ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นเสนอ แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543 - 2549 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (พ.ศ. 2543 - 2549) งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 4,161.534 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร เป็นเงิน 2,774 ล้านบาท และงบประมาณของส่วนราชการ 1,387.534 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 596 ล้านบาท เงินกู้เอดีบีสร้างโรงงานสกัดน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 300 ล้านบาท และงบดำเนินการ จำนวน 491.534 ล้านบาท
ทั้งนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีข้อคิดเห็นที่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น รวมทั้งประเด็นที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 ด้วย ซึ่งแผนฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แข่งขันด้านราคาได้อย่างถาวรภายใต้ระบบการค้าเสรี ส่งเสริมให้มีการประสานผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างระบบที่ทำให้อุตสาหกรรมมีรายได้อย่างยั่งยืนไม่เป็นภาระของรัฐในระยะยาว ลดความสูญเสียจากการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ และสามารถลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นจากต่างประเทศ
2. เป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ผลปาล์มสดจาก 2.525 ตัน/ปี เป็น 3 ตัน/ปี และเพิ่มคุณภาพด้านน้ำมันจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 19 เมื่อสิ้นสุดแผน ลดพื้นที่ปลูกปาล์มนอกเขตเหมาะสมปลูก 157,000 ไร่ ส่วนเขตเหมาะสมปลูกดำเนินการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่าที่ยังไม่ถึงอายุปลูกทดแทน อีกทั้งให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มเท่านั้น โดยจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 2 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งระบบให้ครบวงจร
3. แนวทางการพัฒนา มีดังนี้
3.1 เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยการผลิตพันธุ์ดี การส่งเสริมและพัฒนาสวนปาล์ม และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3.2 พัฒนาทรัพยากรและองค์กรเกษตร โดยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร
3.3 การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยปรับปรุงพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการใช้ประโยชน์ วิจัยและศึกษาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม และการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์
4. การจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบเฉพาะเรื่องปาล์มน้ำมัน จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในแหล่งผลิต และตั้งอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นเพื่อกำกับดูแลติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ
5. แผนงาน/โครงการ แผนงานด้านการผลิต ประกอบด้วย แผนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 6 โครงการ แผนปรับปรุงองค์กรบริหาร 2 โครงการ และแผนวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 4 โครงการ แผนงานด้านการตลาด ประกอบด้วย แผนพัฒนาระบบตลาด 2 โครงการ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 1 โครงการ และแผนงานด้านการแปรรูป ประกอบด้วย แผนเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป 2 โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นเสนอ แผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543 - 2549 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี (พ.ศ. 2543 - 2549) งบประมาณดำเนินการทั้งสิ้น 4,161.534 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร เป็นเงิน 2,774 ล้านบาท และงบประมาณของส่วนราชการ 1,387.534 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 596 ล้านบาท เงินกู้เอดีบีสร้างโรงงานสกัดน้ำมันของกลุ่มเกษตรกรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ จำนวน 300 ล้านบาท และงบดำเนินการ จำนวน 491.534 ล้านบาท
ทั้งนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีข้อคิดเห็นที่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น รวมทั้งประเด็นที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 ด้วย ซึ่งแผนฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แข่งขันด้านราคาได้อย่างถาวรภายใต้ระบบการค้าเสรี ส่งเสริมให้มีการประสานผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสร้างระบบที่ทำให้อุตสาหกรรมมีรายได้อย่างยั่งยืนไม่เป็นภาระของรัฐในระยะยาว ลดความสูญเสียจากการใช้ทรัพยากรการผลิตที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ และสามารถลดการนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันพืชอื่นจากต่างประเทศ
2. เป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ผลปาล์มสดจาก 2.525 ตัน/ปี เป็น 3 ตัน/ปี และเพิ่มคุณภาพด้านน้ำมันจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 19 เมื่อสิ้นสุดแผน ลดพื้นที่ปลูกปาล์มนอกเขตเหมาะสมปลูก 157,000 ไร่ ส่วนเขตเหมาะสมปลูกดำเนินการปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มเก่าที่ยังไม่ถึงอายุปลูกทดแทน อีกทั้งให้มีการปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มเท่านั้น โดยจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มประมาณ 2 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งระบบให้ครบวงจร
3. แนวทางการพัฒนา มีดังนี้
3.1 เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยการผลิตพันธุ์ดี การส่งเสริมและพัฒนาสวนปาล์ม และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
3.2 พัฒนาทรัพยากรและองค์กรเกษตร โดยพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร และส่งเสริมและพัฒนาสถาบันเกษตรกร
3.3 การวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม โดยปรับปรุงพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูงและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูก พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการใช้ประโยชน์ วิจัยและศึกษาศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม และการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์
4. การจัดตั้งองค์กรรับผิดชอบเฉพาะเรื่องปาล์มน้ำมัน จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในแหล่งผลิต และตั้งอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายถั่วเหลืองและน้ำมันพืชอื่นเพื่อกำกับดูแลติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ
5. แผนงาน/โครงการ แผนงานด้านการผลิต ประกอบด้วย แผนเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 6 โครงการ แผนปรับปรุงองค์กรบริหาร 2 โครงการ และแผนวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 4 โครงการ แผนงานด้านการตลาด ประกอบด้วย แผนพัฒนาระบบตลาด 2 โครงการ แผนพัฒนาระบบสารสนเทศปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม 1 โครงการ และแผนงานด้านการแปรรูป ประกอบด้วย แผนเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป 2 โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-