แท็ก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บัญญัติ บรรทัดฐาน
กระทรวงมหาดไทย
นายกรัฐมนตรี
ชวน หลีกภัย
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--12 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานสรุปบทเรียนและการดำเนินการฟื้นฟูกรณีเกิดอุทกภัย 11 จังหวัดภาคใต้ และเทศบาลหาดใหญ่ สรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ให้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และดำเนินการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ 11 จังหวัดภาคใต้ ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ซึ่งสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามคำสั่งที่ 15/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 มีอำนาจหน้าที่
1.1 กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการฟื้นฟูบูรณะความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
1.2 กำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัย โดยให้สามารถป้องกันอุทกภัย ได้อย่างถาวรและยั่งยืน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
1.3 ให้ประธานอนุกรรมการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็น
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคำสั่งที่ 16/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 มีอำนาจหน้าที่ให้คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นตามนัยพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และมีอำนาจอนุมัติวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยในปัญหาเฉพาะหน้า ตามวงเงินที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ ได้โครงการละไม่เกิน 300,000 บาท ส่วนโครงการที่มีวงเงินเกินกว่านี้ ให้ได้รับการแต่งตั้งได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2526
3. คณะกรรมการตามคำสั่งที่ 15/2543, 16/2543 และคำสั่งเพิ่มเติมได้ประชุมอนุมัติโครงการต่าง ๆรวม 638 โครงการ เป็นเงิน 94,455,581 บาท และสรุปผลการพิจารณาอนุมัติทุกวันพุธของสัปดาห์
4. คณะกรรมการตามคำสั่งที่ 15,16 และเพิ่มเติม กำหนดการประชุมป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ณ ห้องประชุมกระทรวงมหาดไทย
สรุปความเสียหายอุทกภัยภาคใต้ 11 จังหวัด ที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ
1. เอกภาพในการจัดการภัย ในกรณีที่เกิดภัยขนาดใหญ่ขึ้น มักจะมีปัญหาในเรื่องการจัดตั้งศูนย์สั่งการทั้งในระดับพื้นที่ และส่วนกลาง ภัยที่เกิดขึ้นจึงขาดศูนย์สั่งการในการแก้ไขปัญหาและขาดคู่มือในการอำนวยการสั่งการตลอดจนการฝึกซ้อมให้มีความชำนาญ
จากสภาพปัญหาของกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงทำให้ภัยที่เกิดขึ้นมีความเสียหายมากมาย สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งในระดับส่วนกลางและพื้นที่จะต้องมีการฝึกซ้อมการอำนวยการ สั่งการและจัดทำคู่มือขึ้นในการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนดำเนินการแจ้งจังหวัด และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
2. เน้นในเรื่องของการป้องกันมากกว่าในเรื่องของการบรรเทา
ในสถานการณ์ที่แก้ไขปัญหาสาธารณภัยปัจจุบัน การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณภัยเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการบรรเทาภัยเท่านั้น ซึ่งเป็นเช่นนี้มาโดยตลอด ในเรื่องนี้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้ดำเนินการจัดทำในเรื่องวิสัยทัศน์ของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและได้ปรับแนวทางการดำเนินงานในเรื่องการป้องกันภัยแล้ว และจะได้เร่งรัดให้จังหวัด อำเภอ และหน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3. การจัดทำแผนป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน
ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ขาดแผนที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยทั้งระบบแบบยั่งยืนของแต่ละจังหวัด ซึ่งเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการตั้งแต่เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ 43 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากพายุ 3 ลูก ได้แก่ มาเรีย เกมี และหวู่คง โดยสั่งการที่จังหวัดขอนแก่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดทำแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืนแล้ว
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้มีคำสั่งเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตามคำสั่งที่ 16/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนขึ้นแล้ว โดยนำแนวความคิดของจังหวัดชุมพร เพชรบุรี และจังหวัดจันทบุรี มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะได้ดำเนินการต่อเนื่องและมอบหมายให้จังหวัดทั้ง 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำแผนแบบยั่งยืน และทางสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะได้รวบรวมจัดทำแผนเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการขออนุมัติงบประมาณและดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานสรุปบทเรียนและการดำเนินการฟื้นฟูกรณีเกิดอุทกภัย 11 จังหวัดภาคใต้ และเทศบาลหาดใหญ่ สรุปได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ให้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และดำเนินการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ 11 จังหวัดภาคใต้ ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ซึ่งสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตามคำสั่งที่ 15/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 มีอำนาจหน้าที่
