คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการและแนวทางในการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (เพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และรับทราบรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ ของ ธ.ก.ส. สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ เพิ่มเติม ได้แก่เกษตรกรรายที่มีวงเงินกู้เกิน 100,000 บาท และไม่ประสงค์จะใช้วงเงินกู้เกิน 100,000 บาท ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้เงินกู้จริง ซึ่งเกษตรกรดังกล่าวมีจำนวนไม่เกิน 267,656 รายมีจำนวนหนี้เงินกู้ไม่เกิน 19,025 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือไม่เกิน 100,000 บาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544 เพิ่มจากเดิมที่มีจำนวน 2,112,132 ราย เป็นจำนวน 2,379,788 ราย
2. แนวทางและระยะเวลาในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามข้อ 1. ข้างต้น จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกับโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544
3. ในส่วนของแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการนั้น เห็นว่าในหลักการแล้วรัฐบาลอาจจำเป็นต้องจัดสรรเงินงบประมาณแก่ ธ.ก.ส. เพิ่มเติม เมื่อมีการขยายเป้าหมายของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯจากที่ได้มีการกำหนดไว้เดิม แต่เพื่อให้มีการใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นควรให้ใช้เงินงบประมาณที่ได้กำหนดไว้เดิมไปก่อน และหากเงินงบประมาณที่มีอยู่ดังกล่าวไม่เพียงพอก็ให้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมแก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
อนึ่ง ธ.ก.ส. ได้รายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 สรุปว่า ณ วันที่ 18 เมษายน 2544 มีเกษตรกรแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 144,168 ราย เป็นจำนวนเงิน 5,448.03 ล้านบาท โดยเกษตรกรดังกล่าวเลือกใช้สิทธิ ดังนี้
1) ขอพักชำระหนี้ จำนวน 51,939 ราย เป็นเงิน 2,241.27 ล้านบาท
2) ขอลดภาระหนี้ จำนวน 92,229 ราย เป็นเงิน 3,206.76 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. เกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ เพิ่มเติม ได้แก่เกษตรกรรายที่มีวงเงินกู้เกิน 100,000 บาท และไม่ประสงค์จะใช้วงเงินกู้เกิน 100,000 บาท ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการใช้เงินกู้จริง ซึ่งเกษตรกรดังกล่าวมีจำนวนไม่เกิน 267,656 รายมีจำนวนหนี้เงินกู้ไม่เกิน 19,025 ล้านบาท ทำให้มีเกษตรกรรายย่อยลูกค้า ธ.ก.ส. ที่มีหนี้เงินกู้คงเหลือไม่เกิน 100,000 บาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2544 เพิ่มจากเดิมที่มีจำนวน 2,112,132 ราย เป็นจำนวน 2,379,788 ราย
2. แนวทางและระยะเวลาในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามข้อ 1. ข้างต้น จะเป็นไปในรูปแบบเดียวกับโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544
3. ในส่วนของแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินโครงการนั้น เห็นว่าในหลักการแล้วรัฐบาลอาจจำเป็นต้องจัดสรรเงินงบประมาณแก่ ธ.ก.ส. เพิ่มเติม เมื่อมีการขยายเป้าหมายของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯจากที่ได้มีการกำหนดไว้เดิม แต่เพื่อให้มีการใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นควรให้ใช้เงินงบประมาณที่ได้กำหนดไว้เดิมไปก่อน และหากเงินงบประมาณที่มีอยู่ดังกล่าวไม่เพียงพอก็ให้พิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเติมแก่ ธ.ก.ส. ต่อไป
อนึ่ง ธ.ก.ส. ได้รายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 สรุปว่า ณ วันที่ 18 เมษายน 2544 มีเกษตรกรแสดงความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 144,168 ราย เป็นจำนวนเงิน 5,448.03 ล้านบาท โดยเกษตรกรดังกล่าวเลือกใช้สิทธิ ดังนี้
1) ขอพักชำระหนี้ จำนวน 51,939 ราย เป็นเงิน 2,241.27 ล้านบาท
2) ขอลดภาระหนี้ จำนวน 92,229 ราย เป็นเงิน 3,206.76 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-