ทำเนียบรัฐบาล--15 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบงาน/โครงการและความต้องการใช้งบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเสนอ ดังนี้
1.กรอบงาน/โครงการและความต้องการใช้งบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2544 ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 10 กระทรวง/ทบวง และ 2 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง รวมทั้งสิ้น 40 หน่วยงาน รวม 54 งาน/โครงการ งบประมาณ จำนวน 2,006.69 ล้านบาท
2. ให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในปีงบประมาณ 2544
2.1 ไม่สามารถนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมอื่นที่มิใช่เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.2 กระจายงบประมาณให้หน่วยงานในสังกัดในภูมิภาคใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับจังหวัด/พื้นที่ โดยให้พิจารณาจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของจังหวัดและแผนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหมวดรายจ่าย โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรม ช่วงเวลา และความเหมาะสมในการใช้งบประมาณ อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจำเป็นต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษา ในช่วงปิดภาคเรียน ขอให้พิจารณาจัดสรรตามหมวดเงินอุดหนุน เป็นต้น
กรอบงานและโครงการมีนโยบายการควบคุมการขยายตัวของปัญหาและลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดให้ได้อย่างรวดเร็วต้องดำเนินการโดยอาศัยการผนึกกำลังและความร่วมมือจากทุกส่วนในสังคมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยให้ชุมชนและสถาบันการศึกษาเป็นฐานในการสร้างกระแสต่อต้านและกดดันการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติต่อผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย แต่ในขณะเดียวกันให้มีการระดมการปฏิบัติการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อลิดรอนและทำลายกระบวนการผลิต การค้ายาเสพติด ตลอดจนยับยั้งและยุติการนำยาเสพติดมาแพร่ระบาดในประเทศ และมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดและควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงของยาเสพติดในทุกพื้นที่ให้อยู่ในระดับเบาบางครึ่งหนึ่งของอำเภอทั่วประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
สำหรับเป้าหมายในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2543 - 2544 กำหนดเป้าหมายการดำเนิงาน ดังนี้
1) หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด
- สนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนแสดงเจตนารมณ์เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด ร้อยละ 50 ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
- หมู่บ้าน/ชุมชน ได้รับการรับรองให้เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด อย่างน้อยร้อยละ 25 ของหมู่บ้าน/ชุมชนที่แสดงเจตนารมณ์เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด
2) โรงเรียน/สถานศึกษาปลอดยาเสพติด
- มีโรงเรียน/สถานศึกษาปลอดยาเสพติดอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโรงเรียน/สถานศึกษาทั่วประเทศ
- ควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนนักเรียน นักศึกษาที่ใช้ยาเสพติดไม่เกินร้อยละ 10
3) บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจอย่างน้อย 300,000 ราย (150,000 ราย/ปี)
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในทุกประเภทของตัวยาเสพติด โดยให้สถานบำบัดรักษาที่มีอยู่เดิมในจังหวัดต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แห่ง/จังหวัด
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในทุกประเภทของยาเสพติด โดยให้สถานฟื้นฟูฯ ที่มีอยู่เดิมในจังหวัดต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 แห่ง/จังหวัด
- จัดตั้งค่ายบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 8 แห่ง/จังหวัด
4) ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทุกประเภทในระบบต้องโทษและระบบบังคับบำบัด
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบชุมชนบำบัดในทัณฑสถาน 8 แห่ง ในเรือนจำ 70 แห่ง ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 24 แห่ง
- ประเมินผลการปฏิบัติงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 จำนวน 1 ศูนย์
- นำผลการประเมินมาใช้ในการขยายศูนย์บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพฯ อีก 3 แห่ง
5) การปราบปรามยาเสพติด
- ลดจำนวนผู้ผลิต/ผู้ค้ารายสำคัญ 400 ราย (200 ราย/ปี)
- ปราบปรามผู้ค้าในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะในหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
- ลดปัญหาการนำเข้ายาเสพติดจากภายนอกประเทศ
6) ลดปริมาณพืชเสพติด
- ควบคุมพื้นที่ปลูกฝิ่นไม่ให้เกิน 7,000 ไร่
- ทำลายพืชกัญชา ร้อยละ 100 ของพื้นที่ตรวจพบ
ส่วนกรอบการดำเนินงาน มีดังนี้
1) ให้ความสำคัญกับปัญหาการค้าและการลำเลียง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนทุกภาค รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดภายในประเทศ
2) ในด้านการลดอุปทาน ให้เน้นตัวยาเป็นสำคัญ คือ ยาบ้าและเฮโรอีน ในด้านการลดอุปสงค์ให้เน้นตัวยาสำคัญ คือ ยาบ้า สำหรับตัวยาเสพติดอื่น ๆ ให้ดำเนินการตามความเหมาะสมของสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่หลัก
3) ด้านการปราบปราม เน้นกลุ่มผู้ผลิต ผู้นำเข้า - ส่งออก ผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนด้านการป้องกัน เน้นกลุ่มเยาวชนโรงเรียน กลุ่มชุมชน กลุ่มผู้ใช้แรงงานและสถานประกอบการ
4) กำหนดแนวทางดำเนินงานไว้ 3 แนวทางหลัก คือ ลดจำนวนผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนการลดปริมาณยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบงาน/โครงการและความต้องการใช้งบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเสนอ ดังนี้
