คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาทบทวนข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างการบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และร่างพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ และจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเพื่อบริหารรัฐวิสาหกิจ และสามารถตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้โดยโอนหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ได้แปลงเป็นบริษัท และหลักทรัพย์ในส่วนที่รัฐเป็นผู้ถือให้แก่บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเป็นผู้บริหารจัดการ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจมีความอิสระและคล่องตัว โดยมีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่เป็นมืออาชีพ และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยการกระจายหุ้นบางส่วนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะแบ่งรัฐวิสาหกิจตามภาระหน้าที่ โดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ และโอนหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่มีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจไปอยู่ภายใต้การบริหารของบรรษัทฯ สำหรับรัฐวิสาหกิจเชิงสังคมยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเจ้าสังกัดตามโครงสร้างการกำกับดูแลปัจจุบัน
1.2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
1) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (โดยกฎหมาย) และยุบเลิกคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่จัดตั้งตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบ ดังนี้
(1) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่เกิน 15 คน ได้แก่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน3 คน ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) กำหนดนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.2) อนุมัติการแบ่งประเภทรัฐวิสาหกิจออกเป็นประเภทธุรกิจและไม่ใช่ธุรกิจ และอนุมัติรัฐวิสาหกิจที่จะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
(2.3) อนุมัติการโอนหลักทรัพย์ระหว่างรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้บรรษัท และกำหนดกรอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาของหลักทรัพย์ดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติการแปรรูปบริษัทรัฐวิสาหกิจที่รับโอน
(2.4) กำหนดกรอบนโยบายและหลักเกณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เงินลงทุน โดยกำหนดกรอบความเสี่ยง ขอบเขตธุรกิจและประสานกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทวิสาหกิจ และระหว่างบรรษัทกับบริษัทวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
(2.5) กำหนดกรอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ช่วงราคา และวิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจแก่ประชาชนทั่วไป และ/หรือผู้ลงทุนประเภทอื่น
(2.6) กำหนดนโยบายให้ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.7) กำกับ ดูแล รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของบรรษัทในการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.8) อนุมัติการควบรวม แยก ยุบเลิกหรือลดขนาดกิจการของบริษัทวิสาหกิจ
(2.9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(1) ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติเป็นส่วนราชการ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับกรม โดยยกฐานะของสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง เป็นสำนักงานดังกล่าว โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าสำนักงาน
การแต่งตั้งผู้อำนวยการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2.2) ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการ หน่วยงานหรือคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.3) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2.4) เสนอรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมจะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติพิจารณา
(2.5) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผล และกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่ได้โอนเข้าสู่การบริหารของบรรษัท
(2.6) ปฏิบัติงานในหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
(2.7) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติมอบหมาย
3) การจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
(1) ให้จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเป็นนิติบุคคล เรียกโดยย่อว่า "บวช." โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "State Investment Corporation" หรือ "SIC" มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น และไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) รับโอนหรือรับมอบหลักทรัพย์ จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจมาจัดการในเชิงธุรกิจ
(2.2) เป็นเครื่องมือของรัฐในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของและร่วมลงทุนในกิจการของบริษัทวิสาหกิจ
(2.3) เป็นเครื่องมือของรัฐในการจัดโครงสร้างทุนและการจัดการบริษัทวิสาหกิจอย่างมืออาชีพ มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ
(2.4) เป็นเครื่องมือในการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล
(2.5) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หลักทรัพย์ที่บรรษัทถืออยู่
(3) บรรษัทมีทุนจำนวน 1,000 ล้านบาท โดยมีทุนประเดิม 300 ล้านบาท และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ อาจเพิ่มทุนหรือลดทุนได้ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
4) คณะกรรมการบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติและการจัดการ
