ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการดำเนินการโดยไม่ผูกพันกับกฎระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการและจัดการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 เห็นชอบโครงการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นสถาบันอิสระแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันหนึ่งเรียกว่า "สถาบันอนุญาโตตุลาการ" และให้สถาบันนี้เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ และดำเนินกิจการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ
2. ให้สถาบันมีรายได้จากเงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณแผ่นดิน ทรัพย์สินอุดหนุนจากองค์กรและสถาบันต่าง ๆ ภายในและต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น
3. ให้สินทรัพย์ของสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และทรัพย์สินในการเตรียมการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการโอนไปยังสถาบันอนุญาโตตุลาการ
4. ให้สถาบันได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากร
5. ให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 13
6. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ" ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 15 คน ดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการทั่วไปของสถาบัน กำหนดนโยบาย อนุมัติแผนการเงินและงบประมาณ ตลอดจนออกข้อบังคับต่าง ๆ
7. ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามข้อบังคับด้านการเงินที่คณะกรรมการกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระและคล่องตัวในการดำเนินการโดยไม่ผูกพันกับกฎระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ เพื่อรับผิดชอบในการดำเนินการและจัดการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2540 เห็นชอบโครงการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นสถาบันอิสระแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้จัดตั้งสถาบันหนึ่งเรียกว่า "สถาบันอนุญาโตตุลาการ" และให้สถาบันนี้เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ และดำเนินกิจการเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีประนอมข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ
2. ให้สถาบันมีรายได้จากเงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณแผ่นดิน ทรัพย์สินอุดหนุนจากองค์กรและสถาบันต่าง ๆ ภายในและต่างประเทศ หรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ เป็นต้น
3. ให้สินทรัพย์ของสำนักงานอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และทรัพย์สินในการเตรียมการจัดตั้งสถาบันอนุญาโตตุลาการโอนไปยังสถาบันอนุญาโตตุลาการ
4. ให้สถาบันได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากร
5. ให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 13
6. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ" ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 15 คน ดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ มีหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการทั่วไปของสถาบัน กำหนดนโยบาย อนุมัติแผนการเงินและงบประมาณ ตลอดจนออกข้อบังคับต่าง ๆ
7. ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นตามข้อบังคับด้านการเงินที่คณะกรรมการกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-