สรุปผลการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขตามผลการระดมความคิด วันที่ 10-11 มีนาคม 2544 จังหวัดเชียงราย
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งเป็นผลจากการจัดประชุมระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด ของสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงาน ป.ป.ส. เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ณ จังหวัดเชียงราย ที่มีมติมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมตัวยา การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติดจนถึงเดือนมีนาคม 2544 และจัดทำแผนเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังนี้
การควบคุมตัวยา
ให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันควบคุมสารตั้งต้นรวมทั้งตัวยาที่ใช้ทดแทนเป็นยาเสพติด โดยศึกษาว่ามียาชนิดใดบ้างที่เป็นยาเสพติด และจะควบคุมอย่างไร มีชนิดใดบ้างที่จะกำหนดไม่ให้มีการขายในร้านขายยาทั่วไป โดยให้ขายได้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) เข้มงวดในการควบคุม กำกับ ติดตามการใช้สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์จำเป็นที่ใช้ในการลักลอบผลิตวัตถุเสพติด ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อปัองกันมิให้รั่วไหลไปนอกระบบการควบคุม
2) ประกาศสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์เป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 4 รวม 30 รายการ
3) ศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ ของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่สามารถนำไปลักลอบผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
4) กำกับดูแลวัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์โดยกำหนดรายการยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 3 และวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2,3 และ 4 ที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวดในร้านขายยา
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
1) ให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลร้านขายยา2) จัดประชุมนายกสมาคม ประธานชมรม กรรมการ/ชมรมผู้ประกอบการ เพื่อรับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้สำนักงาน อ.ย. เผยแพร่ข้อมูลการทำลายยาเสพติดของกลางเพื่อให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) ลงข้อมูลยาเสพติดให้โทษของกลางที่ตรวจรับและคงคลังแต่ละเดือนใน Internet (www.fda.moph.go.th/)และปรับข้อมูลให้ทันสมัย ให้สาธารณชนทราบ
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
1) ติดตามผลคดียาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
2) เผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางในวันที่ 30 เมษายน 2544 รวม 2,266.54 กิโลกรัม และในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน 2544) อีกด้วย
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางการจัดกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทุกระบบให้เชื่อมโยงประสานสอดคล้องกัน โดยให้มีการจำแนกผู้ติดยาในแต่ละกลุ่ม แต่ละตัวยา และกำหนดแนวทางการดำเนินการและวิธีการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มผู้เสพให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) การพัฒนาศักยภาพบริการการบำบัดของกระทรวงสาธารณสุข
1.1) ศูนย์ 24 แห่งฝึกอบรมจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกแก่บุคลากรของจังหวัด (เมษายน 2544 เปิด 5 ศูนย์ ตุลาคม 2544 เปิด 19 ศูนย์)
1.2) บริการจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกโดยศูนย์ 24 แห่งตั้งแต่เมษายน 2544 และสถานบริการ 24 จังหวัดที่ผ่านการอบรม ตั้งแต่ตุลาคม 2544
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
2) พัฒนาศักยภาพการบำบัดผู้ติดยาเสพติดของหน่วยงานอื่น
2.1) จัดฝึกอบรมแก่หน่วยงานกลาโหม ตำรวจ กทม. และท้องถิ่น 10 รุ่น ๆ ละ 40 คน (หลักสูตร 30 วัน)
2.2) เปิดค่ายบำบัดตั้งแต่ตุลาคม 2544 จำนวน 6,000 คน/ปี และจิตบำบัดแบบผู้ป่วยนอก 4,000 คน/ปี
3) พัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา/ครูแนะแนวระดับมัธยม เพื่อเผ้าระวัง/ป้องกัน/คัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน จัดเตรียมวิทยากร/ชุดประกอบการสอน/เอกสาร/ชุดตรวจปัสสาวะ สนับสนุนและอบรมโรงเรียนทุกแห่ง/ครูทุกคนภายในกันยายน 2544
4) พัฒนาระบบการสร้าง "b ทักษะชีวิต"ั ในเด็กนักเรียนประถมปลายและมัธยมต้นทุกคน จัดเตรียมวิทยากร/ชุดประกอบการสอน/เอกสารสนับสนุนโรงเรียนทุกแห่ง ให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ตุลาคม 2544 และครบทุกโรงเรียนในกันยายน 2547
5) ร่วมพัฒนา "่ชุมชนเข้มแข็ง" เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนรณรงค์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและชุมชนตั้งแต่เมษายน 2544
