่หินอ่อน ตามประทานบัตรที่ 224466/13996 ในเนื้อที่ 187 ไร่ 81 ตารางวา ท้องที่ตำบลซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2539 และให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตตามแนบท้ายระเบียบกรมป่าไม้ดังกล่าว รวม 15 ข้อ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และเงื่อนไขเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 คือ "ให้มีการตัดไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ทำเหมืองแร่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้" ด้วย
นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่าข้อเท็จจริงตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หนังสืออนุญาตให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรได้หมดอายุลงตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2540 และบริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และได้ยื่นคำขออนุญาตมาในขณะเวลานี้ ช่วงเวลาตั้งแต่หนังสืออนุญาตหมดอายุ จนถึงเวลาที่บริษัทฯ จะได้รับอนุญาตอีกครั้งหนึ่งประมาณ 2 ปีเศษ ได้มีการดำเนินการหรือมีการตรวจสอบอย่างไรหรือไม่ และในโอกาสต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้มีการดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ก่อนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ เพื่อให้การอนุญาตไม่ขาดช่วง จะทำได้เพียงใด และสอดคล้องกับบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ส่วนในเรื่องการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ นอกจากเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 คือ ให้มีการตัดไม้ในพื้นที่ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าไม้ กำหนดให้ต้องทำการปลูกป่าชดเชยและบำรุงรักษาป่าที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากเงื่อนไขแนบท้ายหนังสืออนุญาตข้อ 12 เป็นจำนวน 3 เท่า ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) ต่ออายุหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชัยบาดาล เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่หินอ่อน ตามประทานบัตรที่ 22446/13996 จังหวัดลพบุรี
ทั้งนี้ จังหวัดลพบุรี และป่าไม้เขตสระบุรี พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาต และกรมป่าไม้พิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชัยบาดาล เพื่อการทำเหมืองแร่หินอ่อน ตามประทานบัตรที่ 224466/13996 ในเนื้อที่ 187 ไร่ 81 ตารางวา ท้องที่ตำบลซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีกำหนดระยะเวลา 10 ปี ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2539 และให้ผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุญาตตามแนบท้ายระเบียบกรมป่าไม้ดังกล่าว รวม 15 ข้อ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และเงื่อนไขเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 คือ "ให้มีการตัดไม้ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ทำเหมืองแร่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้" ด้วย
นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่าข้อเท็จจริงตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หนังสืออนุญาตให้บริษัท เจ้าพระยาหินอ่อน - แกรนิต จำกัด (มหาชน) เข้าทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรได้หมดอายุลงตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2540 และบริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และได้ยื่นคำขออนุญาตมาในขณะเวลานี้ ช่วงเวลาตั้งแต่หนังสืออนุญาตหมดอายุ จนถึงเวลาที่บริษัทฯ จะได้รับอนุญาตอีกครั้งหนึ่งประมาณ 2 ปีเศษ ได้มีการดำเนินการหรือมีการตรวจสอบอย่างไรหรือไม่ และในโอกาสต่อไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อให้มีการดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ก่อนหนังสืออนุญาตฉบับเดิมหมดอายุ เพื่อให้การอนุญาตไม่ขาดช่วง จะทำได้เพียงใด และสอดคล้องกับบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ส่วนในเรื่องการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ นอกจากเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 คือ ให้มีการตัดไม้ในพื้นที่ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว ยังมีข้อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าไม้ กำหนดให้ต้องทำการปลูกป่าชดเชยและบำรุงรักษาป่าที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากเงื่อนไขแนบท้ายหนังสืออนุญาตข้อ 12 เป็นจำนวน 3 เท่า ของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--