ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ เดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี้
1.1 ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
1) ในเดือนธันวาคม 2542 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,072,095 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2542 จำนวน 162,132 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.82 โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 173,709 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 23,604 ราย
สำหรับยอดหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวน 1,120,513 ล้านบาท ลดลง 138,397 ล้านบาท จากเดือนพฤศจิกายน 2542 หรือลดลงร้อยละ 11 โดยมีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 26,199 รายลดลงจากเดือนก่อน 1,813 ราย ดังนั้น เมื่อรวมหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จและหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,192,608 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ 199,908 ราย
2) ในปี 2542 ยอดหนี้และจำนวนรายลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจาก 156,865 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2541 เป็น 1,072,095 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 หรือเพิ่มขึ้น915,230 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 173,709 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2541 จำนวน 164,694 ราย
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ นั้น เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งทางด้านสถาบันการเงิน และลูกหนี้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำได้เอื้ออำนวยให้การเจรจาต่อรองเป็นไปได้ด้วยดี สถาบันที่เกี่ยวข้องรวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการชี้แจงและการสัมมนาเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหลายครั้ง ธนาคารได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ เช่น หนังสือสิทธิประโยชน์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แผ่นพับเผยแพร่เกี่ยวกับกระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงการให้บริการคำตอบทางโทรศัพท์และโทรสารอัตโนมัติ และการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางระบบเว็บไซด์ของธนาคาร นอกจากนั้น การคัดเลือกลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ทั้งลูกหนี้รายใหญ่และรายเล็ก ให้เข้าสู่กระบวนการและกรอบเวลาได้เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ ได้กระตุ้นให้สถาบันการเงินและลูกหนี้เร่งเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีความสำเร็จเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในระยะหลัง ๆ นี้
3) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ในปี 2542 ภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การค้าส่งและการค้าปลีก และการบริหารตามลำดับ
4) ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ จำแนกตามภูมิภาค
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนภูมิภาคมีความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยปลายปี 2541 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนภูมิภาคมีผลสำเร็จในสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 แต่ในช่วงกลางปี 2542 เป็นต้นมา สัดส่วนดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23 ณ สิ้นปี 2542
1.2 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
ในระยะปลายเดือนมกราคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นรายใหญ่ และรายเล็ก ซึ่งอยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 5,599 ราย มูลหนี้ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ 1,727 ราย คิดเป็นร้อยละ 92 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น และเป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กจำนวน 3,872 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
(1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วมีจำนวน 211 บริษัท รวมมูลหนี้ 544,340 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ได้จัดทำสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว 120 บริษัท รวมมูลหนี้ 262,970 ล้านบาท อีก 91 บริษัท รวมมูลหนี้ 281,370 ล้านบาท นั้น เป็นลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีมติรับแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยธุรกิจการอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากที่สุดประมาณร้อยละ 58 รองลงมาคือ การสาธารณูปโภค การก่อสร้าง และการบริการ ตามลำดับ
(2) ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 357 บริษัท รวมมูลหนี้ 436,904 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 72 ของมูลหนี้ อยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผนร่วมกับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ที่เหลืออยู่ในขั้นตอนก่อนการจัดทำแผน คือ การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรืออยู่ระหว่างการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน
