1. เห็นชอบในหลักการของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการเร่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ พร้อมทั้งให้แต่ละโครงการดำเนินการขออนุมัติงบประมาณในแต่ละโครงการโดยตรง และดำเนินการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องตามแผนยุทธศาสตร์ด้วย
2. เห็นชอบการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธาน เพื่อผลักดันการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแผนยุทธศาสตร์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามวัตถุประสงค์ กรอบเวลา และตัวชี้วัดที่กำหนด รวมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ (Working Committee) เป็นคณะทำงานย่อยที่รับผิดชอบแต่ละโครงการในแผนยุทธศาสตร์
3. ให้กำหนดแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ในระยะต่อไป สาระสำคัญของกรอบแผนยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยแผนงานสำคัญ 5 โครงการ ดังนี้
1. ระบบการชำระเงินแบบ Any ID (นานานาม)
2. การขยายการใช้บัตร
3. ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
4. e-Payment ภาครัฐ 5. การให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
แผนยุทธศาสตร์ฯ จะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ดังนี้
1. ลดต้นทุนของประเทศ (Cost Savings) การใช้ e-Payment จะช่วยให้ประหยัดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจในภาพรวม
2. เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ GDP
3. ลดปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ (Shadow Economy)
4. เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion)
5. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ - หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- ประสานสมาคมธนาคารไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกลางรองรับการชำระเงินแบบ Any ID และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งออกบัตรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนรับเงินสวัสดิการของภาครัฐ และกระจายจุดรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างทั่วถึง
- ออกแนวนโยบาย และ / หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนโครงการระบบการชำระเงินแบบ Any ID และโครงการขยายการใช้บัตร โดยรวมถึงการร่วมมือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ธปท.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- ร่วมกำหนดรูปแบบข้อความการชำระเงินในส่วนมาตรฐานหมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และร่วมกำหนดมาตรฐานให้เครื่องรับบัตรสามารถรองรับบัตรตั๋วร่วมได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
คค.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
เชื่อมโยงฐานข้อมูลบัตรประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ และที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบ Any ID พร้อมปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มท.ทก.คค. สำนักงาน ก.พ.ร. กสทช.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- หาแนวทางการกำหนดให้ผู้จดทะเบียนนิติบุคคลที่มีการรับเงินสดต้องมีเครื่องรับบัตรเพื่อให้ประชาชนสามารถชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พณ.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- จัดทำแผนงานสำหรับการเปลี่ยนบัตรประชาชนให้รองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงรองรับการชำระเงินในรูปแบบบัตรสมาร์ทการ์ดแบบไร้สัมผัส (Off Line Contactless Smart Card) ภายใต้มาตรฐานของ คค. ได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มท.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- บูรณาการฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาครัฐ
- พัฒนาระบบย่อยเพื่อรองรับระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศในโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มท. สำนักงาน กพร. สรอ. สพธอ.
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
- ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อผลักดันการรับจ่ายเงินระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับภาคเอกชนให้เป็นการรับจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กค. (กรมบัญชีกลาง)
แนวทางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์
จัดทำระบบตามโครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงนำเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ตัวกลางทางการเงินรายงานข้อมูลที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กค. (กรมสรรพาพร)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2558--