คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบาก พ.ศ. 2545 - 2549 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ) เสนอ โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณไปดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
แผนแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบาก พ.ศ. 2545 - 2549 เป็นแผนเชิงนโยบายที่นำเอานโยบายของคณะรัฐมนตรีมาสู่การปฏิบัติ โดยการบริหารให้แผนดังกล่าวเป็นนโยบายของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันทั้งในด้านจัดทำงบประมาณการปรับปรุงบทบาทหน่วยงานกลางและหน่วยงานปฏิบัติระดับกรมให้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ครอบครัว และสถาบันศาสนาให้มีส่วนรับผิดชอบในการดูแลเด็กของตนเองในชุมชนอันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานก่อให้เกิดการใช้งบประมาณและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อปี 2544 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและด้านการกระจายอำนาจ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2545 - 2549) ทั้งนี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบากให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข อีกทั้งเพื่อการป้องกันมิให้เด็กกลุ่มเสี่ยงต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โดยได้กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. คำจำกัดความเด็กในภาวะยากลำบาก หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ประสบปัญหาและไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน อีกทั้งยังต้องการความช่วยเหลือจากสังคมเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1) เด็กถูกปล่อยปละละเลย ได้แก่ เด็กเร่ร่อน/ขอทาน เด็กถูกทอดทิ้งและกำพร้า เด็กในสลัม/ชุมชนแออัด
2) เด็กถูกละเมิดสิทธิ ได้แก่ เด็กถูกทารุณ โสเภณีเด็ก เด็กถูกข่มขืนและแรงงานเด็ก
3) เด็กประพฤติตนไม่เหมาะสม ได้แก่ เด็กติดสารเสพติดตั้งครรภ์นอกสมรส เด็กก่ออาชญากรรม/ต้องคดี เด็กเข้ารับการฝึกอบรมในสถานพินิจ เด็กมั่วสุมในสถานบริการและสถานเริงรมย์
4) เด็กพิการทางกาย/ทางจิตใจ/พิการทางสติปัญญา
5) เด็กขาดโอกาสยากจนเข้าไม่ถึงบริการ ได้แก่ เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ ลูกกรรมกรว่างงาน
6) เด็กได้รับผลกระทบจากเอดส์ ได้แก่ เด็กเป็นเอดส์ เด็กกำพร้าเพราะพ่อแม่เป็นเอดส์
2. หลักในการจัดทำแผนอาศัยหลักการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 76 และเป็นแผนชี้นำเพื่อให้พื้นที่และหน่วยงานปฏิบัติระดับกรม กระทรวง ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดความต้องการและสนับสนุนความต้องการของพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมเป็นพิเศษอย่างเป็นเอกภาพและบังเกิดผลในการจัดสวัสดิการสงเคราะห์เด็กโดยเร็ว ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการประสานการจัดทำแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในภาวะยากลำบากได้ร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการและเยาวชนผู้ผ่านภาวะวิกฤติจากทั่วประเทศรวมพิจารณาและดำเนินการจัดทำแผนดังกล่าว
3. การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเด็กในภาวะยากลำบากหลุดพ้นจากการเป็นเหยื่อของสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานทางสังคมและพัฒนาตนเองได้เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรการที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขครอบคลุมการพัฒนาอย่างรอบด้าน ดังนี้
1) มาตรการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยครอบคลุมทั้งครอบครัวชุมชน สังคม และสื่อมวลชน
2) มาตรการพัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกัน บำบัดฟื้นฟูและพัฒนาโดยการทำงานในเชิงรุกเพื่อเข้าถึงเด็กในกลุ่มเสี่ยง
3) มาตรการพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมเพื่อพัฒนาระบบบริการทางสังคมให้มีมาตรฐานและกระจายครอบคลุมทุกส่วนของสังคม
4) มาตรการพัฒนากลไกการบริหารและการจัดการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเด็กอย่างครบวงจรพร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ
5) มาตรการทางกฎหมาย เพื่อมีกฎหมายบังคับใช้ต่อผู้กระทำความผิดต่อเด็กและป้องกันมิให้เด็กเป็นเหยื่อของกระบวนการทางกฎหมาย
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนแผนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้
1. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนอย่างจริงจังและเป็นระบบ เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพและคุ้มครองเด็กในภาวะยากลำบากได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นการป้องกัน การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงของเด็กในภาวะยากลำบาก รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อเด็กเหล่านี้ด้วย
2. การสร้างระบบติดตามประเมินผลที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีระบบฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่ดีและสามารถเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กในภาวะยากลำบาก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
3. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและชุมชนควบคู่ไปกับการปรับทัศนคติของคนในสังคมให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบากมากขึ้น
สำหรับค่าใช้จ่ายของแผนดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ซึ่งมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าแผนดังกล่าวควรจะบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อความครบถ้วนและครอบคลุมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเด็ก เยาวชน และครอบครัว จะได้จัดสรรตามความจำเป็นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
แผนแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบาก พ.ศ. 2545 - 2549 เป็นแผนเชิงนโยบายที่นำเอานโยบายของคณะรัฐมนตรีมาสู่การปฏิบัติ โดยการบริหารให้แผนดังกล่าวเป็นนโยบายของแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันทั้งในด้านจัดทำงบประมาณการปรับปรุงบทบาทหน่วยงานกลางและหน่วยงานปฏิบัติระดับกรมให้สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ครอบครัว และสถาบันศาสนาให้มีส่วนรับผิดชอบในการดูแลเด็กของตนเองในชุมชนอันจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานก่อให้เกิดการใช้งบประมาณและบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อปี 2544 ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและด้านการกระจายอำนาจ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2545 - 2549) ทั้งนี้ ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบากให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข อีกทั้งเพื่อการป้องกันมิให้เด็กกลุ่มเสี่ยงต้องตกอยู่ในภาวะยากลำบาก โดยได้กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. คำจำกัดความเด็กในภาวะยากลำบาก หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ประสบปัญหาและไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน อีกทั้งยังต้องการความช่วยเหลือจากสังคมเป็นพิเศษ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ
1) เด็กถูกปล่อยปละละเลย ได้แก่ เด็กเร่ร่อน/ขอทาน เด็กถูกทอดทิ้งและกำพร้า เด็กในสลัม/ชุมชนแออัด
2) เด็กถูกละเมิดสิทธิ ได้แก่ เด็กถูกทารุณ โสเภณีเด็ก เด็กถูกข่มขืนและแรงงานเด็ก
3) เด็กประพฤติตนไม่เหมาะสม ได้แก่ เด็กติดสารเสพติดตั้งครรภ์นอกสมรส เด็กก่ออาชญากรรม/ต้องคดี เด็กเข้ารับการฝึกอบรมในสถานพินิจ เด็กมั่วสุมในสถานบริการและสถานเริงรมย์
4) เด็กพิการทางกาย/ทางจิตใจ/พิการทางสติปัญญา
5) เด็กขาดโอกาสยากจนเข้าไม่ถึงบริการ ได้แก่ เด็กไม่ได้เรียนหนังสือ ลูกกรรมกรว่างงาน
6) เด็กได้รับผลกระทบจากเอดส์ ได้แก่ เด็กเป็นเอดส์ เด็กกำพร้าเพราะพ่อแม่เป็นเอดส์
2. หลักในการจัดทำแผนอาศัยหลักการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 76 และเป็นแผนชี้นำเพื่อให้พื้นที่และหน่วยงานปฏิบัติระดับกรม กระทรวง ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการกำหนดความต้องการและสนับสนุนความต้องการของพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมเป็นพิเศษอย่างเป็นเอกภาพและบังเกิดผลในการจัดสวัสดิการสงเคราะห์เด็กโดยเร็ว ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการประสานการจัดทำแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในภาวะยากลำบากได้ร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ นักวิชาการและเยาวชนผู้ผ่านภาวะวิกฤติจากทั่วประเทศรวมพิจารณาและดำเนินการจัดทำแผนดังกล่าว
3. การกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มเด็กในภาวะยากลำบากหลุดพ้นจากการเป็นเหยื่อของสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานทางสังคมและพัฒนาตนเองได้เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ทั้งนี้ได้กำหนดมาตรการที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขครอบคลุมการพัฒนาอย่างรอบด้าน ดังนี้
1) มาตรการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยครอบคลุมทั้งครอบครัวชุมชน สังคม และสื่อมวลชน
2) มาตรการพัฒนาระบบช่วยเหลือ คุ้มครอง ป้องกัน บำบัดฟื้นฟูและพัฒนาโดยการทำงานในเชิงรุกเพื่อเข้าถึงเด็กในกลุ่มเสี่ยง
3) มาตรการพัฒนาคุณภาพบริการทางสังคมเพื่อพัฒนาระบบบริการทางสังคมให้มีมาตรฐานและกระจายครอบคลุมทุกส่วนของสังคม
4) มาตรการพัฒนากลไกการบริหารและการจัดการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือเด็กอย่างครบวงจรพร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ
5) มาตรการทางกฎหมาย เพื่อมีกฎหมายบังคับใช้ต่อผู้กระทำความผิดต่อเด็กและป้องกันมิให้เด็กเป็นเหยื่อของกระบวนการทางกฎหมาย
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนแผนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การแปลงแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้
1. การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและชุมชนอย่างจริงจังและเป็นระบบ เพื่อให้การทำงานมีเอกภาพและคุ้มครองเด็กในภาวะยากลำบากได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น โดยเน้นการป้องกัน การสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงของเด็กในภาวะยากลำบาก รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อเด็กเหล่านี้ด้วย
2. การสร้างระบบติดตามประเมินผลที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย มีระบบฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่ดีและสามารถเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กในภาวะยากลำบาก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนและกำหนดแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
3. การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและชุมชนควบคู่ไปกับการปรับทัศนคติของคนในสังคมให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กในภาวะยากลำบากมากขึ้น
สำหรับค่าใช้จ่ายของแผนดังกล่าวให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ซึ่งมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าแผนดังกล่าวควรจะบูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อความครบถ้วนและครอบคลุมในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเด็ก เยาวชน และครอบครัว จะได้จัดสรรตามความจำเป็นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-