6) รณรงค์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และจูงใจให้เข้ารับการบำบัด โดยใช้สื่อสารมวลชน รณรงค์เดือนกันยายน 2544 ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด แล้วรณรงค์ในเดือนตุลาคม 2544 ให้ประชาชนเข้ารับการบำบัด
7) การวิจัย
7.1) วิจัยพัฒนาระบบข้อมูลทางระบาดวิทยาภายในเดือนมีนาคม 2545
7.2) วิจัยพัฒนาระบบการบำบัดรักษาที่ได้ผลและคุ้มค่า ภายในเดือนกันยายน 2545
8) เสนอแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดในเดือนมีนาคม 2545 เพื่อปรับให้กระบวนการยุติธรรมสั้นลงและศาลสามารถบังคับบำบัดได้
9) สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
9.1) ตรวจวิเคราะห์ผู้สงสัยเสพยาเสพติด 100,000 ราย/ปี
9.2) พัฒนาศักยภาพสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของ ป.ป.ส. กองกำกับการวิทยาการเขต 12 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ตรวจได้ถึงขั้นยืนยันผลและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงรายเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในภาคเหนือ
ให้ทุกหน่วยงาน (บก.สส. ทบ. ทร. ทอ. ตร. ปค.ฯลฯ) จัดเตรียมสถานที่ดำเนินการรวมทั้งประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการบำบัดฟื้นฟูค่าใช้จ่ายในการเตรียมการและค่าใช้จ่ายต่อหัว
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) ขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมระหว่างปี ปีงบประมาณ พ.ศ.2544 จำนวน 55.88 ล้านบาท
2) ขอตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2545
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ประสานกับหน่วยงานจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2545
การบริหารจัดการ (กิจกรรมของกระทรวงสาธารณสุข) จัดตั้งองค์กรปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง เป็นเลขานุการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(พล.อ.บวร งามเกษม)เป็นประธานผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขเป็นเลขานุการ
3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พล.อ.บวร งามเกษม) เป็นผู้อำนวยการศูนย์
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะกรรมการและศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข อำนวยการสนับสนุนประสานงาน ให้แผนเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขบรรลุผล
* กิจกรรม เป็นผลการประชุมระดมความคิดฯ เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งเป็นผลจากการจัดประชุมระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะยาเสพติด ของสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงาน ป.ป.ส. เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ณ จังหวัดเชียงราย ที่มีมติมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมตัวยา การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพผู้ติดยาเสพติดจนถึงเดือนมีนาคม 2544 และจัดทำแผนเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ดังนี้
การควบคุมตัวยา
ให้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันควบคุมสารตั้งต้นรวมทั้งตัวยาที่ใช้ทดแทนเป็นยาเสพติด โดยศึกษาว่ามียาชนิดใดบ้างที่เป็นยาเสพติด และจะควบคุมอย่างไร มีชนิดใดบ้างที่จะกำหนดไม่ให้มีการขายในร้านขายยาทั่วไป โดยให้ขายได้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) เข้มงวดในการควบคุม กำกับ ติดตามการใช้สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์จำเป็นที่ใช้ในการลักลอบผลิตวัตถุเสพติด ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อปัองกันมิให้รั่วไหลไปนอกระบบการควบคุม
2) ประกาศสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์เป็นยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 4 รวม 30 รายการ
3) ศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ ของสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ที่สามารถนำไปลักลอบผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
4) กำกับดูแลวัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์โดยกำหนดรายการยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 3 และวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2,3 และ 4 ที่จะต้องควบคุมอย่างเข้มงวดในร้านขายยา
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
1) ให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลร้านขายยา2) จัดประชุมนายกสมาคม ประธานชมรม กรรมการ/ชมรมผู้ประกอบการ เพื่อรับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้สำนักงาน อ.ย. เผยแพร่ข้อมูลการทำลายยาเสพติดของกลางเพื่อให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) ลงข้อมูลยาเสพติดให้โทษของกลางที่ตรวจรับและคงคลังแต่ละเดือนใน Internet (www.fda.moph.go.th/)และปรับข้อมูลให้ทันสมัย ให้สาธารณชนทราบ
