ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
4. เรื่อง รายได้และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิธีการในการจัดทำข้อมูลรายได้ ข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวได้มาจากการคำนวณจากค่าตัวแปร 3 ตัว คือ จำนวนนักท่องเที่ยวรายตลาด จำนวนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด และจำนวนวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด โดยข้อมูลค่าตัวแปรทั้ง 3 ส่วนจะมีที่มาจากฐานข้อมูล ดังนี้
- จำนวนนักท่องเที่ยว : ใช้ฐานข้อมูลจำนวนคนเดินทางเข้า - ออกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการนับจดสถิติโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในตารางสถิติดังกล่าวจะจำแนกคนเดินทางตามรายสัญชาติและประเภทของวีซ่าที่ได้รับในการเดินทางเข้าประเทศไทย ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาคัดเลือกตามคำนิยามที่กำหนดเป็น "นักท่องเที่ยว" โดยพิจารณาเฉพาะผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทยและได้รับวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว 15 วัน (Visa on Arrival) นักท่องเที่ยวยกเว้นการตรวจลงตรา Transit Visa และ Tourist Visa สำหรับผู้ที่ได้รับวีซ่าประเภทอื่น ๆ คือ วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ คนต่างด้าวที่ขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจอื่น ๆ รวมทั้งวีซ่าประเภททูต ราชการ จะไม่นำมาพิจารณาเป็นนักท่องเที่ยว
- จำนวนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนของนักท่องเที่ยว : ได้มาจากวิธีการสำรวจโดยการสอบถามนักท่องเที่ยว ณ สถานที่เดินทางออกคือ ท่าอากาศยาน และช่องทางออกในด่านทางบกที่สำคัญในจังหวัดสงขลาและจังหวัดหนองคาย ข้อมูลที่ทำการสำรวจได้แก่ รายละเอียดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าใช้จ่ายต่อคน) ระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย การสำรวจดังกล่าวจะใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยกระจายจำนวนตัวอย่างไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวจากแต่ละตลาดและรายเดือน ซึ่งจำนวนตัวอย่างดังกล่าวจะมีประมาณ 10,000 รายต่อปี โดยวิธีสุ่มตัวอย่างดังกล่าวนี้ จะทำให้มีโอกาสได้กลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ในสัดส่วนซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างนักท่องเที่ยวจริงที่ไทยได้รับจริง หลังจากนั้นจึงนำค่าข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างมาประมวลผลหาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่อคนจากแต่ละตลาด ก่อนที่จะนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของแต่ละตลาด เพื่อนำมาเป็นค่าตัวแทนในการคำนวณหารายได้จากการท่องเที่ยวจากแต่ละตลาด
- การจัดทำข้อมูลวันพักเฉลี่ย : ได้มาจากการนำรายละเอียดข้อมูลวันเดินทางเข้าและวันเดินทางออกของนักท่องเที่ยวแต่ละคนมาคำนวณหาจำนวนวันที่เดินทางอยู่ภายในประเทศไทย โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้มาจากวันที่ที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้ประทับไว้ในบัตรเดินทางขาเข้าและบัตรเดินทางขาออกของนักท่องเที่ยวแต่ละคนในขั้นตอนพิธีการเข้าเมืองและนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลหาค่าจำนวนวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแต่ละสัญชาติและวันพักเฉลี่ยรวมทั้งหมด
ตัวอย่าง การคำนวณรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2542
รายได้จากการท่องเที่ยว = จำนวนนักท่องเที่ยว x วันพักเฉลี่ย x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/วัน
253,018 ล้านบาท = 8,580,332 x 7.96 x 3,704.54
2. การตรวจสอบข้อมูล หลังจากการประมวลผลรายได้จากการท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมคณะที่ปรึกษาซึ่งได้แก่หน่วยงานภายนอก อันประกอบด้วย ผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยจะช่วยพิจารณาข้อมูลทุกไตรมาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-
