คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญัญติสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรการทางสังคม เพื่อป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิด หรือมั่วสุมเกี่ยวกับยาเสพติด และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการคุ้มครองแรงงานของเด็กและเยาวชน ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 เพื่อให้มีการควบคุมการประกอบกิจการสถานบริการให้เหมาะสม และครอบคลุมสถานประกอบการบางประเภทเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้สถานบริการที่จะตั้งขึ้นทุกประเภทต้องได้รับใบอนุญาต กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการ โดยให้ผู้ประกอบการสถานบริการมีหน้าที่ตรวจบัตรแสดงตน กำหนดมาตรการในการเข้มงวดกวดขันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ รวมทั้งปรับปรุงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 3 ประการ โดยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตเพิ่มขึ้น ปรับปรุงอัตราโทษบางประการให้สูงขึ้น และเพิ่มแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม โดยได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้สถานประกอบการบางประเภทที่ปัจจุบันมิได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย สถานบริการ ให้จัดเข้าไว้ในประเภทของสถานบริการด้วย และกำหนดให้การตั้งสถานบริการต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2. กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการโดยให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการมีหน้าที่ตรวจบัตรแสดงตนของผู้เข้าไปใช้บริการในสถานบริการ และห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ
1) รับผู้มีอายุต่ำกว่า18ปีบิบูรณ์เข้าทำงานในสถานบริการ
2) ยอมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งมิได้ทำงานในสถานบริการนั้นเข้าไปในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ ทั้งนี้ให้เป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตต้องตรวจบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้ของผู้เข้าไปในสถานบริการ
หากพบว่าผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือไม่มีบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้เข้าไปใช้บริการในสถานบริการให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับอนุญาตยินยอมให้บุคคลผู้นั้นเข้าในสถานบริการ
3) ยอมให้ผู้มีอาการเมาสุราจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ
4) จำหน่ายสุราแก่ผู้มีอาการเมาสุราจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้
5) ยอมให้ลูกค้า ผู้บริการซึ่งทำงานในสถานบริการ หรือบุคคลที่มาร่วมแสดงดนตรีหรือแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง พักอาศัยหลับนอนในสถานบริการ
6) ยอมให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานบริการ
3. กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจไม่ต่ออายุใบอนุญาตตั้งสถานบริการ สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากปรากฏว่าผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ ยอมให้เกิดการมั่วสุมหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
4. ให้ยกเลิกมาตรา 25 ทวิเดิม เรื่อง อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งหยุดกิจการ
5. กำหนดโทษแก่ผู้ดำเนินกิจการสถานบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
6. ให้ยกเลิกมาตรา 26 ทวิเดิม เรื่องการกำหนดโทษ
7. บทเฉพาะกาลสำหรับสถานบริการที่ได้ตั้งอยู่ก่อนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
8. กำหนดโทษใหม่ให้สูงขึ้น
9. เพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม โดยได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 เพื่อให้มีการควบคุมการประกอบกิจการสถานบริการให้เหมาะสม และครอบคลุมสถานประกอบการบางประเภทเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้สถานบริการที่จะตั้งขึ้นทุกประเภทต้องได้รับใบอนุญาต กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการ โดยให้ผู้ประกอบการสถานบริการมีหน้าที่ตรวจบัตรแสดงตน กำหนดมาตรการในการเข้มงวดกวดขันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ รวมทั้งปรับปรุงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสม จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก 3 ประการ โดยให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตเพิ่มขึ้น ปรับปรุงอัตราโทษบางประการให้สูงขึ้น และเพิ่มแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับกุม โดยได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้สถานประกอบการบางประเภทที่ปัจจุบันมิได้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย สถานบริการ ให้จัดเข้าไว้ในประเภทของสถานบริการด้วย และกำหนดให้การตั้งสถานบริการต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่
2. กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการโดยให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการมีหน้าที่ตรวจบัตรแสดงตนของผู้เข้าไปใช้บริการในสถานบริการ และห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ
1) รับผู้มีอายุต่ำกว่า18ปีบิบูรณ์เข้าทำงานในสถานบริการ
2) ยอมให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งมิได้ทำงานในสถานบริการนั้นเข้าไปในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ ทั้งนี้ให้เป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตต้องตรวจบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้ของผู้เข้าไปในสถานบริการ
หากพบว่าผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือไม่มีบัตรแสดงตนที่ทางราชการออกให้เข้าไปใช้บริการในสถานบริการให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับอนุญาตยินยอมให้บุคคลผู้นั้นเข้าในสถานบริการ
3) ยอมให้ผู้มีอาการเมาสุราจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้ เข้าไปหรืออยู่ในสถานบริการระหว่างเวลาทำการ
4) จำหน่ายสุราแก่ผู้มีอาการเมาสุราจนประพฤติวุ่นวายหรือครองสติไม่ได้
5) ยอมให้ลูกค้า ผู้บริการซึ่งทำงานในสถานบริการ หรือบุคคลที่มาร่วมแสดงดนตรีหรือแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง พักอาศัยหลับนอนในสถานบริการ
6) ยอมให้มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในสถานบริการ
3. กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจไม่ต่ออายุใบอนุญาตตั้งสถานบริการ สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ หากปรากฏว่าผู้รับอนุญาตตั้งสถานบริการ ยอมให้เกิดการมั่วสุมหรือกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
4. ให้ยกเลิกมาตรา 25 ทวิเดิม เรื่อง อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งหยุดกิจการ
5. กำหนดโทษแก่ผู้ดำเนินกิจการสถานบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือถูกพักใช้หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
6. ให้ยกเลิกมาตรา 26 ทวิเดิม เรื่องการกำหนดโทษ
7. บทเฉพาะกาลสำหรับสถานบริการที่ได้ตั้งอยู่ก่อนร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับ
8. กำหนดโทษใหม่ให้สูงขึ้น
9. เพิ่มแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุม โดยได้รับส่วนแบ่งจากเงินค่าปรับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-