(3) ลูกหนี้ 932 บริษัท มูลหนี้รวม 705,377 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่เจ้าหนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการให้ลูกหนี้มาลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อผูกพันตนเข้ากระบวนการ โดยบางส่วนเป็นลูกหนี้ปกติที่ยังไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(4) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ส่วนหนึ่งจะไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากสภาพธุรกิจของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ หรืออีกส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ยอมเข้ากระบวนการและไม่ลงนามผูกพันตนในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ จึงทำให้เจ้าหนี้ต้องดำเนินการทางศาล ในกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ เจ้าหนี้ได้ดำเนินการทางศาลแล้ว 227 บริษัท มูลหนี้ 461,833 ล้านบาท โดยคดีที่อยู่ในศาลล้มละลายกลางที่เป็นคดีล้มละลาย 416 คดี และคดีฟื้นฟู 25 คดี นี้เป็นลูกหนี้เป้าหมายของ คปน. จำนวน 33 คดี และ 19 คดี ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นการฟ้องแพ่ง
2) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กจำนวน 3,872 ราย นั้น มีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
(1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วมีจำนวน 1,261 ราย เป็นมูลหนี้ 21,529 ล้านบาท โดยภาคธุรกิจที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากที่สุดจะอยู่ในภาคธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาคือการอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม และการบริการ ตามลำดับ
(2) ลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีมีจำนวน 1,102 ราย มูลหนี้รวม 76,456 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามในบันทึกข้อตกลง และเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการทางศาล หรือเป็นลูกหนี้ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงแต่ไม่สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้
3) เมื่อรวมลูกหนี้รายใหญ่และรายเล็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จะมีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น 1,472 ราย รวมมูลหนี้ทั้งสิ้น 565,869 ล้านบาท หรือเป็นมูลหนี้ในประเทศประมาณ 375,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วทั้งสิ้นของสถาบันการเงินทั้งระบบ
4) แนวโน้มของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ในปี 2543 คปน. ได้กำหนดแนวทางที่จะขยายลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมลูกหนี้มากที่สุดเท่าที่สถาบันการเงินจะดำเนินการได้ โดยมุ่งที่จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้รายใหญ่ไล่ลงมา และในขณะเดียวกันก็จะมีรายเล็กที่สถาบันการเงินคัดเลือกเองรวมอยู่ด้วย โดยลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกที่อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขณะนี้ คาดว่าจะมีข้อสรุปในการเจรจาภายในไตรมาสแรกของปี 2543 ส่วนลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่ คปน. ได้คัดเลือกเข้ามาใหม่ ซึ่งขณะนี้เจ้าหนี้กำลังดำเนินการให้ลูกหนี้ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการ ก็คาดว่าจะมีผลสรุปได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ตามกรอบเวลาของสัญญา นอกจากนั้น ในส่วนของลูกหนี้รายกลางและรายย่อย ซึ่ง คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินคัดเลือกลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการเพิ่มเติมทุกเดือน นั้น ก็จะทยอยมีผลสำเร็จตามกรอบเวลาของบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้มาตรการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้มีการขยายระยะเวลาจากสิ้นปี 2542 ออกไป 2 ปี สิ้นสุดปี 2544 จะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการเร่งเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็วมากขึ้น
2. ข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี่
2.1 ระบบสถาบันการเงินมียอด NPL ลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 2,074.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.54 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 258.4 พันล้านบาทจากเดือนก่อน และลดลงสุทธิ 600.6 พันล้านบาทจากสิ้นปีที่แล้ว
2.2 ในเดือนธันวาคมนี้ NPL ลดลงสุทธิ 258.4 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
1) NPL คงค้าง ณ พฤศจิกายน 2542 2,332.4
2) NPL ที่เพิ่มขึ้น
1. รายใหม่ 39.9
2. Re-entry 15.0 54.9
3) NPL ที่ลดลง
1. ปรับโครงสร้างหนี้ (149.7)
2. ไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (163.6) (313.3)
4) NPL ลดลงสุทธิ (258.4)
5) NPL คงค้าง ณ ธันวาคม 2542 2,074.0
2.3 การลดลงของ NPL กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนใหญ่เนื่องจาก
1) การตัดหนี้สูญ (ของหนี้จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้ว)รวม 66.5 พันล้านบาท
2) การโอน NPL ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ 41.2 พันล้านบาท
3) การโอนเป็นหนี้ค้างชำระไม่ถึง 3 เดือน จำนวนรวม 22.6 พันล้านบาท
2.4 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้าง 886.9 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 185.8 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
2.5 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 1,036.0 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 47.1 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
2.6 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 13.2 พันล้านบาท และบริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 12.3 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ เดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี้
1.1 ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
