คณะรัฐมนตรีพิจารณา การกู้เงินเพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2545 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจจำนวน 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จำนวน 24,368.69 ล้านบาท ดังนี้
1) การประปานครหลวง จำนวน 1,650 ล้านบาท
2) การเคหะแห่งชาติ จำนวน 3,775.50 ล้านบาท
3) การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000 ล้านบาท4
4) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 13,443.19 ล้านบาท
5) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 3,500 ล้านบาท
2. อนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ไปก่อน ในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหาเงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ได้
3. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 5 แห่ง ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
4. ให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 7,500 ล้านบาท และ 3,500 ล้านบาทตามลำดับ เมื่อครบกำหนดชำระ
5. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการกู้เงินจากแหล่งในประเทศของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในกรณีการกู้เงินจากต่างประเทศ
อนึ่ง โดยที่เงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจากธนาคารออมสิน จำนวน 1,500 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540 ครั้งที่ 2 และ พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 1 จำนวนรุ่นละ 1,000 ล้านบาท จะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 และวันที่ 24 ตุลาคม 2544 ตามลำดับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเงินกู้งวดแรกภายในเดือนตุลาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. โดยที่การกู้เงินของรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายจัดตั้งของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะเสนอขออนุมัติกู้เงินผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมตรีโดยตรง ในขณะที่การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วจึงเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรณีเร่งด่วน ทำให้การพิจารณาไม่เป็นไปโดยรอบคอบรัดกุม ประกอบกับเพื่อให้เห็นภาพรวมความต้องการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดในแต่ละปี กระทรวงการคลังจึงขอให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนอแผนความต้องการกู้เงินในประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2545 ผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมายังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาการกู้เงินในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ โดยสามารถแบ่งการกู้เงินในประเทศออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) การกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ อยู่ระหว่างที่กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2) การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีงบประมาณ (Refinance)
3) การกู้เงินเพื่อสมทบค่าใช้จ่ายในการลงทุน อยู่ระหว่างการพิจารณางบลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ อาจมีการพิจารณากู้เงินจากแหล่งในประเทศเพื่อทดแทนการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ และภาวะตลาดการเงินในแต่ละปี
2. ในการจัดทำแผนการกู้เงินในประเทศสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้จัดประชุมเพื่อติดตามสถานะและความพร้อมร่วมกับรัฐวิสาหกิจผู้ขอกู้เงิน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ประกอบกับมีเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระคืนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ในชั้นนี้จึงเห็นควรแยกแผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-
1. อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจจำนวน 5 แห่ง กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 จำนวน 24,368.69 ล้านบาท ดังนี้
1) การประปานครหลวง จำนวน 1,650 ล้านบาท
2) การเคหะแห่งชาติ จำนวน 3,775.50 ล้านบาท
3) การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 2,000 ล้านบาท4
4) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 13,443.19 ล้านบาท
5) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 3,500 ล้านบาท
2. อนุมัติในหลักการให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง กู้เงินระยะสั้น (Bridge Loan) ไปก่อน ในกรณีที่ยังไม่สามารถจัดหาเงินกู้ระยะยาวที่มีเงื่อนไขที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ได้
3. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 5 แห่ง ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
4. ให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 7,500 ล้านบาท และ 3,500 ล้านบาทตามลำดับ เมื่อครบกำหนดชำระ
5. อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินการกู้เงินจากแหล่งในประเทศของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการในกรณีการกู้เงินจากต่างประเทศ
อนึ่ง โดยที่เงินกู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจากธนาคารออมสิน จำนวน 1,500 ล้านบาท และพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540 ครั้งที่ 2 และ พ.ศ. 2541 ครั้งที่ 1 จำนวนรุ่นละ 1,000 ล้านบาท จะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 15 ตุลาคม 2544 และวันที่ 24 ตุลาคม 2544 ตามลำดับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเงินกู้งวดแรกภายในเดือนตุลาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. โดยที่การกู้เงินของรัฐวิสาหกิจจะต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายจัดตั้งของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรัฐวิสาหกิจจะเสนอขออนุมัติกู้เงินผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมตรีโดยตรง ในขณะที่การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วจึงเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกรณีเร่งด่วน ทำให้การพิจารณาไม่เป็นไปโดยรอบคอบรัดกุม ประกอบกับเพื่อให้เห็นภาพรวมความต้องการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจทั้งหมดในแต่ละปี กระทรวงการคลังจึงขอให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเสนอแผนความต้องการกู้เงินในประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2545 ผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมายังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาการกู้เงินในภาพรวมของรัฐวิสาหกิจ โดยสามารถแบ่งการกู้เงินในประเทศออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) การกู้เงินบาทสมทบโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ อยู่ระหว่างที่กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2) การกู้เงินเพื่อชำระหนี้เงินกู้ในประเทศที่ครบกำหนดชำระในแต่ละปีงบประมาณ (Refinance)
3) การกู้เงินเพื่อสมทบค่าใช้จ่ายในการลงทุน อยู่ระหว่างการพิจารณางบลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทั้งนี้ อาจมีการพิจารณากู้เงินจากแหล่งในประเทศเพื่อทดแทนการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินของประเทศ และภาวะตลาดการเงินในแต่ละปี
2. ในการจัดทำแผนการกู้เงินในประเทศสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 สำนักบริหารหนี้สาธารณะได้จัดประชุมเพื่อติดตามสถานะและความพร้อมร่วมกับรัฐวิสาหกิจผู้ขอกู้เงิน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ประกอบกับมีเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระคืนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 ในชั้นนี้จึงเห็นควรแยกแผนการกู้เงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-