ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการจำหน่ายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. เพื่อให้ปตท. สามารถกำหนดราคาและจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด และสามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่าย โดยไม่นำวิธีการจำหน่ายหุ้นที่รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 มาใช้บังคับ
สำหรับแนวทางการจำหน่ายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด นั้น ปตท. และผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด ยกเว้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์ที่จะจำหน่ายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งมีธุรกิจหลักด้านผลิตไฟฟ้าและมีแผนที่จะขยายกิจการด้านผลิตไฟฟ้า ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด เพื่อจะเข้ามาดำเนินกิจการโรงไฟฟ้ารายย่อย (SPP) ของบริษัทต่อไป นอกจากนี้บริษัท Electirc Power Development Company (EPDC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ก็ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะซื้อหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้ารายย่อยด้วย จึงเป็นโอกาสที่ ปตท. จะจำหน่ายหุ้นได้ราคาดี โดยมีแผนการจำหน่ายหุ้น ดังนี้
1. วิธีการจำหน่ายหุ้น เนื่องจากบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น ปตท. จะเสนอการจำหน่ายหุ้นโดยวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้ ปตท. ได้ประโยชน์สูงสุดให้กับพันธมิตรร่วมทุน คือ กลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หรือกลุ่มที่สนใจลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้า
2. ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายหุ้น จะสามารถดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคาดว่าเป็นประมาณกลางปี 2544 โดย ปตท. มีเป้าหมายได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน 150 ล้านบาท
3. เพื่อความคล่องตัวและสามารถจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นได้ราคาและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อ ปตท. สูงสุดในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด ให้ดำเนินการจำหน่ายหุ้นโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. และไม่นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504มาใช้บังคับ
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปตท. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยร่วมทุนกับผู้เสนอโครงการ IPP จัดตั้งบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 เพื่อดำเนินโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว เนื่องจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ก๊าซของประเทศในขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2537) พบว่ามีความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกสาขาแต่ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคตอันอาจส่งผลทำให้ประเทศขาดแคลนก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวมีทุนจดทะเบียน 750 ล้านบาท มีทุนชำระแล้ว 375 ล้านบาท เป็นส่วนของ ปตท. ร้อยละ 40 เป็นเงินลงทุน 150 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีผู้ถือหุ้นรวมทั้งหมด 7 ราย
2. ข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏว่า ความต้องการในการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้เดิมมาก (ปัจจุบันมีความต้องการใช้ในปริมาณ 2,043 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากที่เคยพยากรณ์ไว้ในปริมาณ 2,379ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) อันมีเหตุผลประการหนึ่งจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 2540 ในขณะที่ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยกลับสูงขึ้น และสูงกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยมีปริมาณสำรองก๊าซจากแหล่งก๊าซของสหภาพพม่า และแหล่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมมาเลเซีย - ไทย (JDA) ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกในระยะยาว กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มีนโยบายชะลอโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ก่อน เพราะความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติยังไม่มีความจำเป็นในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า
3. สถานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 ของบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด มีสินทรัพย์รวม 273 ล้านบาท มีผลขาดทุนสะสมจำนวน 103 ล้านบาท และโดยที่ปัจจุบัน ปตท. ถือหุ้นอยู่ในบริษัทร้อยละ 40 ดังนั้นจึงมีภาระขาดทุนสะสมส่วนของ ปตท. จำนวน 41 ล้านบาท และเนื่องจากบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 750 ล้านบาทเรียกชำระแล้วเพียงร้อยละ 50 ดังนั้น ปตท. ยังมีภาระผูกพันตามกฎหมายในทุนจดทะเบียนส่วนที่ยังไม่ได้ชำระอีกจำนวน150 ล้านบาท รวมถึง ปตท. ยังมีภาระให้การสนับสนุนทางการเงิน (Financial Support) ในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท
4. ปตท. ได้แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาของบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยเห็นชอบการปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เข้าลงทุนในกิจการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP) แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนไม่น่าสนใจ ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายชะลอโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ก่อน ปตท.จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปที่จะถือหุ้นในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ดังนั้น คณะกรรมการ ปตท. จึงได้พิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ในการลงทุนของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด เพื่อให้ ปตท. ได้ประโยชน์สูงสุด และได้มีมติไม่ลงทุนเพิ่มและให้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดของ ปตท. ในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ในราคาพาร์หุ้นละ 5 บาทซึ่งจะทำให้ ปตท. ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน 150 ล้านบาท และไม่ต้องรับภาระการขาดทุนสะสมส่วนของ ปตท. 41ล้านบาท รวมทั้งลดภาระผูกพันต่อเนื่องอื่นของ ปตท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ดำเนินการจำหน่ายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. เพื่อให้ปตท. สามารถกำหนดราคาและจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด และสามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่าย โดยไม่นำวิธีการจำหน่ายหุ้นที่รัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 มาใช้บังคับ