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
1) ติดตามผลคดียาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
2) เผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางในวันที่ 30 เมษายน 2544 รวม 2,266.54 กิโลกรัม และในวันต่อต้านยาเสพติดโลก (26 มิถุนายน 2544) อีกด้วย
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางการจัดกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทุกระบบให้เชื่อมโยงประสานสอดคล้องกัน โดยให้มีการจำแนกผู้ติดยาในแต่ละกลุ่ม แต่ละตัวยา และกำหนดแนวทางการดำเนินการและวิธีการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มผู้เสพให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูแก่หน่วยงานต่าง ๆ
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) การพัฒนาศักยภาพบริการการบำบัดของกระทรวงสาธารณสุข
1.1) ศูนย์ 24 แห่งฝึกอบรมจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกแก่บุคลากรของจังหวัด (เมษายน 2544 เปิด 5 ศูนย์ ตุลาคม 2544 เปิด 19 ศูนย์)
1.2) บริการจิตสังคมบำบัดแบบผู้ป่วยนอกโดยศูนย์ 24 แห่งตั้งแต่เมษายน 2544 และสถานบริการ 24 จังหวัดที่ผ่านการอบรม ตั้งแต่ตุลาคม 2544
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
2) พัฒนาศักยภาพการบำบัดผู้ติดยาเสพติดของหน่วยงานอื่น
2.1) จัดฝึกอบรมแก่หน่วยงานกลาโหม ตำรวจ กทม. และท้องถิ่น 10 รุ่น ๆ ละ 40 คน (หลักสูตร 30 วัน)
2.2) เปิดค่ายบำบัดตั้งแต่ตุลาคม 2544 จำนวน 6,000 คน/ปี และจิตบำบัดแบบผู้ป่วยนอก 4,000 คน/ปี
3) พัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา/ครูแนะแนวระดับมัธยม เพื่อเผ้าระวัง/ป้องกัน/คัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน จัดเตรียมวิทยากร/ชุดประกอบการสอน/เอกสาร/ชุดตรวจปัสสาวะ สนับสนุนและอบรมโรงเรียนทุกแห่ง/ครูทุกคนภายในกันยายน 2544
4) พัฒนาระบบการสร้าง "b ทักษะชีวิต"ั ในเด็กนักเรียนประถมปลายและมัธยมต้นทุกคน จัดเตรียมวิทยากร/ชุดประกอบการสอน/เอกสารสนับสนุนโรงเรียนทุกแห่ง ให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ตุลาคม 2544 และครบทุกโรงเรียนในกันยายน 2547
5) ร่วมพัฒนา "่ชุมชนเข้มแข็ง" เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชนรณรงค์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและชุมชนตั้งแต่เมษายน 2544
6) รณรงค์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และจูงใจให้เข้ารับการบำบัด โดยใช้สื่อสารมวลชน รณรงค์เดือนกันยายน 2544 ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด แล้วรณรงค์ในเดือนตุลาคม 2544 ให้ประชาชนเข้ารับการบำบัด
7) การวิจัย
7.1) วิจัยพัฒนาระบบข้อมูลทางระบาดวิทยาภายในเดือนมีนาคม 2545
7.2) วิจัยพัฒนาระบบการบำบัดรักษาที่ได้ผลและคุ้มค่า ภายในเดือนกันยายน 2545
8) เสนอแก้ไข พ.ร.บ. ยาเสพติดในเดือนมีนาคม 2545 เพื่อปรับให้กระบวนการยุติธรรมสั้นลงและศาลสามารถบังคับบำบัดได้
9) สนับสนุนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
9.1) ตรวจวิเคราะห์ผู้สงสัยเสพยาเสพติด 100,000 ราย/ปี
9.2) พัฒนาศักยภาพสถานตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของ ป.ป.ส. กองกำกับการวิทยาการเขต 12 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ตรวจได้ถึงขั้นยืนยันผลและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงรายเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงในภาคเหนือ
ให้ทุกหน่วยงาน (บก.สส. ทบ. ทร. ทอ. ตร. ปค.ฯลฯ) จัดเตรียมสถานที่ดำเนินการรวมทั้งประมาณค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการบำบัดฟื้นฟูค่าใช้จ่ายในการเตรียมการและค่าใช้จ่ายต่อหัว
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) ขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมระหว่างปี ปีงบประมาณ พ.ศ.2544 จำนวน 55.88 ล้านบาท
2) ขอตั้งงบประมาณ พ.ศ. 2545
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ประสานกับหน่วยงานจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2545
การบริหารจัดการ (กิจกรรมของกระทรวงสาธารณสุข) จัดตั้งองค์กรปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข
ผลงานถึงเดือนมีนาคม 2544
1) แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง เป็นเลขานุการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(พล.อ.บวร งามเกษม)เป็นประธานผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขเป็นเลขานุการ
3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พล.อ.บวร งามเกษม) เป็นผู้อำนวยการศูนย์
แผนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
คณะกรรมการและศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข อำนวยการสนับสนุนประสานงาน ให้แผนเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุขบรรลุผล
* กิจกรรม เป็นผลการประชุมระดมความคิดฯ เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-