ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 รวม 2 ฉบับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน รวมทั้งหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน ว่าด้วยการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 รวม 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2519) ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2527) และฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2534)
1.2 เพิ่มเติมให้ธนาคารฯ สามารถกำหนดตัวแทนเพื่อประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสินและออกดราฟท์ ณ สำนักงานตัวแทนได้
1.3 ให้ธนาคารฯ มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเปิด - ปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เดิมต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
1.4 ให้ธนาคารฯ ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจได้ สำหรับกรณีตราสารอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
1.5 ให้ธนาคารฯ ให้บริการลูกค้าในการซื้อธนบัตรต่างประเทศ หรือเช็คสำหรับเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ และขายธนบัตรต่างประเทศได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
1.6 ให้ธนาคารฯ ออกหนังสือค้ำประกันให้ผู้ฝากเงิน หรือบุคคลใดภายในวงเงินที่ฝากไว้ โดยใช้เงินฝากเป็นประกันตามที่คณะกรรมการธนาคารฯ กำหนด
1.7 ให้ธนาคารฯ เป็นตัวแทนของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเรียกเก็บ หรือรับชำระค่าที่ดิน ค่าชดเชยการลงทุน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือเงินประเภทอื่นตามที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมอบหมายได้ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด
1.8 เพิ่มวิธีการรับฝากเงินจากเดิมที่มีเพียงสมุดคู่บัญชี เป็นให้ออกบัตรเงินฝากด้วย
1.9 ให้ธนาคารฯ เป็นตัวแทนหลักประกันที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อเฉพาะโครงการที่ธนาคารฯ สนับสนุนทางการเงิน
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ รวม 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2492) ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2497) ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2511) ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2525) และฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2527)
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม "สลากออมสินพิเศษ" ให้ครบอคลุมผู้ถือสลากฯ ที่มิใช่ผู้ฝากสลากด้วยเช่นเดียวกับสลากออมสินกุศล
2.3 เมื่อผู้ฝากสลากออมสินพิเศษตาย ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกยื่นคำขอรับมรดก โดยจะขอรับเป็นเงินสดหรือขอรับโอนกรรมสิทธิ์สลากก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 รวม 2 ฉบับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน รวมทั้งหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน ว่าด้วยการประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 รวม 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2519) ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2527) และฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2534)
1.2 เพิ่มเติมให้ธนาคารฯ สามารถกำหนดตัวแทนเพื่อประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารออมสินและออกดราฟท์ ณ สำนักงานตัวแทนได้
1.3 ให้ธนาคารฯ มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเปิด - ปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม การกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (เดิมต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
1.4 ให้ธนาคารฯ ซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรหรือหุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจได้ สำหรับกรณีตราสารอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
1.5 ให้ธนาคารฯ ให้บริการลูกค้าในการซื้อธนบัตรต่างประเทศ หรือเช็คสำหรับเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ และขายธนบัตรต่างประเทศได้เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
1.6 ให้ธนาคารฯ ออกหนังสือค้ำประกันให้ผู้ฝากเงิน หรือบุคคลใดภายในวงเงินที่ฝากไว้ โดยใช้เงินฝากเป็นประกันตามที่คณะกรรมการธนาคารฯ กำหนด
1.7 ให้ธนาคารฯ เป็นตัวแทนของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อจ่ายเรียกเก็บ หรือรับชำระค่าที่ดิน ค่าชดเชยการลงทุน ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือเงินประเภทอื่นตามที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมอบหมายได้ตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด
1.8 เพิ่มวิธีการรับฝากเงินจากเดิมที่มีเพียงสมุดคู่บัญชี เป็นให้ออกบัตรเงินฝากด้วย
1.9 ให้ธนาคารฯ เป็นตัวแทนหลักประกันที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อเฉพาะโครงการที่ธนาคารฯ สนับสนุนทางการเงิน
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489 ว่าด้วยการรับฝากเงินประเภทสลากออมสินพิเศษ รวม 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2492) ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2497) ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2511) ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2518) ฉบับที่ 36 (พ.ศ. 2525) และฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2527)
2.2 แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยาม "สลากออมสินพิเศษ" ให้ครบอคลุมผู้ถือสลากฯ ที่มิใช่ผู้ฝากสลากด้วยเช่นเดียวกับสลากออมสินกุศล
2.3 เมื่อผู้ฝากสลากออมสินพิเศษตาย ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกยื่นคำขอรับมรดก โดยจะขอรับเป็นเงินสดหรือขอรับโอนกรรมสิทธิ์สลากก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-