ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
16. เรื่อง การกู้เงินระยะยาวสำหรับใช้ในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2543
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ในการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้เงินระยะยาวสำหรับใช้ในการดำเนินงานของ รฟท. ในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 3,380 ล้านบาท โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ค้ำประกัน และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ในการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ทั้งนี้ เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่4 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
1. การดำเนินการของ รฟท. ในปีงบประมาณ 2543 และปีงบประมาณ 2544 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใช้หลักเกณฑ์เดิมที่มีอยู่ คือ รัฐบาลจ่ายชดเชยผลขาดทุนประจำปีให้ รฟท. โดยให้ รฟท. กู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานตามจำนวนเงินสดขาดมือโดยดำเนินการตามขั้นตอนปกติของการกู้เงินต่อไป ทั้งนี้ รฟท. รับภาระเงินกู้ดังกล่าวเอง (เนื่องจากภาพรวมการปรับโครงสร้างของ รฟท. ในขณะนี้ (ปี 2543) โดยเฉพาะประเด็นตัวเลขการแบ่งโครงสร้างยังไม่ชัดเจนเพียงพอ อีกทั้งได้ล่วงเลยปีงบประมาณ 2543 แล้ว โดยไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ รฟท. จึงไม่สามารถดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ได้)
2. สำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณ 2545 ให้ดำเนินการ ดังนี้
- ให้ รฟท. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 และเสนอแผนที่ชัดเจนใน 5 ปีล่วงหน้า เพื่อให้เห็นภาระของรัฐที่ต้องรับผิดชอบในระยะ 5 ปี และแยกภาระค่าใช้จ่ายตามโครงสร้างใหม่เป็นภาระด้านการลงทุน และค่าใช้จ่ายบุคลากร
- สำหรับแหล่งเงินให้นำเสนอเพิ่มเติมแหล่งเงินอื่น (เงินนอกงบประมาณ) กรณีสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้ได้
ทั้งนี้ ให้ รฟท. และกระทรวงการคลังเสนอแผน 5 ปี และปีต่อ ๆ ไป โดย รฟท. และกระทรวงคมนาคมจะต้องยืนยันว่าจะปรับปรุงการดำเนินการด้านใดบ้างเพื่อแลกกับการที่รัฐจะต้องรับภาระด้านโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งให้กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญ และพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมได้รับให้ รฟท. เพิ่มขึ้นตามนโยบายที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศว่าจะเน้นในเรื่องการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
- สำหรับการศึกษาในระยะที่ 2 ควรเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในเวลา 6 เดือน โดยให้มีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องการทราบ เพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาเรื่องที่เร่งด่วนก่อน พร้อมกับนำเสนอต่อสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นในการให้ รฟท. สามารถปรับปรุงโครงสร้างได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-
16. เรื่อง การกู้เงินระยะยาวสำหรับใช้ในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2543
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ในการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กู้เงินระยะยาวสำหรับใช้ในการดำเนินงานของ รฟท. ในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 3,380 ล้านบาท โดยมีกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ค้ำประกัน และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ในการกู้เงิน ตลอดจนการค้ำประกันได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
ทั้งนี้ เป็นไปตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่4 พฤษภาคม 2543 ดังนี้
1. การดำเนินการของ รฟท. ในปีงบประมาณ 2543 และปีงบประมาณ 2544 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ใช้หลักเกณฑ์เดิมที่มีอยู่ คือ รัฐบาลจ่ายชดเชยผลขาดทุนประจำปีให้ รฟท. โดยให้ รฟท. กู้เงินเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานตามจำนวนเงินสดขาดมือโดยดำเนินการตามขั้นตอนปกติของการกู้เงินต่อไป ทั้งนี้ รฟท. รับภาระเงินกู้ดังกล่าวเอง (เนื่องจากภาพรวมการปรับโครงสร้างของ รฟท. ในขณะนี้ (ปี 2543) โดยเฉพาะประเด็นตัวเลขการแบ่งโครงสร้างยังไม่ชัดเจนเพียงพอ อีกทั้งได้ล่วงเลยปีงบประมาณ 2543 แล้ว โดยไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ รฟท. จึงไม่สามารถดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 ได้)
2. สำหรับการดำเนินการในปีงบประมาณ 2545 ให้ดำเนินการ ดังนี้
- ให้ รฟท. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541 และเสนอแผนที่ชัดเจนใน 5 ปีล่วงหน้า เพื่อให้เห็นภาระของรัฐที่ต้องรับผิดชอบในระยะ 5 ปี และแยกภาระค่าใช้จ่ายตามโครงสร้างใหม่เป็นภาระด้านการลงทุน และค่าใช้จ่ายบุคลากร
- สำหรับแหล่งเงินให้นำเสนอเพิ่มเติมแหล่งเงินอื่น (เงินนอกงบประมาณ) กรณีสำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณให้ได้
ทั้งนี้ ให้ รฟท. และกระทรวงการคลังเสนอแผน 5 ปี และปีต่อ ๆ ไป โดย รฟท. และกระทรวงคมนาคมจะต้องยืนยันว่าจะปรับปรุงการดำเนินการด้านใดบ้างเพื่อแลกกับการที่รัฐจะต้องรับภาระด้านโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งให้กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญ และพิจารณาจัดสรรงบประมาณที่กระทรวงคมนาคมได้รับให้ รฟท. เพิ่มขึ้นตามนโยบายที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศว่าจะเน้นในเรื่องการขนส่งสาธารณะมากขึ้น
- สำหรับการศึกษาในระยะที่ 2 ควรเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายในเวลา 6 เดือน โดยให้มีการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องการทราบ เพื่อให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษาเรื่องที่เร่งด่วนก่อน พร้อมกับนำเสนอต่อสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นในการให้ รฟท. สามารถปรับปรุงโครงสร้างได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-