(1) คณะกรรมการบรรษัทมีจำนวนไม่เกิน 9 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ บุคคลจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติแต่งตั้งโดยการสรรหา ไม่เกิน 3 คน และกรรมการผู้จัดการ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(2) คณะกรรมการบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาจำนวนไม่เกิน 5 คนเพื่อทำหน้าที่คัดเลือกกรรมการผู้จัดการ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการผู้จัดการ โดยกรรมการผู้จัดการมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งต่อได้อีกหนึ่งวาระ
(3) กรรมการผู้จัดการมีหน้าที่ดำเนินการกิจการของบรรษัทให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของบรรษัท และเป็นผู้กระทำการแทนบรรษัท หรืออาจมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน โดยไม่ขัดต่อระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการบรรษัทกำหนด
(4) ประธานกรรมการ กรรมการ คณะกรรมการสรรหากรรมการให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
คณะกรรมการตรวจสอบ คณะที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการ และกรรมการผู้จัดการ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการบรรษัทกำหนด
5) การจัดการความเสี่ยงในการลงทุน
(1) บรรษัทมีหน้าที่ลงทุนภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบรรษัท โดยคำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือคณะบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนดำเนินการแทนได้ตามความเหมาะสม
(2) การรับโอนหลักทรัพย์จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้กระทำได้โดยการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนกับตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์ของบรรษัท หรือการรับโอนด้วยวิธีการอื่น ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งการรับโอนดังกล่าวให้กระทำได้โดยปลอดภาระภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือค่าภาระอื่นใดที่เรียกเก็บเพื่อการนั้น
(3) การจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ดำเนินการตามกฎหมายหลักเกณฑ์ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น การจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนประเภทอื่น และการร่วมทุนของบรรษัทให้กระทำได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
(4) ในการจัดการหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจให้เกิดมูลค่าสูงสุด บรรษัทสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
(4.1) จัดโครงสร้างการถือหลักทรัพย์ ถ่ายโอนทรัพยากรต่าง ๆ ของบริษัทวิสาหกิจหรือรัฐวิสาหกิจที่จะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
(4.2) จัดโครงสร้างทุนของบริษัทวิสาหกิจ รวมถึงการควบรวมกิจการ ยุบเลิก หรือการลดขนาดกิจการตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยปลอดจากภาระภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือค่าภาระอื่นใดที่เรียกเก็บเพื่อการนั้น
(5) ให้บรรษัทส่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ให้กระทรวงการคลังตามจำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
(6) ให้บรรษัทนำส่งเงินรายได้แผ่นดินให้กระทรวงการคลังภายหลังจากที่หักเงินสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปี ให้กระทรวงการคลังตามจำนวนที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
6) การตรวจสอบและรายงาน
บรรษัทต้องจัดทำและรายงานงบการเงินของบรรษัทและงบการเงินรวมของบริษัทวิสาหกิจที่รับโอนมาทุกงวดสามเดือน และวันสิ้นปีบัญชี โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบงบการเงินของบรรษัทและให้คณะกรรมการบรรษัทประกาศรายงานและงบการเงินดังกล่าวโดยเปิดเผย
7) การกำกับดูแลกิจการ
(1) คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการโดยทั่วไปของบรรษัท
(2) คณะกรรมการบรรษัท มีหน้าที่วางระบบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจ การลงทุน และโครงการลงทุน เพื่อให้บรรษัทและบริษัทวิสาหกิจถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
8) อื่น ๆ (การยกเว้นกฎหมายสำหรับบริษัทวิสาหกิจ)
บริษัทวิสาหกิจไม่อยู่ภายใต้บังคับของ
(1) พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
9) บทเฉพาะกาล
(1) การโอนงานของสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2) ให้กระทรวงการคลังโอนเงินทุนประเดิมจำนวน 300 ล้านบาท ให้แก่บรรษัทภายใน 60 วันส่วนที่เหลือให้ดำเนินการตามมที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกำหนด
2. ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ดังนี้
2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกำหนดว่า "ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงานในกรมหรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและโอนหรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบให้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2546
