คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอ เรื่อง ขอขยายระยะเวลาโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 และปรับเงื่อนไขเงินเชื่อค่าปุ๋ยปี 2542 และปี 2543 โดยให้ขยายระยะเวลาโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2544 เป็นสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2545 และให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 และปี 2543 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในเรื่องการติดตามเร่งรัดการชำระหนี้คืนกองทุนฯ ไปดำเนินการต่อไป
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การดำเนินงานจัดหาปุ๋ยเคมีปี 2542 - 2543 มีดังนี้
1.1 ปี 2542 (ระยะเวลาโครงการ 2 ปี) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 2,010.85 ล้านบาท ได้ส่งเงินคืนกองทุนฯ แล้ว 1,567.17 ล้านบาท และค้างส่งจำนวน 443.68 ล้านบาท ผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากโครงการได้รับเงินล่าช้า ทำให้เกษตรกรที่เสนอแผนความต้องการใช้ปุ๋ยให้แก่ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่สามารถจำหน่ายปุ๋ยที่จัดหาให้แก่สมาชิกสหกรณ์ได้ตามเป้าหมาย โดยมีปุ๋ยคงเหลือ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2544 จำนวน 23,131 ตัน หรือร้อยละ 31.66ของปริมาณปุ๋ยจัดหา 73,048 ตัน คิดเป็นมูลค่า 144.54 ล้านบาท
1.2 ปี 2543 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก คชก. จำนวน 1,600 ล้านบาท สามารถดำเนินการจัดหาปุ๋ยเคมีให้แก่เกษตรกร ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 รวมทั้งสิ้น 258,971 ตัน แยกเป็นเงินยืม 1,150.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.88 ของเงินยืม และเงินสมทบ 504.12 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70 : 30โดยขณะนี้ ชสท. มีปุ๋ยคงเหลือประมาณ 59,929 ตัน จากปริมาณการจัดหา 71,067 ตัน
1.3 ชสท. มีปริมาณปุ๋ยคงเหลือปี 2542 และปี 2543 รวม 83,060 ตัน มูลค่าประมาณ 564.21 ล้านบาท ซึ่ง ชสท. ยืนยันว่าจะสามารถจำหน่ายปุ๋ยคงเหลือได้หมดในฤดูกาลเพาะปลูกนี้ ขณะนี้ยังคงอยู่ในระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ (กำหนดสิ้นสุดโครงการเดือนกรกฎาคม 2544)
2. การจัดหาปุ๋ยขององค์กรเกษตรกรไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากองค์กรเกษตรกรในพื้นที่ได้รับเงินล่าช้า สาเหตุเกิดจาก คชก. มีเงินจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการจำเป็นต้องใช้เงินกู้มิยาซาวาแผนงานรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ซึ่งมีขั้นตอนในการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อรองรับการใช้เงินดังกล่าว รวมทั้งต้องรอการอนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณ ทำให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเพื่อไปใช้ในต้นเดือนตุลาคม 2542 เมื่อองค์กรเกษตรกรได้รับเงินจัดสรร และนำไปซื้อปุ๋ยเคมีตามแผนความต้องการของสมาชิกที่ได้แจ้งความจำนงไว้ ก็เป็นช่วงที่เกือบหมดฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว จากปัญหาความล่าช้าดังกล่าวทำให้เกษตรกรบางส่วนที่ไม่สามารถรอรับปุ๋ยเคมีจากโครงการได้ เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยจึงได้ดำเนินการจัดซื้อปุ๋ยเคมีจากแหล่งอื่น ๆ แทนไปแล้ว และไม่มารับปุ๋ยเคมีตามที่ได้แจ้งไว้ ดังนั้น จึงทำให้ปุ๋ยเคมีปี 2542 ค้างอยู่ที่องค์กรเกษตรกร ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 ประมาณ 23,131 ตัน คิดเป็นมูลค่า 144.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.26 ของมูลค่าปุ๋ย
จากการที่องค์กรเกษตรกรได้รับเงินจากโครงการฯ เมื่อเกือบหมดฤดูกาลเพาะปลูกและการเกิดภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ ตลอดจนปัญหาภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และการส่งคืนเงินกู้ ทั้งในส่วนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรที่ไม่สามารถส่งคืนเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ เดือนเมษายน 2544 ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบันลดลงจากปี 2543 กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บจากลูกค้าชั้นดี หรืออัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ในขณะที่องค์กรเกษตรกรและเกษตรกรในโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ส่งคืนเงินต้นเกิน 12 เดือน จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยของธนาคาร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก คชก. และได้กำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยขึ้นเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรส่งคืนเงินให้เร็วขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและองค์กรเกษตร และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างแท้จริง ตลอดจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรที่ขอยืมเงินในปี 2542 และปี 2543 และเงื่อนไขการส่งคืนเงินยืมเช่นเดียวกัน จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
1. ขยายระยะเวลาโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2544 เป็นสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2545
2. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 และปี 2543 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป ดังนี้