4. เรื่อง รายได้และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วิธีการในการจัดทำข้อมูลรายได้ ข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวได้มาจากการคำนวณจากค่าตัวแปร 3 ตัว คือ จำนวนนักท่องเที่ยวรายตลาด จำนวนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด และจำนวนวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแต่ละตลาด โดยข้อมูลค่าตัวแปรทั้ง 3 ส่วนจะมีที่มาจากฐานข้อมูล ดังนี้
- จำนวนนักท่องเที่ยว : ใช้ฐานข้อมูลจำนวนคนเดินทางเข้า - ออกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการนับจดสถิติโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ในตารางสถิติดังกล่าวจะจำแนกคนเดินทางตามรายสัญชาติและประเภทของวีซ่าที่ได้รับในการเดินทางเข้าประเทศไทย ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาคัดเลือกตามคำนิยามที่กำหนดเป็น "นักท่องเที่ยว" โดยพิจารณาเฉพาะผู้ที่มิได้ถือสัญชาติไทยและได้รับวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว 15 วัน (Visa on Arrival) นักท่องเที่ยวยกเว้นการตรวจลงตรา Transit Visa และ Tourist Visa สำหรับผู้ที่ได้รับวีซ่าประเภทอื่น ๆ คือ วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ คนต่างด้าวที่ขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจอื่น ๆ รวมทั้งวีซ่าประเภททูต ราชการ จะไม่นำมาพิจารณาเป็นนักท่องเที่ยว
- จำนวนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนของนักท่องเที่ยว : ได้มาจากวิธีการสำรวจโดยการสอบถามนักท่องเที่ยว ณ สถานที่เดินทางออกคือ ท่าอากาศยาน และช่องทางออกในด่านทางบกที่สำคัญในจังหวัดสงขลาและจังหวัดหนองคาย ข้อมูลที่ทำการสำรวจได้แก่ รายละเอียดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (ค่าใช้จ่ายต่อคน) ระหว่างที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย การสำรวจดังกล่าวจะใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยกระจายจำนวนตัวอย่างไปตามจำนวนนักท่องเที่ยวจากแต่ละตลาดและรายเดือน ซึ่งจำนวนตัวอย่างดังกล่าวจะมีประมาณ 10,000 รายต่อปี โดยวิธีสุ่มตัวอย่างดังกล่าวนี้ จะทำให้มีโอกาสได้กลุ่มตัวอย่างที่ครอบคลุมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ในสัดส่วนซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างนักท่องเที่ยวจริงที่ไทยได้รับจริง หลังจากนั้นจึงนำค่าข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างมาประมวลผลหาค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่อคนจากแต่ละตลาด ก่อนที่จะนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของแต่ละตลาด เพื่อนำมาเป็นค่าตัวแทนในการคำนวณหารายได้จากการท่องเที่ยวจากแต่ละตลาด
- การจัดทำข้อมูลวันพักเฉลี่ย : ได้มาจากการนำรายละเอียดข้อมูลวันเดินทางเข้าและวันเดินทางออกของนักท่องเที่ยวแต่ละคนมาคำนวณหาจำนวนวันที่เดินทางอยู่ภายในประเทศไทย โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้มาจากวันที่ที่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้ประทับไว้ในบัตรเดินทางขาเข้าและบัตรเดินทางขาออกของนักท่องเที่ยวแต่ละคนในขั้นตอนพิธีการเข้าเมืองและนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลหาค่าจำนวนวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแต่ละสัญชาติและวันพักเฉลี่ยรวมทั้งหมด
ตัวอย่าง การคำนวณรายได้จากการท่องเที่ยวปี 2542
รายได้จากการท่องเที่ยว = จำนวนนักท่องเที่ยว x วันพักเฉลี่ย x ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/วัน
253,018 ล้านบาท = 8,580,332 x 7.96 x 3,704.54
2. การตรวจสอบข้อมูล หลังจากการประมวลผลรายได้จากการท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวแล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมคณะที่ปรึกษาซึ่งได้แก่หน่วยงานภายนอก อันประกอบด้วย ผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และสำนักงานสถิติแห่งชาติเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยจะช่วยพิจารณาข้อมูลทุกไตรมาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-