2.2 กนร. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการที่จะพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เกิดมูลค่าสูงสุด ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนงานชัดเจนในการเร่งให้รัฐวิสาหกิจที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปี 2544 จึงเห็นสมควรยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่3 ตุลาคม 2543 เรื่อง มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเสร็จทันตามกำหนดเวลา เพื่อรองรับการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างการบริหารรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และร่างพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ และจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเพื่อบริหารรัฐวิสาหกิจ และสามารถตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้โดยโอนหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่ได้แปลงเป็นบริษัท และหลักทรัพย์ในส่วนที่รัฐเป็นผู้ถือให้แก่บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเป็นผู้บริหารจัดการ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจมีความอิสระและคล่องตัว โดยมีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่เป็นมืออาชีพ และมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยการกระจายหุ้นบางส่วนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะแบ่งรัฐวิสาหกิจตามภาระหน้าที่ โดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ และโอนหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่มีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจไปอยู่ภายใต้การบริหารของบรรษัทฯ สำหรับรัฐวิสาหกิจเชิงสังคมยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเจ้าสังกัดตามโครงสร้างการกำกับดูแลปัจจุบัน
1.2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
1) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (โดยกฎหมาย) และยุบเลิกคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ที่จัดตั้งตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบ ดังนี้
(1) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย กรรมการจำนวนไม่เกิน 15 คน ได้แก่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกิน3 คน ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) กำหนดนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.2) อนุมัติการแบ่งประเภทรัฐวิสาหกิจออกเป็นประเภทธุรกิจและไม่ใช่ธุรกิจ และอนุมัติรัฐวิสาหกิจที่จะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ
(2.3) อนุมัติการโอนหลักทรัพย์ระหว่างรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้บรรษัท และกำหนดกรอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และราคาของหลักทรัพย์ดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติการแปรรูปบริษัทรัฐวิสาหกิจที่รับโอน
(2.4) กำหนดกรอบนโยบายและหลักเกณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เงินลงทุน โดยกำหนดกรอบความเสี่ยง ขอบเขตธุรกิจและประสานกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทวิสาหกิจ และระหว่างบรรษัทกับบริษัทวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
(2.5) กำหนดกรอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ช่วงราคา และวิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจแก่ประชาชนทั่วไป และ/หรือผู้ลงทุนประเภทอื่น
(2.6) กำหนดนโยบายให้ส่วนราชการ หน่วยงาน หรือคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.7) กำกับ ดูแล รวมทั้งประเมินผลการปฏิบัติงานของบรรษัทในการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.8) อนุมัติการควบรวม แยก ยุบเลิกหรือลดขนาดกิจการของบริษัทวิสาหกิจ
(2.9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(1) ให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติเป็นส่วนราชการ ภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับกรม โดยยกฐานะของสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง เป็นสำนักงานดังกล่าว โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นหัวหน้าสำนักงาน
การแต่งตั้งผู้อำนวยการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2.2) ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการ หน่วยงานหรือคณะกรรมการทั้งหลายที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
(2.3) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2.4) เสนอรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมจะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติพิจารณา
(2.5) ศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผล และกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่ได้โอนเข้าสู่การบริหารของบรรษัท
(2.6) ปฏิบัติงานในหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจ
(2.7) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติมอบหมาย
3) การจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ
(1) ให้จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเป็นนิติบุคคล เรียกโดยย่อว่า "บวช." โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "State Investment Corporation" หรือ "SIC" มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่น และไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
(2) อำนาจหน้าที่
(2.1) รับโอนหรือรับมอบหลักทรัพย์ จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจมาจัดการในเชิงธุรกิจ
(2.2) เป็นเครื่องมือของรัฐในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของและร่วมลงทุนในกิจการของบริษัทวิสาหกิจ
(2.3) เป็นเครื่องมือของรัฐในการจัดโครงสร้างทุนและการจัดการบริษัทวิสาหกิจอย่างมืออาชีพ มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ
(2.4) เป็นเครื่องมือในการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล
(2.5) สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่หลักทรัพย์ที่บรรษัทถืออยู่
(3) บรรษัทมีทุนจำนวน 1,000 ล้านบาท โดยมีทุนประเดิม 300 ล้านบาท และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ทั้งนี้ อาจเพิ่มทุนหรือลดทุนได้ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
4) คณะกรรมการบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติและการจัดการ
