ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งได้ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ และทรัพย์สินของกองทุนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
2. กำหนดนิยามคำว่า "หนี้ในระบบ" หมายความว่า
2.1 หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ
2.2 หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
2.3 หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยมีอำนาจหน้าที่จัดการกองทุนเกี่ยวกับบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร
4. กำหนดให้จัดตั้งสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการ และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
5. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบ และประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกาศกำหนด
6. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเห็นหนี้ในระบบตามโครงการส่งเสริมของรัฐโครงการใดที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ โดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร ให้พิจารณาช่วยเหลือโดยให้กองทุนรับภาระชำระหนี้นั้นให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน และเมื่อเกษตรกรได้รับการยกเลิกหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากคณะกรรมการจะต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
7. เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ เมื่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้มีอำนาจหน้าที่จัดการหนี้ของเกษตรกรรายใดแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
8. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ที่มิใช่หนี้ในระบบและเป็นหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันซึ่งประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขี้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงาน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
9. กำหนดให้การแก้ไขหนี้ที่มิใช่หนี้ในระบบ ให้ดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อโอนให้แก่กองทุน ทั้งนี้หลักประกันการชำระหนี้ที่จะโอนให้แก่กองทุนจะต้องคุ้มกับมูลค่าของหนี้นั้น
10. กำหนดให้กองทุนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหา-ริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากร ในการจดทะเบียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้โอนหรือผู้รับโอนก็ตาม และการยกเว้นภาษีอากรนั้น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งได้ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ และทรัพย์สินของกองทุนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
2. กำหนดนิยามคำว่า "หนี้ในระบบ" หมายความว่า
2.1 หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ
2.2 หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
2.3 หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร
3. กำหนดให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร โดยมีอำนาจหน้าที่จัดการกองทุนเกี่ยวกับบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร
4. กำหนดให้จัดตั้งสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการ และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด
5. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบ และประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกาศกำหนด
6. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเห็นหนี้ในระบบตามโครงการส่งเสริมของรัฐโครงการใดที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ โดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร ให้พิจารณาช่วยเหลือโดยให้กองทุนรับภาระชำระหนี้นั้นให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน และเมื่อเกษตรกรได้รับการยกเลิกหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากคณะกรรมการจะต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
7. เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ เมื่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้มีอำนาจหน้าที่จัดการหนี้ของเกษตรกรรายใดแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
8. กำหนดให้เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ที่มิใช่หนี้ในระบบและเป็นหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันซึ่งประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขี้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงาน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจอื่นใดที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
9. กำหนดให้การแก้ไขหนี้ที่มิใช่หนี้ในระบบ ให้ดำเนินการเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อโอนให้แก่กองทุน ทั้งนี้หลักประกันการชำระหนี้ที่จะโอนให้แก่กองทุนจะต้องคุ้มกับมูลค่าของหนี้นั้น
10. กำหนดให้กองทุนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหา-ริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากร ในการจดทะเบียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้โอนหรือผู้รับโอนก็ตาม และการยกเว้นภาษีอากรนั้น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-