คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานผลการดำเนินงานโครงการจ้างบัณฑิตอาสาเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน ปี 2543 ครั้งที่ 4 (สิ้นสุดโครงการ) ณ วันที่ 31มกราคม 2544 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินการโครงการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน (ณ วันที่ 31 มกราคม 2544)จำนวน 71,110 ศูนย์ มีบัณฑิตอาสาปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคจำนวน 71,067 ศูนย์ (70,837 หมู่บ้าน) จำนวนประชากร48,997,450 คน (10,573,462 ครอบครัว) และในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 43 ศูนย์ (ไม่มีบัณฑิตอาสาปฏิบัติงาน)
2. การประเมินความเข้มแข็งของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านหลังเสร็จสิ้นโครงการ ผลการวัดความเข้มแข็ง เป้าหมายการพัฒนาศูนย์สงเคราะห์ประจำหมู่บ้านหลังเสร็จสิ้นโครงการในปี 2543 การประเมินความเข้มแข็ง จำนวน 70,078 ศูนย์ จากศูนย์ฯ ทั้งหมด 71,067 ศูนย์ (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ปรากฏผลว่า เข้มแข็งมาก14,343 ศูนย์ (ร้อยละ 20.48) เข้มแข็ง 41,870 ศูนย์ (ร้อยละ 59.75) ไม่เข้มแข็ง 13,865 ศูนย์ (ร้อยละ 19.79)จากการดำเนินงานตามโครงการฯ สามารถกระตุ้นให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านมีความเข้มแข็งมากตามเป้าหมายของโครงการ
3. ปัญหาอุปสรรคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
3.1 ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนที่ขึ้นทะเบียนไว้มีจำนวนมากกว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านที่จะให้ความช่วยเหลือ และรัฐบาลมีเงินสนับสนุนไม่เพียงพอ
3.2 การบริหารจัดการภายในศูนย์สงเคราะห์ฯ ซึ่งคณะกรรมการชุดเก่าไม่ส่งมอบงานให้คณะกรรมการชุดใหม่
3.3 กรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการประสานขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก ตลอดจนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ที่ทดรองจ่ายให้ผู้ประสบความเดือดร้อนไปก่อนแล้วเบิกคืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.4 กรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านยังขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานและยังเห็นแก่พวกพ้องในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
4. ข้อเสนอแนะ
4.1 หน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนควรเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ผลงานหรือภารกิจให้ทั่วถึง
4.2 คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านควรได้รับการฝึกอบรมความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคณะกรรมการอื่น ๆ และการสร้างองค์กรเครือข่ายในชุมชน
4.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ดีให้กับประชาชนเพื่อเข้าถึงและใช้บริการด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
1. ผลการดำเนินการโครงการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน (ณ วันที่ 31 มกราคม 2544)จำนวน 71,110 ศูนย์ มีบัณฑิตอาสาปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคจำนวน 71,067 ศูนย์ (70,837 หมู่บ้าน) จำนวนประชากร48,997,450 คน (10,573,462 ครอบครัว) และในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 43 ศูนย์ (ไม่มีบัณฑิตอาสาปฏิบัติงาน)
2. การประเมินความเข้มแข็งของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านหลังเสร็จสิ้นโครงการ ผลการวัดความเข้มแข็ง เป้าหมายการพัฒนาศูนย์สงเคราะห์ประจำหมู่บ้านหลังเสร็จสิ้นโครงการในปี 2543 การประเมินความเข้มแข็ง จำนวน 70,078 ศูนย์ จากศูนย์ฯ ทั้งหมด 71,067 ศูนย์ (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ปรากฏผลว่า เข้มแข็งมาก14,343 ศูนย์ (ร้อยละ 20.48) เข้มแข็ง 41,870 ศูนย์ (ร้อยละ 59.75) ไม่เข้มแข็ง 13,865 ศูนย์ (ร้อยละ 19.79)จากการดำเนินงานตามโครงการฯ สามารถกระตุ้นให้ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านมีความเข้มแข็งมากตามเป้าหมายของโครงการ
3. ปัญหาอุปสรรคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
3.1 ผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนที่ขึ้นทะเบียนไว้มีจำนวนมากกว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านที่จะให้ความช่วยเหลือ และรัฐบาลมีเงินสนับสนุนไม่เพียงพอ
3.2 การบริหารจัดการภายในศูนย์สงเคราะห์ฯ ซึ่งคณะกรรมการชุดเก่าไม่ส่งมอบงานให้คณะกรรมการชุดใหม่
3.3 กรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านขาดความรู้ความเข้าใจในการประสานขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหรือองค์กรภายนอก ตลอดจนการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ที่ทดรองจ่ายให้ผู้ประสบความเดือดร้อนไปก่อนแล้วเบิกคืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
3.4 กรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านยังขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานและยังเห็นแก่พวกพ้องในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
4. ข้อเสนอแนะ
4.1 หน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนควรเยี่ยมเยียนประชาชนในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ผลงานหรือภารกิจให้ทั่วถึง
4.2 คณะกรรมการศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านควรได้รับการฝึกอบรมความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับคณะกรรมการอื่น ๆ และการสร้างองค์กรเครือข่ายในชุมชน
4.3 สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจที่ดีให้กับประชาชนเพื่อเข้าถึงและใช้บริการด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-