คณะรัฐมนตรีพิจารณาความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทย - สาธารณรัฐ ประชาชนจีน (Bilateral Swap Arrangement : Thailand - China) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน
2. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
3. มอบหมายให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนค้ำประกันเงินกู้ตามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลง ทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27 - 29 สิงหาคม 2544 และได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (Bilateral Swap Arrangement - BSA : Thailand - China) ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนตกลงจะทำความตกลงฯ กับประเทศไทยในวงเงิน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN + 3) ภายใต้ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ความตกลงฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและ ช่วยเหลือประเทศสมาชิก กรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ ทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญา และ เงื่อนไขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา กับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว ในวงเงินจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา
2. ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสาระสำคัญในลักษณะเดียวกันกับที่ไทยได้ทำกับญี่ปุ่น ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
2.1 ความตกลงทวิภาคีดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายเดียว และ อยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและ ธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
2.2 จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิกถอนได้สูงสุดจำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2.3 การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตามการเบิกถอนหรือ การต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากสัญญามีผลบังคับใช้
2.4 อัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เท่ากับ LIBOR + 150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและ การต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่ส่วนต่างดังกล่าว จะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
2.5 ความช่วยเหลือด้านการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถ เบิกถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือ กำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิกถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงิน ทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
2.6 รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลงฯ
3. ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ มีความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
3.1 เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบ ปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทาง เศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
3.2 เป็นกลไกเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
3.3 เป็นกลไกเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญาสามารถเบิกถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF หรือไม่ผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน
2. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
3. มอบหมายให้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนค้ำประกันเงินกู้ตามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลง ทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 27 - 29 สิงหาคม 2544 และได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีนเกี่ยวกับความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (Bilateral Swap Arrangement - BSA : Thailand - China) ซึ่งสาธารณรัฐประชาชนจีนตกลงจะทำความตกลงฯ กับประเทศไทยในวงเงิน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ (ASEAN + 3) ภายใต้ มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ความตกลงฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและ ช่วยเหลือประเทศสมาชิก กรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ ทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญา และ เงื่อนไขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยได้ลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา กับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว ในวงเงินจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา
2. ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับสาธารณรัฐประชาชนจีนมีสาระสำคัญในลักษณะเดียวกันกับที่ไทยได้ทำกับญี่ปุ่น ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
2.1 ความตกลงทวิภาคีดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากสาธารณรัฐประชาชนจีนฝ่ายเดียว และ อยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและ ธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
2.2 จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิกถอนได้สูงสุดจำนวน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2.3 การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตามการเบิกถอนหรือ การต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากสัญญามีผลบังคับใช้
2.4 อัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เท่ากับ LIBOR + 150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและ การต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่ส่วนต่างดังกล่าว จะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
2.5 ความช่วยเหลือด้านการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถ เบิกถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือ กำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิกถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงิน ทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
2.6 รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลงฯ
3. ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรานี้ มีความสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
3.1 เป็นมาตรการป้องกัน (Preventive Measure) เนื่องจากเป็นกลไกที่ช่วยเหลือประเทศที่ประสบ ปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างระบบระวังภัยทาง เศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Surveillance Mechanism)
3.2 เป็นกลไกเสริมกลไกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Supplementary to the IMF) กล่าวคือ ความตกลงทวิภาคีจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเสริมกับความช่วยเหลือจาก IMF ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน
3.3 เป็นกลไกเพิ่มเติม (Additional Facility) โดยประเทศคู่สัญญาสามารถเบิกถอนเงินจำนวนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF หรือไม่ผูกติดกับเงื่อนไขของ IMF
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-