ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.....และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ที่ได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้.-
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดให้บริษัท ปตท.ฯ ยังคงมีอำนาจ สิทธิ และประโยชน์อย่างเดียวกับ ปตท. และจำกัดไว้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น คือ
1.1 จำกัดประเภททรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ซึ่งแต่เดิมทรัพย์สินทุกประเภทของ ปตท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และ
1.2 กำหนดให้ลูกจ้างของ ปตท. ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาคลังปิโตรเลียม และระบบขนส่งทางท่อ เฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเท่านั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญในการกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544) ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญํติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาให้คงอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2544 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2544 รวมทั้งได้มีมติให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป บัดนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับเสร็จแล้ว โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ที่ได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้.-
1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดให้บริษัท ปตท.ฯ ยังคงมีอำนาจ สิทธิ และประโยชน์อย่างเดียวกับ ปตท. และจำกัดไว้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น คือ
1.1 จำกัดประเภททรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ซึ่งแต่เดิมทรัพย์สินทุกประเภทของ ปตท. ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และ
1.2 กำหนดให้ลูกจ้างของ ปตท. ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาคลังปิโตรเลียม และระบบขนส่งทางท่อ เฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเท่านั้น เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญในการกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544) ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเพื่อดำเนินการแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญํติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาให้คงอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2544 และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2544 รวมทั้งได้มีมติให้นำเสนอสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป บัดนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับเสร็จแล้ว โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-