คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เสนอ มาตรการเร่งด่วนสนับสนุนตลาดทุนไทย 3 ด้าน อันได้แก่ การเพิ่มอุปทาน การเสริมสร้างอุปสงค์ และการปรับปรุงโครงสร้างตลาด รวม 11 มาตรการ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. มาตรการเร่งด่วนสนับสนุนตลาดทุนไทย
ด้านการเพิ่มอุปทาน ได้แก่
1.1 การผลักดันให้มีการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียน และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2544
1.2 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรพัย์ฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับ BOI เพื่อกำหนดมาตรการจูงใจโดยการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
1.3 การเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาวไทยสามารถลงทุนในตราสารทางการเงิน ที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ (Exchange Traded Fund) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณาอนุมัติการนำเงินออกนอกประเทศเพื่อการลงทุนในลักษณะดังกล่าว
1.4 การสนับสนุนให้บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านระบบบริหารงาน ระบบบัญชี และระบบควบคุมภายใน เพื่อให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยประสานงานกับกระทรวงการคลังในการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.5 การเร่งให้มีสินค้าประเภทตราสารอนุพันธ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ลงทุนโดยคาดว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเริ่มเปิดการซื้อขาย index option ในปลายปีนี้ ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีนโยบายที่ชัดเจนในการที่จะผลักดันให้ พ.ร.บ.อนุพันธ์ฯ มีการออกใช้บังคับโดยเร็ว
ด้านการเสริมสร้างอุปสงค์ ได้แก่
1.6 การออก Non-Voting Depositary Receipt (NVDR) เป็นมาตรการสำคัญในการแก้ไขอุปสรรคกรณีผู้ลงทุนสถาบันในต่างประเทศไม่สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund :TTF) โดย NVDR มีแนวทางการจัดตั้ง และประโยชน์เช่นเดียวกับ TTF ในลักษณะที่ NVDR เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ และบริษัทดังกล่าวจะเข้าไปซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเมื่อผู้ลงทุนชาวต่างประเทศมีการซื้อหรือขายคืน NVDR ผู้ถือตราสาร NVDR จะได้รับผลตอบแทนทางการเงิน (financial benefits) เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียง
1.7 การสนับสนุนให้มี internet trading ในวงกว้างเพื่อลดต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ริเริ่มโครงการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของ internet trading platform และศูนย์รวมการประมวลผล (back office facillties) อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทหลักทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ
1.8 การสนับสนุนให้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุโดยการใช้กองทุนรวมที่มีข้อกำหนดเศษเป็นเครื่องมือ (Retirement Mutual Fund : RMF) เนื่องจากกองทุนเพื่อการเกษียณอายุเป็นองค์ประกอบสำคัญของตลาดทุนในประเทศพัฒนาแล้ว การสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง RMF จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มอุปสงค์ของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีนโยบายชัดเจนที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุนรวมดังกล่าวในลักษณะเดียวกับที่ทางการให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ด้านการปรับปรุงโครงสร้างตลาด ได้แก่
1.9 การปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เป็นบริษัทเอกชน (corporatisation) เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
1.10 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงานฯ และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่าง 2 หน่วยงน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจะลดภาระแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย
1.11 การพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นบริษัทจดทะเบียน ตามข้อเสนอของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเป็นการลดภาระต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียน
2. นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย (2543-2545) เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบตลาดทุนไทยให้สอดคล้องกับสถานภาพในปัจจุบัน
3. การออกมาตรการและปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยมีบทบาทในการสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ภาคเอกชนให้สามารถปรับโครงสร้างทางการเงินและฟื้นฟูสถานะได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
3.1 แก้ไขเกณฑ์การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุน การปรับโครงสร้างหนี้ การเพิ่มทุนและการหาผู้ร่วมทุนใหม่เพื่อรองรับความต้องการของภาคเอกชนในการระดมเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
3.2 ปรับปรุงคุณภาพของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยกำหนดให้มีมาตรการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีสินค้าที่มีคุณภาพในตลาดอันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน
3.3 ปรับปรุงการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งตลาดรองสำหรับหลักทรัพย์ของบริษัท SME โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดตั้งตลาดใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) ขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2542 เพื่อเพิ่มทางเลือกและความหลากหลายของสินค้าในตลาด ตลอดจนเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนให้แก่กิจการ SME
3.4 ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ในส่วนที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปรับโครงสร้างทางการเงินของภาคเอกชน และอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอร่างกฎหมายให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-
1. มาตรการเร่งด่วนสนับสนุนตลาดทุนไทย
ด้านการเพิ่มอุปทาน ได้แก่