1.กรอบงาน/โครงการและความต้องการใช้งบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2544 ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 10 กระทรวง/ทบวง และ 2 ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง รวมทั้งสิ้น 40 หน่วยงาน รวม 54 งาน/โครงการ งบประมาณ จำนวน 2,006.69 ล้านบาท
2. ให้ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในปีงบประมาณ 2544
2.1 ไม่สามารถนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมอื่นที่มิใช่เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.2 กระจายงบประมาณให้หน่วยงานในสังกัดในภูมิภาคใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับจังหวัด/พื้นที่ โดยให้พิจารณาจากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดของจังหวัดและแผนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด
3. ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามหมวดรายจ่าย โดยคำนึงถึงลักษณะกิจกรรม ช่วงเวลา และความเหมาะสมในการใช้งบประมาณ อาทิ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจำเป็นต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษา ในช่วงปิดภาคเรียน ขอให้พิจารณาจัดสรรตามหมวดเงินอุดหนุน เป็นต้น
กรอบงานและโครงการมีนโยบายการควบคุมการขยายตัวของปัญหาและลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดให้ได้อย่างรวดเร็วต้องดำเนินการโดยอาศัยการผนึกกำลังและความร่วมมือจากทุกส่วนในสังคมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจริงจัง โดยให้ชุมชนและสถาบันการศึกษาเป็นฐานในการสร้างกระแสต่อต้านและกดดันการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติต่อผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย แต่ในขณะเดียวกันให้มีการระดมการปฏิบัติการทั้งหลายทั้งปวงเพื่อลิดรอนและทำลายกระบวนการผลิต การค้ายาเสพติด ตลอดจนยับยั้งและยุติการนำยาเสพติดมาแพร่ระบาดในประเทศ และมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดและควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงของยาเสพติดในทุกพื้นที่ให้อยู่ในระดับเบาบางครึ่งหนึ่งของอำเภอทั่วประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
สำหรับเป้าหมายในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2543 - 2544 กำหนดเป้าหมายการดำเนิงาน ดังนี้
1) หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด
- สนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชนแสดงเจตนารมณ์เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด ร้อยละ 50 ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
- หมู่บ้าน/ชุมชน ได้รับการรับรองให้เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด อย่างน้อยร้อยละ 25 ของหมู่บ้าน/ชุมชนที่แสดงเจตนารมณ์เป็นหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด
2) โรงเรียน/สถานศึกษาปลอดยาเสพติด
- มีโรงเรียน/สถานศึกษาปลอดยาเสพติดอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโรงเรียน/สถานศึกษาทั่วประเทศ
- ควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนนักเรียน นักศึกษาที่ใช้ยาเสพติดไม่เกินร้อยละ 10
3) บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในระบบสมัครใจอย่างน้อย 300,000 ราย (150,000 ราย/ปี)
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในทุกประเภทของตัวยาเสพติด โดยให้สถานบำบัดรักษาที่มีอยู่เดิมในจังหวัดต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 แห่ง/จังหวัด
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในทุกประเภทของยาเสพติด โดยให้สถานฟื้นฟูฯ ที่มีอยู่เดิมในจังหวัดต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ครบทุกขั้นตอนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 แห่ง/จังหวัด
- จัดตั้งค่ายบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 8 แห่ง/จังหวัด
4) ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทุกประเภทในระบบต้องโทษและระบบบังคับบำบัด
- เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในรูปแบบชุมชนบำบัดในทัณฑสถาน 8 แห่ง ในเรือนจำ 70 แห่ง ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน 24 แห่ง
- ประเมินผลการปฏิบัติงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 จำนวน 1 ศูนย์
- นำผลการประเมินมาใช้ในการขยายศูนย์บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพฯ อีก 3 แห่ง
5) การปราบปรามยาเสพติด
- ลดจำนวนผู้ผลิต/ผู้ค้ารายสำคัญ 400 ราย (200 ราย/ปี)
- ปราบปรามผู้ค้าในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะในหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดยาเสพติด ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 50 ของหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
- ลดปัญหาการนำเข้ายาเสพติดจากภายนอกประเทศ
6) ลดปริมาณพืชเสพติด
- ควบคุมพื้นที่ปลูกฝิ่นไม่ให้เกิน 7,000 ไร่
- ทำลายพืชกัญชา ร้อยละ 100 ของพื้นที่ตรวจพบ
ส่วนกรอบการดำเนินงาน มีดังนี้
1) ให้ความสำคัญกับปัญหาการค้าและการลำเลียง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนทุกภาค รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดภายในประเทศ
2) ในด้านการลดอุปทาน ให้เน้นตัวยาเป็นสำคัญ คือ ยาบ้าและเฮโรอีน ในด้านการลดอุปสงค์ให้เน้นตัวยาสำคัญ คือ ยาบ้า สำหรับตัวยาเสพติดอื่น ๆ ให้ดำเนินการตามความเหมาะสมของสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่หลัก
3) ด้านการปราบปราม เน้นกลุ่มผู้ผลิต ผู้นำเข้า - ส่งออก ผู้มีอิทธิพลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนด้านการป้องกัน เน้นกลุ่มเยาวชนโรงเรียน กลุ่มชุมชน กลุ่มผู้ใช้แรงงานและสถานประกอบการ
4) กำหนดแนวทางดำเนินงานไว้ 3 แนวทางหลัก คือ ลดจำนวนผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้ติดยาเสพติด ตลอดจนการลดปริมาณยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-