ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้บรรจุโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 พ.ศ. 2541 - 2544 ไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2543 - 2544 โดยให้กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการ จำนวน 28,038 หมู่บ้าน เนื่องจากในการกำหนดเป้าหมายรายปีเฉลี่ยปีละ 7,000 หมู่บ้าน แต่ภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจของประเทศส่งผลให้โครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 เพียงจำนวน 4,878 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 17.39 ของเป้าหมาย จึงคงเหลือเป้าหมายที่ต้องดำเนินการอีก 23,160 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 82.61 จึงจำเป็นต้องบรรจุโครงการฯ ไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการ กข.คจ. ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ โดยรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบการพิจารณา
สำหรับรายละเอียดของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 พ.ศ. 2541 - 2544 มีดังนี้
1. ความเป็นมาของโครงการ
1.1 เมื่อปี พ.ศ.2536 กระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้คนยากจนในระดับหมู่บ้านมีแหล่งเงินทุนสำหรับการประกอบอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท แล้วมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรรับผิดชอบการบริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการดังกล่าว ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2536-2539 และขยายถึงปี 2540 ในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 11,608 หมู่บ้าน1.2 โครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2541 - 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมไปในทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูล จปฐ.ปี 2539 อีกจำนวน 28,038 หมู่บ้าน
2. เหตุผลและความจำเป็นของการเสนอโครงการเพื่อบรรจุในแผนก่อหนี้ต่างประเทศ ปี พ.ศ.2543-2544
2.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการที่ผ่านมาได้รับความสำเร็จอย่างดี โดยในระยะที่ 1 พ.ศ. 2536 - 2540 ดำเนินการได้ครบเป้าหมาย จำนวน 11,608 หมู่บ้าน มีเงินทุนที่ไปหมุนเวียนให้ครัวเรือนยากจนยืมไปประกอบอาชีพในหมู่บ้าน ประมาณ 3,250 ล้านบาทเศษ และในระยะที่ 2 (เฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2542) ดำเนินการได้จำนวน 4,878 หมู่บ้าน มีเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านประมาณ 1,365 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ จากการประเมินผลของคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นว่าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนได้ผลดี และสอดคล้องกับการช่วยเหลือคนจนในชนบทในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ
2.2 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว เพื่อให้ครบเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ จำนวน 28,038 หมู่บ้าน กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้เสนอโครงการที่จะดำเนินการในปี พ.ศ.2543-2544 จำนวน 10,000 หมู่บ้าน โดยใช้เงินกู้จากต่างประเทศ วงเงิน 2,924 ล้านบาทเศษ
3. การบริหารโครงการ
เงินตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จะลงไปถึงระดับหมู่บ้าน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียน เพื่อให้ประชาชนยืมไปประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหารกันเองตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด คือ
3.1 คัดเลือกและกำหนดหมู่บ้านเป้าหมายที่มีครัวเรือนยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยแต่ละอำเภอ/จังหวัด จัดทำบัญชีไว้
3.2 ในหมู่บ้านเป้าหมาย ตามข้อ 3.1 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนยากจนไว้เพื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) พิจารณาให้ยืมเงินไปลงทุนอาชีพตามลำดับก่อนหลัง และความพร้อม
3.3 จัดสรรงบประมาณให้หมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 280,000 บาทต่อหมู่บ้าน เพื่อเป็นทุนของหมู่บ้าน สำหรับครัวเรือนยากจนยืมไปประกอบอาชีพ
3.4 ครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านที่มีสิทธิยืมเงินทุนเสนอโครงการให้คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณาอนุมัติให้ยืม โดยจะต้องใช้คืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ
4.1 เป็นโครงการที่มุ่งกระจายโอกาสให้คนจนในระดับหมู่บ้านได้รับประโยชน์โดยมีแหล่งเงินทุนของตนเองหมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน
4.2 ครัวเรือนยากจนสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพและรับผิดชอบเงินยืมโดยตนเอง จากกองทุนของหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการกันเอง
4.3 เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแก่ประชาชนชาวชนบทได้โดยตรงท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน
4.4 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่เริ่มจากฐานระดับครัวเรือนสู่หมู่บ้าน และชุมชนในชนบท