1.1 การผลักดันให้มีการกระจายหุ้นของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียน และบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 ไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2544
1.2 การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรพัย์ฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับ BOI เพื่อกำหนดมาตรการจูงใจโดยการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ
1.3 การเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนชาวไทยสามารถลงทุนในตราสารทางการเงิน ที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ (Exchange Traded Fund) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในการพิจารณาอนุมัติการนำเงินออกนอกประเทศเพื่อการลงทุนในลักษณะดังกล่าว
1.4 การสนับสนุนให้บริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านระบบบริหารงาน ระบบบัญชี และระบบควบคุมภายใน เพื่อให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยประสานงานกับกระทรวงการคลังในการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาการสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.5 การเร่งให้มีสินค้าประเภทตราสารอนุพันธ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของผู้ลงทุนโดยคาดว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเริ่มเปิดการซื้อขาย index option ในปลายปีนี้ ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีนโยบายที่ชัดเจนในการที่จะผลักดันให้ พ.ร.บ.อนุพันธ์ฯ มีการออกใช้บังคับโดยเร็ว
ด้านการเสริมสร้างอุปสงค์ ได้แก่
1.6 การออก Non-Voting Depositary Receipt (NVDR) เป็นมาตรการสำคัญในการแก้ไขอุปสรรคกรณีผู้ลงทุนสถาบันในต่างประเทศไม่สามารถลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนที่เป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund :TTF) โดย NVDR มีแนวทางการจัดตั้ง และประโยชน์เช่นเดียวกับ TTF ในลักษณะที่ NVDR เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ และบริษัทดังกล่าวจะเข้าไปซื้อหรือขายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเมื่อผู้ลงทุนชาวต่างประเทศมีการซื้อหรือขายคืน NVDR ผู้ถือตราสาร NVDR จะได้รับผลตอบแทนทางการเงิน (financial benefits) เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแต่ไม่มีสิทธิในการออกเสียง
1.7 การสนับสนุนให้มี internet trading ในวงกว้างเพื่อลดต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ริเริ่มโครงการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของ internet trading platform และศูนย์รวมการประมวลผล (back office facillties) อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทหลักทรัพย์ในการดำเนินธุรกิจ
1.8 การสนับสนุนให้มีการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุโดยการใช้กองทุนรวมที่มีข้อกำหนดเศษเป็นเครื่องมือ (Retirement Mutual Fund : RMF) เนื่องจากกองทุนเพื่อการเกษียณอายุเป็นองค์ประกอบสำคัญของตลาดทุนในประเทศพัฒนาแล้ว การสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง RMF จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มอุปสงค์ของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีนโยบายชัดเจนที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุนรวมดังกล่าวในลักษณะเดียวกับที่ทางการให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ด้านการปรับปรุงโครงสร้างตลาด ได้แก่
1.9 การปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เป็นบริษัทเอกชน (corporatisation) เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีความพร้อมที่จะแข่งขันกับตลาดหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
1.10 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสำนักงานฯ และตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนระหว่าง 2 หน่วยงน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจะลดภาระแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย
1.11 การพิจารณาลดอัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นบริษัทจดทะเบียน ตามข้อเสนอของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเป็นการลดภาระต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียน
2. นอกจากนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย (2543-2545) เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบตลาดทุนไทยให้สอดคล้องกับสถานภาพในปัจจุบัน
3. การออกมาตรการและปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและส่งเสริมให้ตลาดทุนไทยมีบทบาทในการสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ภาคเอกชนให้สามารถปรับโครงสร้างทางการเงินและฟื้นฟูสถานะได้อย่างสะดวก และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้
3.1 แก้ไขเกณฑ์การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน และปรับปรุงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการระดมทุน การปรับโครงสร้างหนี้ การเพิ่มทุนและการหาผู้ร่วมทุนใหม่เพื่อรองรับความต้องการของภาคเอกชนในการระดมเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ
3.2 ปรับปรุงคุณภาพของบริษัทที่ออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน โดยกำหนดให้มีมาตรการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีสินค้าที่มีคุณภาพในตลาดอันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน
3.3 ปรับปรุงการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งตลาดรองสำหรับหลักทรัพย์ของบริษัท SME โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดตั้งตลาดใหม่ (Market for Alternative Investment : MAI) ขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2542 เพื่อเพิ่มทางเลือกและความหลากหลายของสินค้าในตลาด ตลอดจนเป็นทางเลือกของแหล่งระดมทุนให้แก่กิจการ SME
3.4 ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ในส่วนที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปรับโครงสร้างทางการเงินของภาคเอกชน และอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอร่างกฎหมายให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-