1.1 กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการฟื้นฟูบูรณะความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
1.2 กำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันอุทกภัย โดยให้สามารถป้องกันอุทกภัย ได้อย่างถาวรและยั่งยืน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
1.3 ให้ประธานอนุกรรมการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือในการปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็น
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคำสั่งที่ 16/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 มีอำนาจหน้าที่ให้คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นตามนัยพระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 และมีอำนาจอนุมัติวงเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยในปัญหาเฉพาะหน้า ตามวงเงินที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติ ได้โครงการละไม่เกิน 300,000 บาท ส่วนโครงการที่มีวงเงินเกินกว่านี้ ให้ได้รับการแต่งตั้งได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทน และค่าใช้จ่ายอื่นในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2526
3. คณะกรรมการตามคำสั่งที่ 15/2543, 16/2543 และคำสั่งเพิ่มเติมได้ประชุมอนุมัติโครงการต่าง ๆรวม 638 โครงการ เป็นเงิน 94,455,581 บาท และสรุปผลการพิจารณาอนุมัติทุกวันพุธของสัปดาห์
4. คณะกรรมการตามคำสั่งที่ 15,16 และเพิ่มเติม กำหนดการประชุมป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ณ ห้องประชุมกระทรวงมหาดไทย
สรุปความเสียหายอุทกภัยภาคใต้ 11 จังหวัด ที่จะต้องดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพ
1. เอกภาพในการจัดการภัย ในกรณีที่เกิดภัยขนาดใหญ่ขึ้น มักจะมีปัญหาในเรื่องการจัดตั้งศูนย์สั่งการทั้งในระดับพื้นที่ และส่วนกลาง ภัยที่เกิดขึ้นจึงขาดศูนย์สั่งการในการแก้ไขปัญหาและขาดคู่มือในการอำนวยการสั่งการตลอดจนการฝึกซ้อมให้มีความชำนาญ
จากสภาพปัญหาของกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงทำให้ภัยที่เกิดขึ้นมีความเสียหายมากมาย สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จึงมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งในระดับส่วนกลางและพื้นที่จะต้องมีการฝึกซ้อมการอำนวยการ สั่งการและจัดทำคู่มือขึ้นในการปฏิบัติ ซึ่งเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนดำเนินการแจ้งจังหวัด และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
2. เน้นในเรื่องของการป้องกันมากกว่าในเรื่องของการบรรเทา
ในสถานการณ์ที่แก้ไขปัญหาสาธารณภัยปัจจุบัน การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณภัยเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการบรรเทาภัยเท่านั้น ซึ่งเป็นเช่นนี้มาโดยตลอด ในเรื่องนี้สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้ดำเนินการจัดทำในเรื่องวิสัยทัศน์ของสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนและได้ปรับแนวทางการดำเนินงานในเรื่องการป้องกันภัยแล้ว และจะได้เร่งรัดให้จังหวัด อำเภอ และหน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3. การจัดทำแผนป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืน
ในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ขาดแผนที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยทั้งระบบแบบยั่งยืนของแต่ละจังหวัด ซึ่งเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการตั้งแต่เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ 43 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากพายุ 3 ลูก ได้แก่ มาเรีย เกมี และหวู่คง โดยสั่งการที่จังหวัดขอนแก่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดทำแผนแก้ไขปัญหาอุทกภัยแบบยั่งยืนแล้ว
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ได้มีคำสั่งเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ตามคำสั่งที่ 16/2543 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนขึ้นแล้ว โดยนำแนวความคิดของจังหวัดชุมพร เพชรบุรี และจังหวัดจันทบุรี มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะได้ดำเนินการต่อเนื่องและมอบหมายให้จังหวัดทั้ง 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำแผนแบบยั่งยืน และทางสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน จะได้รวบรวมจัดทำแผนเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการขออนุมัติงบประมาณและดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-