1) ในเดือนธันวาคม 2542 สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จจำนวน 1,072,095 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2542 จำนวน 162,132 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.82 โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 173,709 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 23,604 ราย
สำหรับยอดหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวน 1,120,513 ล้านบาท ลดลง 138,397 ล้านบาท จากเดือนพฤศจิกายน 2542 หรือลดลงร้อยละ 11 โดยมีลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 26,199 รายลดลงจากเดือนก่อน 1,813 ราย ดังนั้น เมื่อรวมหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จและหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,192,608 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ 199,908 ราย
2) ในปี 2542 ยอดหนี้และจำนวนรายลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถาบันการเงินทั้งระบบปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จเพิ่มขึ้นจาก 156,865 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2541 เป็น 1,072,095 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 หรือเพิ่มขึ้น915,230 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 173,709 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2541 จำนวน 164,694 ราย
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ นั้น เนื่องจากผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ทั้งทางด้านสถาบันการเงิน และลูกหนี้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำได้เอื้ออำนวยให้การเจรจาต่อรองเป็นไปได้ด้วยดี สถาบันที่เกี่ยวข้องรวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการชี้แจงและการสัมมนาเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องหลายครั้ง ธนาคารได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ เช่น หนังสือสิทธิประโยชน์จากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แผ่นพับเผยแพร่เกี่ยวกับกระบวนการของสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงการให้บริการคำตอบทางโทรศัพท์และโทรสารอัตโนมัติ และการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางระบบเว็บไซด์ของธนาคาร นอกจากนั้น การคัดเลือกลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ทั้งลูกหนี้รายใหญ่และรายเล็ก ให้เข้าสู่กระบวนการและกรอบเวลาได้เพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ ได้กระตุ้นให้สถาบันการเงินและลูกหนี้เร่งเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งทำให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีความสำเร็จเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในระยะหลัง ๆ นี้
3) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำแนกตามประเภทธุรกิจ
ในปี 2542 ภาคธุรกิจที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การค้าส่งและการค้าปลีก และการบริหารตามลำดับ
4) ยอดหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ จำแนกตามภูมิภาค
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนภูมิภาคมีความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยปลายปี 2541 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในส่วนภูมิภาคมีผลสำเร็จในสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 แต่ในช่วงกลางปี 2542 เป็นต้นมา สัดส่วนดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23 ณ สิ้นปี 2542
1.2 ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมาย
ในระยะปลายเดือนมกราคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งที่เป็นรายใหญ่ และรายเล็ก ซึ่งอยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 5,599 ราย มูลหนี้ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ 1,727 ราย คิดเป็นร้อยละ 92 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น และเป็นลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กจำนวน 3,872 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 ของมูลหนี้ทั้งสิ้น
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายใหญ่ตามสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ และสัญญาระหว่างเจ้าหนี้
(1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วมีจำนวน 211 บริษัท รวมมูลหนี้ 544,340 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ได้จัดทำสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้ว 120 บริษัท รวมมูลหนี้ 262,970 ล้านบาท อีก 91 บริษัท รวมมูลหนี้ 281,370 ล้านบาท นั้น เป็นลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีมติรับแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ขณะนี้กำลังจัดทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยธุรกิจการอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากที่สุดประมาณร้อยละ 58 รองลงมาคือ การสาธารณูปโภค การก่อสร้าง และการบริการ ตามลำดับ
(2) ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีจำนวน 357 บริษัท รวมมูลหนี้ 436,904 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 72 ของมูลหนี้ อยู่ในขั้นตอนการจัดทำแผนร่วมกับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน ที่เหลืออยู่ในขั้นตอนก่อนการจัดทำแผน คือ การเรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรืออยู่ระหว่างการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อเจ้าหนี้สถาบันการเงิน