4.5 เป็นการสนองต่อแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยให้ครัวเรือนมีอาชีพที่เหมาะสม และสามารถพึ่งตนเองได้อยู่ในชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้บรรจุโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 พ.ศ. 2541 - 2544 ไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2543 - 2544 โดยให้กรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการ จำนวน 28,038 หมู่บ้าน เนื่องจากในการกำหนดเป้าหมายรายปีเฉลี่ยปีละ 7,000 หมู่บ้าน แต่ภาวะวิกฤตด้านเศรษฐกิจของประเทศส่งผลให้โครงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 เพียงจำนวน 4,878 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 17.39 ของเป้าหมาย จึงคงเหลือเป้าหมายที่ต้องดำเนินการอีก 23,160 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 82.61 จึงจำเป็นต้องบรรจุโครงการฯ ไว้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการ กข.คจ. ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามระเบียบการก่อหนี้ของประเทศ โดยรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบการพิจารณา
สำหรับรายละเอียดของโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ระยะที่ 2 พ.ศ. 2541 - 2544 มีดังนี้
1. ความเป็นมาของโครงการ
1.1 เมื่อปี พ.ศ.2536 กระทรวงมหาดไทย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้เสนอโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้คนยากจนในระดับหมู่บ้านมีแหล่งเงินทุนสำหรับการประกอบอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ด้วยการสนับสนุนเงินทุนให้หมู่บ้านละ 280,000 บาท แล้วมอบอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบให้คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) เป็นองค์กรรับผิดชอบการบริหารจัดการเงินทุนให้หมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการโครงการดังกล่าว ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2536-2539 และขยายถึงปี 2540 ในหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 11,608 หมู่บ้าน1.2 โครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ในระยะที่ 2 ระหว่างปี 2541 - 2544 เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมไปในทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูล จปฐ.ปี 2539 อีกจำนวน 28,038 หมู่บ้าน
2. เหตุผลและความจำเป็นของการเสนอโครงการเพื่อบรรจุในแผนก่อหนี้ต่างประเทศ ปี พ.ศ.2543-2544
2.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการที่ผ่านมาได้รับความสำเร็จอย่างดี โดยในระยะที่ 1 พ.ศ. 2536 - 2540 ดำเนินการได้ครบเป้าหมาย จำนวน 11,608 หมู่บ้าน มีเงินทุนที่ไปหมุนเวียนให้ครัวเรือนยากจนยืมไปประกอบอาชีพในหมู่บ้าน ประมาณ 3,250 ล้านบาทเศษ และในระยะที่ 2 (เฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2542) ดำเนินการได้จำนวน 4,878 หมู่บ้าน มีเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านประมาณ 1,365 ล้านบาทเศษ ทั้งนี้ จากการประเมินผลของคณะกรรมการติดตามผลการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นว่าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนได้ผลดี และสอดคล้องกับการช่วยเหลือคนจนในชนบทในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ
2.2 เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่ได้เคยดำเนินการมาแล้ว เพื่อให้ครบเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ จำนวน 28,038 หมู่บ้าน กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้เสนอโครงการที่จะดำเนินการในปี พ.ศ.2543-2544 จำนวน 10,000 หมู่บ้าน โดยใช้เงินกู้จากต่างประเทศ วงเงิน 2,924 ล้านบาทเศษ
3. การบริหารโครงการ
เงินตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน จะลงไปถึงระดับหมู่บ้าน โดยจัดตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียน เพื่อให้ประชาชนยืมไปประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหารกันเองตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด คือ
3.1 คัดเลือกและกำหนดหมู่บ้านเป้าหมายที่มีครัวเรือนยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/คน/ปี ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยแต่ละอำเภอ/จังหวัด จัดทำบัญชีไว้
3.2 ในหมู่บ้านเป้าหมาย ตามข้อ 3.1 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนยากจนไว้เพื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) พิจารณาให้ยืมเงินไปลงทุนอาชีพตามลำดับก่อนหลัง และความพร้อม
3.3 จัดสรรงบประมาณให้หมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 280,000 บาทต่อหมู่บ้าน เพื่อเป็นทุนของหมู่บ้าน สำหรับครัวเรือนยากจนยืมไปประกอบอาชีพ
3.4 ครัวเรือนเป้าหมายในหมู่บ้านที่มีสิทธิยืมเงินทุนเสนอโครงการให้คณะกรรมการหมู่บ้านพิจารณาอนุมัติให้ยืม โดยจะต้องใช้คืนในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี
4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ
4.1 เป็นโครงการที่มุ่งกระจายโอกาสให้คนจนในระดับหมู่บ้านได้รับประโยชน์โดยมีแหล่งเงินทุนของตนเองหมุนเวียนอยู่ในหมู่บ้าน
4.2 ครัวเรือนยากจนสามารถตัดสินใจเลือกอาชีพและรับผิดชอบเงินยืมโดยตนเอง จากกองทุนของหมู่บ้านที่ประชาชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการกันเอง
4.3 เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแก่ประชาชนชาวชนบทได้โดยตรงท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน
4.4 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่เริ่มจากฐานระดับครัวเรือนสู่หมู่บ้าน และชุมชนในชนบท
4.5 เป็นการสนองต่อแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" โดยให้ครัวเรือนมีอาชีพที่เหมาะสม และสามารถพึ่งตนเองได้อยู่ในชุมชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543--