แท็ก
คณะรัฐมนตรี
เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (วงเงิน 50,000 ล้านบาท)
สำหรับโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
จำนวนเงิน 15,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2549
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (วงเงิน 50,000 ล้านบาท) สำหรับโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการจำนวนเงิน 15,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอดังนี้
1. กลไกการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ให้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำพื้นที่เขตตรวจราชการ" ตามภารกิจการตรวจราชการของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน รวมทั้งหมด 6 คณะ
1.2 องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละชุด ประกอบด้วย ผู้แทนของรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน ผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในเขตตรวจราชการ เป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการประจำกระทรวงมหาดไทยในเขตตรวจราชการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) โดยมีผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นเลขานุการ และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
1.3 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและบูรณาการแผนงานโครงการและงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ตรวจราชการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นตามข้อ 2 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
2. หลักเกณฑ์การพิจารณา ให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา กลั่นกรองและบูรณาการงบประมาณของกลุ่มจังหวัดในเขตตรวจราชการ ดังนี้
2.1 หลักเกณฑ์การจัดสรรวงเงินแต่ละจังหวัด
(1) สำหรับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดสรรกรอบวงเงินตามที่สำนักงบประมาณกำหนด คือ เพื่อให้แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับความจำเป็น ให้แบ่งการจัดสรรออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่ 1 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรให้เท่ากันทุกจังหวัด ส่วนที่ 2 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามฐานประชากรของแต่ละจังหวัด และส่วนที่ 3 ร้อยละ 20 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อหัวของประชากรในแต่ละจังหวัด
(2) สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทำงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 โดยแบ่งการจัดสรรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรให้เท่ากันทุกจังหวัด ส่วนที่ 2 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามฐานประชากรของแต่ละจังหวัด ส่วนที่ 3 ร้อยละ 15 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อหัวของประชากรในแต่ละจังหวัด และส่วนที่ 4 ร้อยละ 5 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามผลการจัดเก็บภาษีสรรพากรของแต่ละจังหวัด
2.2 หลักเกณฑ์ในการบูรณาการกลุ่มจังหวัด
(1) กำหนดสัดส่วนของงบประมาณที่แต่ละจังหวัดได้รับให้กับภารกิจของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (Cluster) เท่ากับ 70 : 30 (ยกเว้น โครงการที่เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ)
(2) เป็นภารกิจที่มีขอบเขตการดำเนินงานข้ามจังหวัด (เช่น โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว) โดยพิจารณาให้เกิดความเชื่อมโยง สนับสนุนซึ่งกันและกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
2.3 หลักเกณฑ์กำหนดงบประมาณจังหวัด โดยที่การจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดไว้ 3 รูปแบบที่มีความแตกต่างกันคือ หนึ่ง งบประมาณที่จัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชนตามขนาดประชากร (SML) เป็นการจัดสรรให้เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระดับหมู่บ้านและชุมชนที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในการจัดทำโครงการ สอง งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและแก้ไขปัญหาในระดับตำบล และสาม งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นการจัดสรรให้เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเชื่อมโยงระหว่างตำบล เช่น การขุดลอกหนองบึง การจัดหาแหล่งน้ำ การก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างตำบล การให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชน เป็นต้น ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการจึงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) แก้ปัญหาความยากจน โดยการใช้จ่ายลงทุนในโครงการที่สามารถสร้างรายได้ได้เร็ว การหาตลาดสินค้า การฝึกฝนอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
(2) จัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็ก หนองบึง เฉพาะพื้นที่ในจังหวัดที่เป็นจุดวิกฤต และประสบภัยแล้ง โดยพิจารณาไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่จัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชนตามขนาดประชากร (SML)
(3) จัดหาโครงการสร้างพื้นฐานขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัด เช่น ถนนเชื่อมหมู่บ้านและชุมชน
(4) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัด และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ
(5) พัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพคนในจังหวัด
(6) สร้างขีดความสามารถของจังหวัดในการพัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป้าหมายเศรษฐกิจโดยรวม
2.4 ลักษณะโครงการที่จะขอรับการสนับสนุน
(1) เป็นโครงการที่มีความพร้อมสูง สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ
(2) เป็นโครงการที่ไม่ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีในลักษณะของผูกพันสัญญาข้ามปี
(3) เป็นโครงการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(4) เป็นโครงการที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ได้ชัดเจน
(5) เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อประโยชน์สุขของประชาชนในพื้นที่โดยตรง แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับแต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินการจากส่วนราชการ
(6) เป็นโครงการต่อเนื่องหรือเสริมต่อจากโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วให้มีความสมบูรณ์หรือเกิดประโยชน์มากขึ้น
2.5 การขอกันเงินงบประมาณเหลื่อมจ่ายข้ามปี ควรให้ดำเนินการได้เฉพาะในส่วนของงบประมาณที่กันไว้สำหรับกลุ่มจังหวัด (หรือร้อยละ 30 ของงบประมาณจังหวัด) เนื่องจากเป็นโครงการที่มีลักษณะการดำเนินการร่วมกันข้ามจังหวัด โดยกลุ่มจังหวัดจัดให้มีระบบการกำกับดูแลการบริหารงบประมาณในส่วนนี้ร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
สำหรับโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