(3) ลูกหนี้ 932 บริษัท มูลหนี้รวม 705,377 ล้านบาท เป็นลูกหนี้ที่เจ้าหนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการให้ลูกหนี้มาลงนามในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อผูกพันตนเข้ากระบวนการ โดยบางส่วนเป็นลูกหนี้ปกติที่ยังไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(4) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นั้น ส่วนหนึ่งจะไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากสภาพธุรกิจของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ หรืออีกส่วนหนึ่งเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ หรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่ยอมเข้ากระบวนการและไม่ลงนามผูกพันตนในสัญญาระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ จึงทำให้เจ้าหนี้ต้องดำเนินการทางศาล ในกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ เจ้าหนี้ได้ดำเนินการทางศาลแล้ว 227 บริษัท มูลหนี้ 461,833 ล้านบาท โดยคดีที่อยู่ในศาลล้มละลายกลางที่เป็นคดีล้มละลาย 416 คดี และคดีฟื้นฟู 25 คดี นี้เป็นลูกหนี้เป้าหมายของ คปน. จำนวน 33 คดี และ 19 คดี ตามลำดับ ส่วนที่เหลือเป็นการฟ้องแพ่ง
2) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กตามบันทึกข้อตกลงในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายรายเล็กจำนวน 3,872 ราย นั้น มีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
(1) ลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วมีจำนวน 1,261 ราย เป็นมูลหนี้ 21,529 ล้านบาท โดยภาคธุรกิจที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จมากที่สุดจะอยู่ในภาคธุรกิจการก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาคือการอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรม และการบริการ ตามลำดับ
(2) ลูกหนี้ที่ถูกดำเนินคดีมีจำนวน 1,102 ราย มูลหนี้รวม 76,456 ล้านบาท โดยเป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามในบันทึกข้อตกลง และเจ้าหนี้จะต้องดำเนินการทางศาล หรือเป็นลูกหนี้ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงแต่ไม่สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้
3) เมื่อรวมลูกหนี้รายใหญ่และรายเล็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จะมีลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น 1,472 ราย รวมมูลหนี้ทั้งสิ้น 565,869 ล้านบาท หรือเป็นมูลหนี้ในประเทศประมาณ 375,000 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้วทั้งสิ้นของสถาบันการเงินทั้งระบบ
4) แนวโน้มของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของ คปน. ในปี 2543 คปน. ได้กำหนดแนวทางที่จะขยายลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมลูกหนี้มากที่สุดเท่าที่สถาบันการเงินจะดำเนินการได้ โดยมุ่งที่จะปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้รายใหญ่ไล่ลงมา และในขณะเดียวกันก็จะมีรายเล็กที่สถาบันการเงินคัดเลือกเองรวมอยู่ด้วย โดยลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกที่อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขณะนี้ คาดว่าจะมีข้อสรุปในการเจรจาภายในไตรมาสแรกของปี 2543 ส่วนลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่ คปน. ได้คัดเลือกเข้ามาใหม่ ซึ่งขณะนี้เจ้าหนี้กำลังดำเนินการให้ลูกหนี้ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการ ก็คาดว่าจะมีผลสรุปได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ ตามกรอบเวลาของสัญญา นอกจากนั้น ในส่วนของลูกหนี้รายกลางและรายย่อย ซึ่ง คปน. ได้กำหนดให้สถาบันการเงินคัดเลือกลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการเพิ่มเติมทุกเดือน นั้น ก็จะทยอยมีผลสำเร็จตามกรอบเวลาของบันทึกข้อตกลง ทั้งนี้มาตรการสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้มีการขยายระยะเวลาจากสิ้นปี 2542 ออกไป 2 ปี สิ้นสุดปี 2544 จะเป็นสิ่งจูงใจให้มีการเร่งเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็วมากขึ้น
2. ข้อมูลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สรุปได้ดังนี่
2.1 ระบบสถาบันการเงินมียอด NPL ลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 2,074.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38.54 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 258.4 พันล้านบาทจากเดือนก่อน และลดลงสุทธิ 600.6 พันล้านบาทจากสิ้นปีที่แล้ว
2.2 ในเดือนธันวาคมนี้ NPL ลดลงสุทธิ 258.4 พันล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : พันล้านบาท
1) NPL คงค้าง ณ พฤศจิกายน 2542 2,332.4
2) NPL ที่เพิ่มขึ้น
1. รายใหม่ 39.9
2. Re-entry 15.0 54.9
3) NPL ที่ลดลง
1. ปรับโครงสร้างหนี้ (149.7)
2. ไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (163.6) (313.3)
4) NPL ลดลงสุทธิ (258.4)
5) NPL คงค้าง ณ ธันวาคม 2542 2,074.0
2.3 การลดลงของ NPL กรณีไม่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนใหญ่เนื่องจาก
1) การตัดหนี้สูญ (ของหนี้จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 และตัดออกจากบัญชีแล้ว)รวม 66.5 พันล้านบาท
2) การโอน NPL ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ 41.2 พันล้านบาท
3) การโอนเป็นหนี้ค้างชำระไม่ถึง 3 เดือน จำนวนรวม 22.6 พันล้านบาท
2.4 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้าง 886.9 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 185.8 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
2.5 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 1,036.0 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ 47.1 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
2.6 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 13.2 พันล้านบาท และบริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 12.3 พันล้านบาทจากเดือนก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--