1. แต่งตั้งคณะทำงานพิเศษหารือกับผู้แทนสหภาพยุโรป รวมทั้ง FAA โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พลอากาศเอก ปรีชา ประดับมุข กรรมการและเลขานุการศูนย์ฯ และนายจุฬา มุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นรองหัวหน้าคณะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่เกิน 5 นาย ร่วมเป็นคณะ เดินทางไปหารือเพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้าของฝ่ายไทยในรายละเอียดแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมิรกานับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยใช้งบประมาณของศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน (ศบปพ.)
2. เห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เกี่ยวกับ Copperation Framework Agreement on Aviation Safety โดยให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นผู้ลงนาม
3. ให้ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือน ร่วมกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรการเร่งรัดผลักดันให้ผู้ที่ได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศทุกรายของสายการบ้นทั้ง 41 สายการบินเข้ามาดำเนินกระบวนการเพื่อออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศฉบับใหม่ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยให้มีมาตรการลงโทษทางปกครองเกี่ยวกับใบอนุญาต เช่น พักใช้หรือระวังใบอนุญาต ฯลฯ สำหรับสายการบินที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือมีความเสี่ยงสูงด้านความไม่ปลอดภัย ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม และไม่เกิดความเสียหายต่อการแก้ไขปัญหาในภาพรวมของประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จะต้องไม่ออกใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศฉบับใหม่เพิ่มเติม จนกว่าจะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concern-SSC) ได้โดยเร็วที่สุดด้วย
4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้นำเสนอแผนปฏิบัติการที่มีรายละเอียด ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงาน กิจกรรม ทุกเรื่อง โดยเฉพาะแผนงานด้านการจัดการบุคลากรของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบภายในเดือนธุนวาคม 2558
5. ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินการในภาพรวมแล้วรายงานให้ทราบทุกระยะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558--