ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 จำนวน765,400 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.00 ของวงเงินงบประมาณ (860,000 ล้านบาท) โดยกำหนดเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเป็นรายไตรมาส สำหรับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 (ตุลาคม 2542 - มีนาคม 2543) ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไว้เท่ากับ 343,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.00 ของวงเงินงบประมาณ
2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 ในภาพรวม
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 (มกราคม - มีนาคม 2543) มีการเบิกจ่ายเงินจำนวน 166,275 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.33 ของวงเงินงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมายคือ173,600 ล้านบาท จำนวน 7,325 ล้านบาท
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปรากฏว่า มีการเบิกจ่ายเงินทั้งสิ้น 345,429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.17 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าเป้าหมายคือ 343,700ล้านบาท จำนวน 1,729 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.17
2.1 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 จำนวน 166,275ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 135,024 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.00 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน 31,251 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.40 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 จำนวน 345,429 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 291,894 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน 53,535 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.67 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2จำแนกตามหมวดรายจ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายปรากฏว่าหมวดที่มีการเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่หมวดเงินอุดหนุน มีการเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมาย จำนวน 8,604 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากในปีนี้สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินประจำงวดในหมวดเงินอุดหนุนให้กับส่วนราชการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามกระทรวง ปรากฏว่ากระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงยุติธรรมมีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 27.34 28.94 และ 31.17 ตามลำดับ
3. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 34 แห่ง ที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 34 แห่ง โดยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมกันเท่ากับ 185,985 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.70 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมทั้งประเทศ (217,025 ล้านบาท) โดยผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของหน่วยงานในกลุ่มนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 เท่ากับ 47,740 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.67 และ 22.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของกลุ่มและวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมทั้งประเทศตามลำดับ
หน่วยงานในกลุ่มนี้ที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ การเคหะแห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมอนามัย มีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 1.29 1.96 5.94 6.31 และ 6.93 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 จำนวน765,400 ล้านบาท หรือร้อยละ 89.00 ของวงเงินงบประมาณ (860,000 ล้านบาท) โดยกำหนดเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายเป็นรายไตรมาส สำหรับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 (ตุลาคม 2542 - มีนาคม 2543) ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินงบประมาณไว้เท่ากับ 343,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.00 ของวงเงินงบประมาณ
2. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 ในภาพรวม
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 (มกราคม - มีนาคม 2543) มีการเบิกจ่ายเงินจำนวน 166,275 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.33 ของวงเงินงบประมาณต่ำกว่าเป้าหมายคือ173,600 ล้านบาท จำนวน 7,325 ล้านบาท
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ปรากฏว่า มีการเบิกจ่ายเงินทั้งสิ้น 345,429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40.17 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าเป้าหมายคือ 343,700ล้านบาท จำนวน 1,729 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.17
2.1 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ไตรมาสที่ 2 จำนวน 166,275ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 135,024 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.00 ของงบประมาณรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน 31,251 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.40 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 จำนวน 345,429 ล้านบาท จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 291,894 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.40 ของงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน 53,535 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.67 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามหมวดรายจ่าย
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2543 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2จำแนกตามหมวดรายจ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายปรากฏว่าหมวดที่มีการเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่หมวดเงินอุดหนุน มีการเบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมาย จำนวน 8,604 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากในปีนี้สำนักงบประมาณได้อนุมัติเงินประจำงวดในหมวดเงินอุดหนุนให้กับส่วนราชการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำแนกตามกระทรวง ปรากฏว่ากระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงยุติธรรมมีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 27.34 28.94 และ 31.17 ตามลำดับ
3. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 34 แห่ง ที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 34 แห่ง โดยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมกันเท่ากับ 185,985 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.70 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมทั้งประเทศ (217,025 ล้านบาท) โดยผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของหน่วยงานในกลุ่มนี้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 เท่ากับ 47,740 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.67 และ 22.00 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของกลุ่มและวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรวมทั้งประเทศตามลำดับ
หน่วยงานในกลุ่มนี้ที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ การเคหะแห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล และกรมอนามัย มีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 1.29 1.96 5.94 6.31 และ 6.93 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-