2.1 หากชำระเงินภายใน 9 เดือน ปลอดดอกเบี้ย
2.2 หากชำระเกิน 9 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 9 เดือน ในอัตราร้อยละ6 ต่อปี
2.3 หากชำระเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 12 เดือน ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. การดำเนินงานจัดหาปุ๋ยเคมีปี 2542 - 2543 มีดังนี้
1.1 ปี 2542 (ระยะเวลาโครงการ 2 ปี) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 2,010.85 ล้านบาท ได้ส่งเงินคืนกองทุนฯ แล้ว 1,567.17 ล้านบาท และค้างส่งจำนวน 443.68 ล้านบาท ผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากโครงการได้รับเงินล่าช้า ทำให้เกษตรกรที่เสนอแผนความต้องการใช้ปุ๋ยให้แก่ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่สามารถจำหน่ายปุ๋ยที่จัดหาให้แก่สมาชิกสหกรณ์ได้ตามเป้าหมาย โดยมีปุ๋ยคงเหลือ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในเดือนเมษายน 2544 จำนวน 23,131 ตัน หรือร้อยละ 31.66ของปริมาณปุ๋ยจัดหา 73,048 ตัน คิดเป็นมูลค่า 144.54 ล้านบาท
1.2 ปี 2543 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก คชก. จำนวน 1,600 ล้านบาท สามารถดำเนินการจัดหาปุ๋ยเคมีให้แก่เกษตรกร ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 รวมทั้งสิ้น 258,971 ตัน แยกเป็นเงินยืม 1,150.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.88 ของเงินยืม และเงินสมทบ 504.12 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70 : 30โดยขณะนี้ ชสท. มีปุ๋ยคงเหลือประมาณ 59,929 ตัน จากปริมาณการจัดหา 71,067 ตัน
1.3 ชสท. มีปริมาณปุ๋ยคงเหลือปี 2542 และปี 2543 รวม 83,060 ตัน มูลค่าประมาณ 564.21 ล้านบาท ซึ่ง ชสท. ยืนยันว่าจะสามารถจำหน่ายปุ๋ยคงเหลือได้หมดในฤดูกาลเพาะปลูกนี้ ขณะนี้ยังคงอยู่ในระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ (กำหนดสิ้นสุดโครงการเดือนกรกฎาคม 2544)
2. การจัดหาปุ๋ยขององค์กรเกษตรกรไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากองค์กรเกษตรกรในพื้นที่ได้รับเงินล่าช้า สาเหตุเกิดจาก คชก. มีเงินจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของโครงการจำเป็นต้องใช้เงินกู้มิยาซาวาแผนงานรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร ซึ่งมีขั้นตอนในการแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พ.ศ. 2534 เพื่อรองรับการใช้เงินดังกล่าว รวมทั้งต้องรอการอนุมัติเงินจากสำนักงบประมาณ ทำให้หน่วยงานสามารถเบิกจ่ายเพื่อไปใช้ในต้นเดือนตุลาคม 2542 เมื่อองค์กรเกษตรกรได้รับเงินจัดสรร และนำไปซื้อปุ๋ยเคมีตามแผนความต้องการของสมาชิกที่ได้แจ้งความจำนงไว้ ก็เป็นช่วงที่เกือบหมดฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว จากปัญหาความล่าช้าดังกล่าวทำให้เกษตรกรบางส่วนที่ไม่สามารถรอรับปุ๋ยเคมีจากโครงการได้ เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยจึงได้ดำเนินการจัดซื้อปุ๋ยเคมีจากแหล่งอื่น ๆ แทนไปแล้ว และไม่มารับปุ๋ยเคมีตามที่ได้แจ้งไว้ ดังนั้น จึงทำให้ปุ๋ยเคมีปี 2542 ค้างอยู่ที่องค์กรเกษตรกร ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 ประมาณ 23,131 ตัน คิดเป็นมูลค่า 144.54 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.26 ของมูลค่าปุ๋ย
จากการที่องค์กรเกษตรกรได้รับเงินจากโครงการฯ เมื่อเกือบหมดฤดูกาลเพาะปลูกและการเกิดภาวะเศรษฐกิจวิกฤติ ตลอดจนปัญหาภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และการส่งคืนเงินกู้ ทั้งในส่วนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรที่ไม่สามารถส่งคืนเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ เดือนเมษายน 2544 ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบันลดลงจากปี 2543 กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเก็บจากลูกค้าชั้นดี หรืออัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี รวมทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ในขณะที่องค์กรเกษตรกรและเกษตรกรในโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ส่งคืนเงินต้นเกิน 12 เดือน จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยของธนาคาร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก คชก. และได้กำหนดเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยขึ้นเอง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรส่งคืนเงินให้เร็วขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและองค์กรเกษตร และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างแท้จริง ตลอดจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรที่ขอยืมเงินในปี 2542 และปี 2543 และเงื่อนไขการส่งคืนเงินยืมเช่นเดียวกัน จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
1. ขยายระยะเวลาโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2544 เป็นสิ้นสุดโครงการฯ เดือนเมษายน 2545
2. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2542 และปี 2543 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป ดังนี้
2.1 หากชำระเงินภายใน 9 เดือน ปลอดดอกเบี้ย
2.2 หากชำระเกิน 9 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 9 เดือน ในอัตราร้อยละ6 ต่อปี
2.3 หากชำระเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ยส่วนที่เกิน 12 เดือน ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-