ทำเนียบรัฐบาล--21 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ
1.1 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01
2. ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ยังมีกรณีที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ โดยให้ผู้จำนองโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน จากนั้นสถาบันการเงินจึงจะโอนอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาให้แก่ลูกหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไป ซึ่งกรณีดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 แต่การโอนในลักษณะนี้จะไม่ได้รับการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยตามข้อ 1.2 ข้างต้น ซึ่งการได้รับสิทธิลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนสิทธิอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง)
2.2 กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลที่สามเพื่อการชำระหนี้ให้สถาบันการเงิน
2.3 กรณีสถาบันการเงินเรียกจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มจากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เดิมหรืออสังหาริมทรัพย์ใหม่ก็ตาม
2.4 กรณีที่เจ้าหนี้อื่นที่มิใช่สถาบันการเงินและเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนหรือโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนอง
2.5 กรณีเจ้าหนี้เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนองในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบภายใต้กฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
3. เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในกรณีสถาบันการเงินได้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากผู้จำนอง แล้วสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ตามข้อ 2 ข้างต้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้วย กระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ฉบับลงวันที่28 ตุลาคม 2542 ข้อ 3 (1) จาก "กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง)" เป็น "กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนอง หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้หรือผู้จำนองหรือเป็นผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ
1.1 พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์
1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2542 ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และค่าจดทะเบียนจำนองเหลือร้อยละ 0.01
2. ในข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ยังมีกรณีที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ โดยให้ผู้จำนองโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นหลักประกันหนี้ให้แก่สถาบันการเงิน จากนั้นสถาบันการเงินจึงจะโอนอสังหาริมทรัพย์ที่รับโอนมาให้แก่ลูกหนี้เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อไป ซึ่งกรณีดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 แต่การโอนในลักษณะนี้จะไม่ได้รับการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยตามข้อ 1.2 ข้างต้น ซึ่งการได้รับสิทธิลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนสิทธิอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง)
2.2 กรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลที่สามเพื่อการชำระหนี้ให้สถาบันการเงิน
2.3 กรณีสถาบันการเงินเรียกจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มจากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) ไม่ว่าจะเป็นการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์เดิมหรืออสังหาริมทรัพย์ใหม่ก็ตาม
2.4 กรณีที่เจ้าหนี้อื่นที่มิใช่สถาบันการเงินและเป็นเจ้าหนี้ร่วมกับสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนหรือโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนอง
2.5 กรณีเจ้าหนี้เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนองในการปลดหนี้หรือการประนอมหนี้ตามคำขอประนอมหนี้หรือแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบภายใต้กฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย
3. เพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในกรณีสถาบันการเงินได้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากผู้จำนอง แล้วสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ลูกหนี้ตามข้อ 2 ข้างต้น ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้วย กระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ฉบับลงวันที่28 ตุลาคม 2542 ข้อ 3 (1) จาก "กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง) หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้ (หรือผู้จำนอง)" เป็น "กรณีสถาบันการเงินเป็นผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์จากลูกหนี้หรือผู้จำนอง หรือเป็นผู้โอนคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้หรือผู้จำนองหรือเป็นผู้โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ลูกหนี้"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 พ.ย. 2543--
-สส-