จำนวนเงิน 15,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบประมาณ พ.ศ.2549
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (วงเงิน 50,000 ล้านบาท) สำหรับโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการจำนวนเงิน 15,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอดังนี้
1. กลไกการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ให้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการกลั่นกรองงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำพื้นที่เขตตรวจราชการ" ตามภารกิจการตรวจราชการของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน รวมทั้งหมด 6 คณะ
1.2 องค์ประกอบของคณะกรรมการแต่ละชุด ประกอบด้วย ผู้แทนของรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน ผู้ตรวจราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในเขตตรวจราชการ เป็นรองประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการประจำกระทรวงมหาดไทยในเขตตรวจราชการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) โดยมีผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นเลขานุการ และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
1.3 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและบูรณาการแผนงานโครงการและงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในพื้นที่ตรวจราชการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นตามข้อ 2 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
2. หลักเกณฑ์การพิจารณา ให้มีการกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณา กลั่นกรองและบูรณาการงบประมาณของกลุ่มจังหวัดในเขตตรวจราชการ ดังนี้
2.1 หลักเกณฑ์การจัดสรรวงเงินแต่ละจังหวัด
(1) สำหรับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดสรรกรอบวงเงินตามที่สำนักงบประมาณกำหนด คือ เพื่อให้แต่ละจังหวัดได้รับการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับความจำเป็น ให้แบ่งการจัดสรรออกเป็น 3 ส่วน คือส่วนที่ 1 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรให้เท่ากันทุกจังหวัด ส่วนที่ 2 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามฐานประชากรของแต่ละจังหวัด และส่วนที่ 3 ร้อยละ 20 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อหัวของประชากรในแต่ละจังหวัด
(2) สำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ให้เป็นไปตามแนวทางการจัดทำงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 โดยแบ่งการจัดสรรออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรให้เท่ากันทุกจังหวัด ส่วนที่ 2 ร้อยละ 40 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามฐานประชากรของแต่ละจังหวัด ส่วนที่ 3 ร้อยละ 15 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อหัวของประชากรในแต่ละจังหวัด และส่วนที่ 4 ร้อยละ 5 ของวงเงินทั้งสิ้น จัดสรรตามผลการจัดเก็บภาษีสรรพากรของแต่ละจังหวัด
2.2 หลักเกณฑ์ในการบูรณาการกลุ่มจังหวัด
(1) กำหนดสัดส่วนของงบประมาณที่แต่ละจังหวัดได้รับให้กับภารกิจของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (Cluster) เท่ากับ 70 : 30 (ยกเว้น โครงการที่เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ)
(2) เป็นภารกิจที่มีขอบเขตการดำเนินงานข้ามจังหวัด (เช่น โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว) โดยพิจารณาให้เกิดความเชื่อมโยง สนับสนุนซึ่งกันและกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
2.3 หลักเกณฑ์กำหนดงบประมาณจังหวัด โดยที่การจัดสรรงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดไว้ 3 รูปแบบที่มีความแตกต่างกันคือ หนึ่ง งบประมาณที่จัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชนตามขนาดประชากร (SML) เป็นการจัดสรรให้เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในระดับหมู่บ้านและชุมชนที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในการจัดทำโครงการ สอง งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นงบประมาณที่จัดสรรให้เพื่อพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและแก้ไขปัญหาในระดับตำบล และสาม งบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นการจัดสรรให้เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด และโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีความเชื่อมโยงระหว่างตำบล เช่น การขุดลอกหนองบึง การจัดหาแหล่งน้ำ การก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างตำบล การให้ความรู้แก่เกษตรกรและประชาชน เป็นต้น ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการจึงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) แก้ปัญหาความยากจน โดยการใช้จ่ายลงทุนในโครงการที่สามารถสร้างรายได้ได้เร็ว การหาตลาดสินค้า การฝึกฝนอาชีพ การส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน
(2) จัดหาแหล่งน้ำขนาดเล็ก หนองบึง เฉพาะพื้นที่ในจังหวัดที่เป็นจุดวิกฤต และประสบภัยแล้ง โดยพิจารณาไม่ให้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่จัดสรรให้กับหมู่บ้านและชุมชนตามขนาดประชากร (SML)
(3) จัดหาโครงการสร้างพื้นฐานขนาดเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของจังหวัด เช่น ถนนเชื่อมหมู่บ้านและชุมชน
(4) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของจังหวัด และเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ
(5) พัฒนาการศึกษาและยกระดับคุณภาพคนในจังหวัด
(6) สร้างขีดความสามารถของจังหวัดในการพัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป้าหมายเศรษฐกิจโดยรวม
2.4 ลักษณะโครงการที่จะขอรับการสนับสนุน
(1) เป็นโครงการที่มีความพร้อมสูง สามารถดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ
(2) เป็นโครงการที่ไม่ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีในลักษณะของผูกพันสัญญาข้ามปี
(3) เป็นโครงการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(4) เป็นโครงการที่สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ได้ชัดเจน
(5) เป็นโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อประโยชน์สุขของประชาชนในพื้นที่โดยตรง แต่ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับแต่ยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินการจากส่วนราชการ
(6) เป็นโครงการต่อเนื่องหรือเสริมต่อจากโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วให้มีความสมบูรณ์หรือเกิดประโยชน์มากขึ้น
2.5 การขอกันเงินงบประมาณเหลื่อมจ่ายข้ามปี ควรให้ดำเนินการได้เฉพาะในส่วนของงบประมาณที่กันไว้สำหรับกลุ่มจังหวัด (หรือร้อยละ 30 ของงบประมาณจังหวัด) เนื่องจากเป็นโครงการที่มีลักษณะการดำเนินการร่วมกันข้ามจังหวัด โดยกลุ่มจังหวัดจัดให้มีระบบการกำกับดูแลการบริหารงบประมาณในส่วนนี้ร่วมกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--