ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ได้กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนการฟื้นฟูกิจการ ประกอบด้วย อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นรวม 10 คน และผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรมบังคับคดี เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียน ออกใบอนุญาต สั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน
2. คุณสมบัติของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ และผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
3. ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะต้องวางหลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายอันอาจเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
3.1 หลักประกันทั่วไป เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
3.2 หลักประกันเฉพาะคดี ตามจำนวนที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวง (200,000 - 10,000,000 บาท)
4. คณะกรรมการต้องพิจารณาการขออนุญาตจดทะเบียนผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เอกสารหลักฐานครบถ้วน และอาจขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน หากไม่มีคำสั่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าคณะกรรมการเห็นชอบ และถ้าคณะกรรมการมีคำสั่งไม่ให้ความเห็นชอบ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณา
5. ใบอนุญาตเป็นผู้ทำแผนให้มีอายุ 2 ปี และใบอนุญาตเป็นผู้บริหารแผนให้มีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
6. กฎกระทรวงนี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อนวันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ และคดีที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการภายใน 90 วัน นับแต่วันดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
15. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ได้กำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้มีคณะกรรมการพิจารณาผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนการฟื้นฟูกิจการ ประกอบด้วย อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานกรรมการ กรรมการอื่นรวม 10 คน และผู้อำนวยการสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรมบังคับคดี เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการรับจดทะเบียน ออกใบอนุญาต สั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตให้เป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน
2. คุณสมบัติของผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ และผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ
3. ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะต้องวางหลักประกันเพื่อชดเชยความเสียหายอันอาจเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
3.1 หลักประกันทั่วไป เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
3.2 หลักประกันเฉพาะคดี ตามจำนวนที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวง (200,000 - 10,000,000 บาท)
4. คณะกรรมการต้องพิจารณาการขออนุญาตจดทะเบียนผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เอกสารหลักฐานครบถ้วน และอาจขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 30 วัน หากไม่มีคำสั่งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าคณะกรรมการเห็นชอบ และถ้าคณะกรรมการมีคำสั่งไม่ให้ความเห็นชอบ ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบผลการพิจารณา
5. ใบอนุญาตเป็นผู้ทำแผนให้มีอายุ 2 ปี และใบอนุญาตเป็นผู้บริหารแผนให้มีอายุ 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต
6. กฎกระทรวงนี้ไม่ใช้บังคับแก่คดีที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการก่อนวันที่กฎกระทรวงใช้บังคับ และคดีที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการภายใน 90 วัน นับแต่วันดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-