(1) คณะกรรมการบรรษัทมีจำนวนไม่เกิน 9 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือบุคคลอื่นที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ บุคคลจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติแต่งตั้งโดยการสรรหา ไม่เกิน 3 คน และกรรมการผู้จัดการ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(2) คณะกรรมการบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาจำนวนไม่เกิน 5 คนเพื่อทำหน้าที่คัดเลือกกรรมการผู้จัดการ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการผู้จัดการ โดยกรรมการผู้จัดการมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งต่อได้อีกหนึ่งวาระ
(3) กรรมการผู้จัดการมีหน้าที่ดำเนินการกิจการของบรรษัทให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของบรรษัท และเป็นผู้กระทำการแทนบรรษัท หรืออาจมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน โดยไม่ขัดต่อระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการบรรษัทกำหนด
(4) ประธานกรรมการ กรรมการ คณะกรรมการสรรหากรรมการให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
คณะกรรมการตรวจสอบ คณะที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้จัดการ และกรรมการผู้จัดการ ได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่คณะกรรมการบรรษัทกำหนด
5) การจัดการความเสี่ยงในการลงทุน
(1) บรรษัทมีหน้าที่ลงทุนภายใต้นโยบายของคณะกรรมการบรรษัท โดยคำนึงถึงการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้สถาบันการเงินหรือคณะบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนดำเนินการแทนได้ตามความเหมาะสม
(2) การรับโอนหลักทรัพย์จากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจให้กระทำได้โดยการซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนกับตราสารหนี้ หรือหลักทรัพย์ของบรรษัท หรือการรับโอนด้วยวิธีการอื่น ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งการรับโอนดังกล่าวให้กระทำได้โดยปลอดภาระภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือค่าภาระอื่นใดที่เรียกเก็บเพื่อการนั้น
(3) การจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจให้แก่ประชาชนทั่วไปให้ดำเนินการตามกฎหมายหลักเกณฑ์ หรือข้อบังคับว่าด้วยการนั้น การจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนประเภทอื่น และการร่วมทุนของบรรษัทให้กระทำได้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
(4) ในการจัดการหลักทรัพย์ของบริษัทวิสาหกิจให้เกิดมูลค่าสูงสุด บรรษัทสามารถดำเนินการได้ ดังนี้
(4.1) จัดโครงสร้างการถือหลักทรัพย์ ถ่ายโอนทรัพยากรต่าง ๆ ของบริษัทวิสาหกิจหรือรัฐวิสาหกิจที่จะเข้ากระบวนการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นไปยังอีกบริษัทหนึ่ง
(4.2) จัดโครงสร้างทุนของบริษัทวิสาหกิจ รวมถึงการควบรวมกิจการ ยุบเลิก หรือการลดขนาดกิจการตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถกระทำได้โดยปลอดจากภาระภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือค่าภาระอื่นใดที่เรียกเก็บเพื่อการนั้น
(5) ให้บรรษัทส่งเงินที่ได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์ให้กระทรวงการคลังตามจำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
(6) ให้บรรษัทนำส่งเงินรายได้แผ่นดินให้กระทรวงการคลังภายหลังจากที่หักเงินสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปี ให้กระทรวงการคลังตามจำนวนที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติกำหนด
6) การตรวจสอบและรายงาน
บรรษัทต้องจัดทำและรายงานงบการเงินของบรรษัทและงบการเงินรวมของบริษัทวิสาหกิจที่รับโอนมาทุกงวดสามเดือน และวันสิ้นปีบัญชี โดยให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบงบการเงินของบรรษัทและให้คณะกรรมการบรรษัทประกาศรายงานและงบการเงินดังกล่าวโดยเปิดเผย
7) การกำกับดูแลกิจการ
(1) คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการโดยทั่วไปของบรรษัท
(2) คณะกรรมการบรรษัท มีหน้าที่วางระบบและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ ข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจ การลงทุน และโครงการลงทุน เพื่อให้บรรษัทและบริษัทวิสาหกิจถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
8) อื่น ๆ (การยกเว้นกฎหมายสำหรับบริษัทวิสาหกิจ)
บริษัทวิสาหกิจไม่อยู่ภายใต้บังคับของ
(1) พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
(3) พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
9) บทเฉพาะกาล
(1) การโอนงานของสำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
(2) ให้กระทรวงการคลังโอนเงินทุนประเดิมจำนวน 300 ล้านบาท ให้แก่บรรษัทภายใน 60 วันส่วนที่เหลือให้ดำเนินการตามมที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกำหนด
2. ให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ โดยยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ดังนี้
2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวกำหนดว่า "ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงานในกรมหรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและโอนหรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เห็นชอบให้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2546
2.2 กนร. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการปรับโครงสร้างการบริหารงานรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการที่จะพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เกิดมูลค่าสูงสุด ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนงานชัดเจนในการเร่งให้รัฐวิสาหกิจที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปี 2544 จึงเห็นสมควรยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่3 ตุลาคม 2543 เรื่อง มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐเป็นกรณีพิเศษสำหรับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวเสร็จทันตามกำหนดเวลา เพื่อรองรับการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-