คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการประชุมของคณะกรรมการมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแล้วมีมติรับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ครั้งที่ 3/2548 และให้เร่งรัดการดำเนินการของกระทรวงที่รับผิดชอบมาตรการการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้มีผลเป็นรูปธรรมภายในเดือนธันวาคม 2548
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า คณะกรรมการฯ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าว คณะกรรมการฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของกระทรวงที่รับผิดชอบ และมีมติเห็นควรให้เร่งรัดและติดตามผลของมาตรการที่สำคัญ ๆ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการที่ 1, 19.1 การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า และมีมติให้กระทรวงพลังงานเร่งจัดทำ Road Map แผนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนน้ำมันให้ชัดเจนให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548 คือ (1) แผนเร่งรัดการใช้ NGV ทดแทนน้ำมัน (2) แผนการผลิตและระบบการจัดจำหน่าย Bio-fuel เพื่อสนองความต้องการใช้ทดแทนน้ำมัน และ (3) แผนการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม
2. มาตรการที่ 5 การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2548 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมร้อยละ 15 และร้อยละ 3.9 การส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไก่แช่แข็ง ผักผลไม้และอาหารทะเลแช่เย็น
3. มาตรการที่ 6 การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ค่าโดยสาร อาหารสด และพลังงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงพาณิชย์ดูแล สินค้าควบคุม และจัดทำรายละเอียดประเภทสินค้าที่ยังสามารถตรึงราคาได้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ต้องยอมให้มีการปรับขึ้นราคา
4. มาตรการที่ 8 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประสานสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน GFMIS เร่งรัดรายงานผลเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 ในระบบ GFMIS จากตัวเลข GFMIS เป็นตัวเลข Real Time ให้ตรงกัน
5. มาตรการที่ 9 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา
กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้มีหน่วยงานในภูมิภาค 2 แห่ง ที่มีการเบิกจ่ายตามระเบียบนี้ รวม 12 สัญญา วงเงิน 16,701,551 บาท ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างน้อยและที่ประชุมมีมติให้กรมบัญชีกลางเร่งจัดเก็บข้อมูลจากส่วนราชการ และรายงานความคืบหน้าการเบิกจ่ายโดยเร็ว
6. มาตรการที่ 16 การเร่งรัดงบ SML
ที่ประชุมมีมติให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
7. มาตรการที่ 21 เร่งรัดทุน ICL
ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ ICL สำหรับปีการศึกษา 2549 เพื่อสามารถเริ่มให้ทุนได้บางส่วนในเดือนมิถุนายน 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า คณะกรรมการฯ ได้มีการประชุม ครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าว คณะกรรมการฯ ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการของกระทรวงที่รับผิดชอบ และมีมติเห็นควรให้เร่งรัดและติดตามผลของมาตรการที่สำคัญ ๆ สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการที่ 1, 19.1 การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้า และมีมติให้กระทรวงพลังงานเร่งจัดทำ Road Map แผนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนน้ำมันให้ชัดเจนให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548 คือ (1) แผนเร่งรัดการใช้ NGV ทดแทนน้ำมัน (2) แผนการผลิตและระบบการจัดจำหน่าย Bio-fuel เพื่อสนองความต้องการใช้ทดแทนน้ำมัน และ (3) แผนการใช้พลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม
2. มาตรการที่ 5 การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังเพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2548 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมร้อยละ 15 และร้อยละ 3.9 การส่งออกที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ ยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไก่แช่แข็ง ผักผลไม้และอาหารทะเลแช่เย็น
3. มาตรการที่ 6 การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ค่าโดยสาร อาหารสด และพลังงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงพาณิชย์ดูแล สินค้าควบคุม และจัดทำรายละเอียดประเภทสินค้าที่ยังสามารถตรึงราคาได้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถควบคุมราคาได้ต้องยอมให้มีการปรับขึ้นราคา
4. มาตรการที่ 8 การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ประชุมมีมติให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประสานสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน GFMIS เร่งรัดรายงานผลเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2548 ในระบบ GFMIS จากตัวเลข GFMIS เป็นตัวเลข Real Time ให้ตรงกัน
5. มาตรการที่ 9 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา
กรมบัญชีกลางได้ออกหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้มีหน่วยงานในภูมิภาค 2 แห่ง ที่มีการเบิกจ่ายตามระเบียบนี้ รวม 12 สัญญา วงเงิน 16,701,551 บาท ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างน้อยและที่ประชุมมีมติให้กรมบัญชีกลางเร่งจัดเก็บข้อมูลจากส่วนราชการ และรายงานความคืบหน้าการเบิกจ่ายโดยเร็ว
6. มาตรการที่ 16 การเร่งรัดงบ SML
ที่ประชุมมีมติให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ทุกเดือน
7. มาตรการที่ 21 เร่งรัดทุน ICL
ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ ICL สำหรับปีการศึกษา 2549 เพื่อสามารถเริ่มให้ทุนได้บางส่วนในเดือนมิถุนายน 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--