สำหรับแนวทางการจำหน่ายหุ้นของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด นั้น ปตท. และผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมด ยกเว้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์ที่จะจำหน่ายหุ้นทั้งหมดในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งมีธุรกิจหลักด้านผลิตไฟฟ้าและมีแผนที่จะขยายกิจการด้านผลิตไฟฟ้า ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด เพื่อจะเข้ามาดำเนินกิจการโรงไฟฟ้ารายย่อย (SPP) ของบริษัทต่อไป นอกจากนี้บริษัท Electirc Power Development Company (EPDC) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ก็ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะซื้อหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้ารายย่อยด้วย จึงเป็นโอกาสที่ ปตท. จะจำหน่ายหุ้นได้ราคาดี โดยมีแผนการจำหน่ายหุ้น ดังนี้
1. วิธีการจำหน่ายหุ้น เนื่องจากบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น ปตท. จะเสนอการจำหน่ายหุ้นโดยวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้ ปตท. ได้ประโยชน์สูงสุดให้กับพันธมิตรร่วมทุน คือ กลุ่มผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า หรือกลุ่มที่สนใจลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้า
2. ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการจำหน่ายหุ้น จะสามารถดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคาดว่าเป็นประมาณกลางปี 2544 โดย ปตท. มีเป้าหมายได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน 150 ล้านบาท
3. เพื่อความคล่องตัวและสามารถจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นได้ราคาและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อ ปตท. สูงสุดในระยะเวลาที่เหมาะสมกับสภาวะตลาด ให้ดำเนินการจำหน่ายหุ้นโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. และไม่นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504มาใช้บังคับ
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ปตท. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี โดยร่วมทุนกับผู้เสนอโครงการ IPP จัดตั้งบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 เพื่อดำเนินโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว เนื่องจากการพยากรณ์ความต้องการใช้ก๊าซของประเทศในขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2537) พบว่ามีความต้องการใช้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกสาขาแต่ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคตอันอาจส่งผลทำให้ประเทศขาดแคลนก๊าซธรรมชาติได้ ทั้งนี้ การจัดตั้งบริษัทดังกล่าวมีทุนจดทะเบียน 750 ล้านบาท มีทุนชำระแล้ว 375 ล้านบาท เป็นส่วนของ ปตท. ร้อยละ 40 เป็นเงินลงทุน 150 ล้านบาท ปัจจุบันบริษัทมีผู้ถือหุ้นรวมทั้งหมด 7 ราย
2. ข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏว่า ความต้องการในการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้เดิมมาก (ปัจจุบันมีความต้องการใช้ในปริมาณ 2,043 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากที่เคยพยากรณ์ไว้ในปริมาณ 2,379ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) อันมีเหตุผลประการหนึ่งจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ปี 2540 ในขณะที่ความสามารถในการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยกลับสูงขึ้น และสูงกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ โดยมีปริมาณสำรองก๊าซจากแหล่งก๊าซของสหภาพพม่า และแหล่งก๊าซในพื้นที่พัฒนาร่วมมาเลเซีย - ไทย (JDA) ซึ่งสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อีกในระยะยาว กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มีนโยบายชะลอโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ก่อน เพราะความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติยังไม่มีความจำเป็นในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า
3. สถานะทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 ของบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด มีสินทรัพย์รวม 273 ล้านบาท มีผลขาดทุนสะสมจำนวน 103 ล้านบาท และโดยที่ปัจจุบัน ปตท. ถือหุ้นอยู่ในบริษัทร้อยละ 40 ดังนั้นจึงมีภาระขาดทุนสะสมส่วนของ ปตท. จำนวน 41 ล้านบาท และเนื่องจากบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 750 ล้านบาทเรียกชำระแล้วเพียงร้อยละ 50 ดังนั้น ปตท. ยังมีภาระผูกพันตามกฎหมายในทุนจดทะเบียนส่วนที่ยังไม่ได้ชำระอีกจำนวน150 ล้านบาท รวมถึง ปตท. ยังมีภาระให้การสนับสนุนทางการเงิน (Financial Support) ในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 อีกจำนวน 2,000 ล้านบาท
4. ปตท. ได้แสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหาของบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด โดยเห็นชอบการปรับเปลี่ยนทิศทางการดำเนินธุรกิจให้เข้าลงทุนในกิจการผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP) แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวให้ผลตอบแทนไม่น่าสนใจ ประกอบกับกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายชะลอโครงการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ก่อน ปตท.จึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปที่จะถือหุ้นในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ดังนั้น คณะกรรมการ ปตท. จึงได้พิจารณาทางเลือกต่าง ๆ ในการลงทุนของ ปตท. ในบริษัท ไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด เพื่อให้ ปตท. ได้ประโยชน์สูงสุด และได้มีมติไม่ลงทุนเพิ่มและให้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดของ ปตท. ในบริษัทไทยแอลเอ็นจีเพาเวอร์ จำกัด ในราคาพาร์หุ้นละ 5 บาทซึ่งจะทำให้ ปตท. ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน 150 ล้านบาท และไม่ต้องรับภาระการขาดทุนสะสมส่วนของ ปตท. 41ล้านบาท รวมทั้งลดภาระผูกพันต่อเนื่องอื่นของ ปตท.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-