คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายพักการชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยเสนอ ดังนี้
ธ.ก.ส. ได้รายงานผลการดำเนินการโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายรัฐบาลผ่านระบบ ธ.ก.ส. สรุปว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีเกษตรกรแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 2,254,792 ราย จากเกษตรกรที่มีคุณสมบัติทั้งหมด 2,368,412 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.20 โดยแยกเป็น
1. ผู้ขอใช้สิทธิพักชำระหนี้ จำนวน 1,155,360 ราย เป็นเงินจำนวน 53,709.725 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.24 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
2. ผู้ขอใช้สิทธิลดภาระหนี้ จำนวน 1,099,432 ราย เป็นเงินจำนวน 36,962.077 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.76 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
3. มีเกษตรกรจำนวน 113,620 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของเกษตรกรที่มีคุณสมบัติทั้งหมดยังไม่แสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ 1) เกษตรกรมีเหตุผิดปกติส่วนตัว จำนวน 3,627 ราย (ตาย บวชไม่สึก ถูกดำเนินคดี จำคุกต้องโทษ ป่วยหนัก) คิดเป็นร้อยละ 3.19 2) ไปรับจ้างทำงานต่างจังหวัด จำนวน 77,979 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.63 3) ไปรับจ้างทำงานต่างประเทศ จำนวน 2,060 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.824) เกษตรกรไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15,764 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.87 5) ที่ประชุมกลุ่มเกษตรกรมีมติไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6,170 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.43 6) ขาดคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.06
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นควรให้โอกาสเกษตรกรลำดับที่ 1), 2) และ 3) ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายระยะเวลาการแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการฯ ของเกษตรกรออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 สำหรับลำดับที่ 4), 5) และ 6) เนื่องจากเป็นความต้องการของเกษตรกรและที่ประชุมกลุ่มเกษตรกรไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเป็นกรณีที่เกษตรกรขาดคุณสมบัติ เห็นสมควรไม่ขยายเวลา
สำหรับการดำเนินการโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง คือจังหวัดอ่างทอง สงขลา นราธิวาส ลำปาง เชียงใหม่ และลำพูน สรุปผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ รูปแบบและขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการฟื้นฟูฯ เสนอคณะกรรมการฯ สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดและอำเภอจะต้องสร้างเจ้าหน้าที่ผู้นำ (แม่ไก่) ให้กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อนำแนวทางและรูปแบบการดำเนินการโครงการฯ ไปชี้แจงแนะนำแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร
2. ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดและอำเภอที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้นำ (แม่ไก่) ตามข้อต้องทำความเข้าใจว่า โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบ ธ.ก.ส. จะมีอยู่ 2 ทางเลือก คือผู้ขอใช้สิทธิพักชำระหนี้และทางเลือกที่ 2 คือผู้ขอใช้สิทธิ ลดภาระหนี้
3. การเข้าไปฟื้นฟูหรือส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรควรจะต้องทราบถึงโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรแต่ละรายว่ามีหนี้อยู่เท่าไร ถ้าไม่ทราบโครงสร้างหนี้จะไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน
4. ต้องทราบว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรโดยทั่วไป ส่วนมากเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ เกิดจากอุทกภัย ภัยแล้ง และผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ ดังนั้น จะต้องทราบปัญหาของเกษตรกรแต่ละรายให้ชัดเจน เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลือหรือฟื้นฟูได้ถูกต้อง
5. ต้องมีความรู้เรื่องการตลาด โดยก่อนที่จะส่งเสริมอาชีพใดให้แก่เกษตรกรจะต้องมีตลาดรองรับ
6. ต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานความต้องการของเกษตรกรแต่ละรายเป็นหลัก อย่าเป็นการยัดเยียดหรือแจกสิ่งของให้แก่เกษตรกร โดยที่เกษตรกรไม่ต้องการ
7. ต้องศึกษาปัจจัยพื้นฐานของเกษตรกร ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในท้องถิ่น วัฒนธรรมของท้องถิ่น ภูมิปัญญาและความสามารถของเกษตรกร เทคโนโลยีที่เกษตรกรมีอยู่ และห้ามสร้างหนี้เพิ่มให้แก่เกษตรกร
8. ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักประหยัดและเก็บออมเงินเมื่อหลังสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ จะได้มีเงินเหลือเพียงพอสามารถชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. ได้ ทั้งนี้ เป้าหมายและตัวชี้วัดในการฟื้นฟูและการออมจะต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ที่เกษตรกรมีอยู่ ระยะเวลาในการชำระหนี้และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระ เช่น กรณีเกษตรกรเป็นหนี้สูงสุดรายละ 100,000 บาท ช่วงระยะเวลาการพักหนี้ 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย เกษตรกรจะต้องชำระเงินต้นปีละประมาณ 33,333 บาท หรือเดือนละประมาณ 2,777.77 บาท หรือวันละประมาณ 93 บาท ดังนั้น ในการฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพจะต้องคำนึงถึงอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว จะต้องมีเงินเหลือเก็บออมได้ไม่น้อยกว่าวันละประมาณ 93 บาท เป็นต้น
นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินการอื่น ๆ อีก ดังนี้
1) ในการดำเนินการตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินงานในลักษณะเชิงบูรณาการทั้งในเรื่องแผนงาน บุคลากร งบประมาณ การบริหาร และการจัดการ โดยให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณตามความต้องการของเกษตรกรให้แก่จังหวัดเพื่อนำไปดำเนินการตามโครงการฯ ดังกล่าวได้ทันเวลาต่อไป
2) ให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากงบปกติให้แก่ ธ.ก.ส. หน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศตามสัดส่วนโดยเฉลี่ยหน่วยละประมาณ 10,000 บาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านกว่าบาท เพื่อนำไปจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรในกรณีที่เกษตรกรต้องการแล้วส่วนราชการไม่สามารถสนับสนุนได้เป็นการเฉพาะหน้าเร่งด่วน
3) สำหรับเรื่องการตลาดเห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ธ.ก.ส. เป็นต้น ดำเนินการหาตลาด รวมทั้งประกันราคาผลผลิตขั้นต่ำให้แก่เกษตรกรต่อไปด้วย
4) เพื่อให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เห็นควรมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ ธ.ก.ส. โดยประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงแนวนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย และโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก่ปลัดกระทรวงและผู้ตรวจราชการทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อธิบดีทุกกรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด และผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. ทุกจังหวัด โดยกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
5) เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จตามโครงการดังกล่าว เห็นควรให้รัฐบาลจัดหารางวัลเพื่อมอบให้แก่จังหวัด อำเภอ และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการตามโครงการฯ และประสบความสำเร็จในแต่ละปีในโอกาสต่อไป
6) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2545 ตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้ได้เสนอขอตั้งงบประมาณ ปี พ.ศ.2545 ผ่านกรมต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฟื้นฟูฯ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,535.41 ล้านบาท มารวมไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เดียว ก่อนที่จะมีการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2545 ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ และเพื่อการบูรณาการแผนงานต่าง ๆ ของแต่ละกรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
ธ.ก.ส. ได้รายงานผลการดำเนินการโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายรัฐบาลผ่านระบบ ธ.ก.ส. สรุปว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีเกษตรกรแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 2,254,792 ราย จากเกษตรกรที่มีคุณสมบัติทั้งหมด 2,368,412 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.20 โดยแยกเป็น
1. ผู้ขอใช้สิทธิพักชำระหนี้ จำนวน 1,155,360 ราย เป็นเงินจำนวน 53,709.725 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.24 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
2. ผู้ขอใช้สิทธิลดภาระหนี้ จำนวน 1,099,432 ราย เป็นเงินจำนวน 36,962.077 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.76 ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
3. มีเกษตรกรจำนวน 113,620 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของเกษตรกรที่มีคุณสมบัติทั้งหมดยังไม่แสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ 1) เกษตรกรมีเหตุผิดปกติส่วนตัว จำนวน 3,627 ราย (ตาย บวชไม่สึก ถูกดำเนินคดี จำคุกต้องโทษ ป่วยหนัก) คิดเป็นร้อยละ 3.19 2) ไปรับจ้างทำงานต่างจังหวัด จำนวน 77,979 ราย คิดเป็นร้อยละ 68.63 3) ไปรับจ้างทำงานต่างประเทศ จำนวน 2,060 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.824) เกษตรกรไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการ จำนวน 15,764 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.87 5) ที่ประชุมกลุ่มเกษตรกรมีมติไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6,170 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.43 6) ขาดคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการ จำนวน 8,020 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.06
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นควรให้โอกาสเกษตรกรลำดับที่ 1), 2) และ 3) ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายระยะเวลาการแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการฯ ของเกษตรกรออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 สำหรับลำดับที่ 4), 5) และ 6) เนื่องจากเป็นความต้องการของเกษตรกรและที่ประชุมกลุ่มเกษตรกรไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเป็นกรณีที่เกษตรกรขาดคุณสมบัติ เห็นสมควรไม่ขยายเวลา
สำหรับการดำเนินการโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง คือจังหวัดอ่างทอง สงขลา นราธิวาส ลำปาง เชียงใหม่ และลำพูน สรุปผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งได้กำหนดแนวทางการดำเนินการ รูปแบบและขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการฟื้นฟูฯ เสนอคณะกรรมการฯ สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดและอำเภอจะต้องสร้างเจ้าหน้าที่ผู้นำ (แม่ไก่) ให้กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่เพื่อนำแนวทางและรูปแบบการดำเนินการโครงการฯ ไปชี้แจงแนะนำแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อจะได้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร
2. ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัดและอำเภอที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้นำ (แม่ไก่) ตามข้อต้องทำความเข้าใจว่า โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบ ธ.ก.ส. จะมีอยู่ 2 ทางเลือก คือผู้ขอใช้สิทธิพักชำระหนี้และทางเลือกที่ 2 คือผู้ขอใช้สิทธิ ลดภาระหนี้
3. การเข้าไปฟื้นฟูหรือส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรควรจะต้องทราบถึงโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรแต่ละรายว่ามีหนี้อยู่เท่าไร ถ้าไม่ทราบโครงสร้างหนี้จะไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน
4. ต้องทราบว่าปัญหาหนี้สินของเกษตรกรโดยทั่วไป ส่วนมากเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ คือ เกิดจากอุทกภัย ภัยแล้ง และผลผลิตล้นตลาด ราคาตกต่ำ ดังนั้น จะต้องทราบปัญหาของเกษตรกรแต่ละรายให้ชัดเจน เพื่อจะได้เข้าไปช่วยเหลือหรือฟื้นฟูได้ถูกต้อง
5. ต้องมีความรู้เรื่องการตลาด โดยก่อนที่จะส่งเสริมอาชีพใดให้แก่เกษตรกรจะต้องมีตลาดรองรับ
6. ต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานความต้องการของเกษตรกรแต่ละรายเป็นหลัก อย่าเป็นการยัดเยียดหรือแจกสิ่งของให้แก่เกษตรกร โดยที่เกษตรกรไม่ต้องการ
7. ต้องศึกษาปัจจัยพื้นฐานของเกษตรกร ซึ่งได้แก่ทรัพยากรในท้องถิ่น วัฒนธรรมของท้องถิ่น ภูมิปัญญาและความสามารถของเกษตรกร เทคโนโลยีที่เกษตรกรมีอยู่ และห้ามสร้างหนี้เพิ่มให้แก่เกษตรกร
8. ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักประหยัดและเก็บออมเงินเมื่อหลังสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้ จะได้มีเงินเหลือเพียงพอสามารถชำระหนี้ให้แก่ ธ.ก.ส. ได้ ทั้งนี้ เป้าหมายและตัวชี้วัดในการฟื้นฟูและการออมจะต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ที่เกษตรกรมีอยู่ ระยะเวลาในการชำระหนี้และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระ เช่น กรณีเกษตรกรเป็นหนี้สูงสุดรายละ 100,000 บาท ช่วงระยะเวลาการพักหนี้ 3 ปี ไม่มีดอกเบี้ย เกษตรกรจะต้องชำระเงินต้นปีละประมาณ 33,333 บาท หรือเดือนละประมาณ 2,777.77 บาท หรือวันละประมาณ 93 บาท ดังนั้น ในการฟื้นฟูและส่งเสริมอาชีพจะต้องคำนึงถึงอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว จะต้องมีเงินเหลือเก็บออมได้ไม่น้อยกว่าวันละประมาณ 93 บาท เป็นต้น
นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้ให้ความเห็นชอบแนวทางการดำเนินการอื่น ๆ อีก ดังนี้
1) ในการดำเนินการตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินงานในลักษณะเชิงบูรณาการทั้งในเรื่องแผนงาน บุคลากร งบประมาณ การบริหาร และการจัดการ โดยให้กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณตามความต้องการของเกษตรกรให้แก่จังหวัดเพื่อนำไปดำเนินการตามโครงการฯ ดังกล่าวได้ทันเวลาต่อไป
2) ให้ ธ.ก.ส. จัดสรรงบประมาณจากงบปกติให้แก่ ธ.ก.ส. หน่วยต่าง ๆ ทั่วประเทศตามสัดส่วนโดยเฉลี่ยหน่วยละประมาณ 10,000 บาท รวมทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านกว่าบาท เพื่อนำไปจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรในกรณีที่เกษตรกรต้องการแล้วส่วนราชการไม่สามารถสนับสนุนได้เป็นการเฉพาะหน้าเร่งด่วน
3) สำหรับเรื่องการตลาดเห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ ธ.ก.ส. เป็นต้น ดำเนินการหาตลาด รวมทั้งประกันราคาผลผลิตขั้นต่ำให้แก่เกษตรกรต่อไปด้วย
4) เพื่อให้การดำเนินการโครงการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เห็นควรมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ ธ.ก.ส. โดยประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงแนวนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย และโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แก่ปลัดกระทรวงและผู้ตรวจราชการทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง อธิบดีทุกกรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด และผู้อำนวยการ ธ.ก.ส. ทุกจังหวัด โดยกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
5) เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ส่วนราชการและกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จตามโครงการดังกล่าว เห็นควรให้รัฐบาลจัดหารางวัลเพื่อมอบให้แก่จังหวัด อำเภอ และกลุ่มเกษตรกรที่ดำเนินการตามโครงการฯ และประสบความสำเร็จในแต่ละปีในโอกาสต่อไป
6) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์หารือร่วมกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2545 ตามโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้ได้เสนอขอตั้งงบประมาณ ปี พ.ศ.2545 ผ่านกรมต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการฟื้นฟูฯ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 1,535.41 ล้านบาท มารวมไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เดียว ก่อนที่จะมีการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2545 ในการพิจารณางบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ และเพื่อการบูรณาการแผนงานต่าง ๆ ของแต่ละกรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการอย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-