แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงสาธารณสุข
ทบวงมหาวิทยาลัย
กระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการคลัง ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการปรับปรุงตามความเหมาะสมด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว
ร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ 2 ประการ ดังนี้
1.1 สุขภาพหรือสุขภาวะ ซึ่งหมายความว่า สุขภาพ คือ สุขภาวะที่สมบูรณ์และมีดุลยภาพทั้งทางกายทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ สุขภาพจึงแยกไม่ได้จากวิถีชีวิตที่จะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความถูกต้องพอดีโดยดำรงอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมที่พัฒนาอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม
1.2 พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ จากแนวคิดหลักที่ถือว่าสุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกายใจ สังคม และจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นบูรณาการ การพัฒนาสุขภาพจึงต้องดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ เพราะสุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ แนวคิดหลักของการพัฒนาระบบสุขภาพจึงต้องเน้นการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ การจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติจึงเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปถึงเหตุปัจจัยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นองค์ประกอบและกลไกสำคัญของการสร้างสุขภาวะที่สมบูรณ์ของสังคมอย่างเป็นบูรณาการ โดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาสุขภาพ
2. ความเชื่อมโยงของวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับการพัฒนาสุขภาพ
2.1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสุขภาพ
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทางสายกลาง โดยสาระหลัก ปรัชญานำทาง "เศรษฐกิจพอเพียง" มีหลักการสำคัญ 5 ประการที่จะเป็นแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือยึดทางสายกลาง มีระบบภูมิคุ้มกัน มีความสมดุลพอดี รู้เท่าทันโลก รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล ซึ่งระบบสุขภาพภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น "ระบบสุขภาพพอเพียง" ซึ่งมีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีรากฐานที่เข้มแข็งจากการมีความพอเพียงทางสุขภาพในระดับครอบครัวและชุมชน
2) มีความรอบคอบและรู้จักความพอประมาณอย่างมีเหตุผลในด้านการเงินการคลังเพื่อสุขภาพในทุกระดับ
3) มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้อย่างรู้เท่าทัน โดยเน้นภูมิปัญญาไทยและการพึ่งตนเอง
4) มีการบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพและคุ้มครองผู้บริโภค
5) มีระบบภูมิคุ้มกันที่ให้หลักประกันและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
6) มีคุณธรรม จริยธรรม คือความซื่อตรง ไม่โลภมาก และรู้จักพอ
2.2 ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
ระบบสุขภาพมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ที่ต้องร่วมสร้างสังคมเข้มแข็งที่มีดุลยภาพ และในแง่ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องมีความเข้มแข็งและต้องมีดุลยภาพทั้ง 3 ด้าน คือเป็นระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และเป็นระบบสุขภาพที่เอื้ออาทร พึ่งพาเกื้อกูลกันได้ และสามารถให้การดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและคนจนได้
ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของสังคมไทยเป็นระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งการสร้างเสริมสุขภาพดีของประชาชน ควบคู่กับการมีหลักประกันที่อุ่นใจในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรและมีคุณภาพเมื่อยามจำเป็น โดยสังคมทุกส่วนและทุกระดับมีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทย เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่อย่างพึ่งตนเองได้ และมีสุขภาวะในสังคมโลกที่มีสภาพการเชื่อมโยงและมีอิทธิพลต่อกันอย่างกว้างขวาง
3. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
3.1 วิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพประชาชน คนในสังคมไทยทุกคนมีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ และเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมที่มีความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพ มีการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู้เท่าทัน
3.2 พันธกิจหลัก : การระดมพลังทั้งสังคมเพื่อสร้างสุขภาพ (All for Health) โดยการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบจะเกี่ยวข้องกับองค์กร ประชาคม และสถาบันต่าง ๆ ทั้งในภาคสาธารณสุขและนอกภาคสาธารณสุข ภารกิจหลักของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 นี้ จึงเป็นการระดมพลังทั้งสังคมเพื่อร่วมสร้างสุขภาพ โดยจะต้องทำให้เกิดสำนึกสุขภาพในสังคมทุกส่วนอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้ส่วนต่าง ๆ ในสังคมมีบทบาทและได้ใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่สังคมแห่งสุขภาวะ
3.3 วัถตุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาสุขภาพมุ่งสู่จุดหมาย คือวิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพประชาชน จึงกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ คือ
1) เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งการสร้างเสริมสุขภาพดี และการคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพ ทั้งด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของระบบอาหาร ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพการคุ้มครองผู้บริโภค และการป้องกันควบคุมโรค
2) เพื่อสร้างหลักประกันที่ช่วยคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะคนจนและผู้ด้อยโอกาสในสังคม
3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มีศักยภาพในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ มีการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพ
4) เพื่อสร้างกลไกและมาตรการในการสร้าง แสวงหา และเพิ่มศักยภาพในการคัดกรองการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสุขภาพ โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยอย่างรู้เท่าทันเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
3.4 เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพ ประกอบด้วย 10 เป้าหมาย คือ
1) การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
2) คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ
3) การสร้างความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ
4) การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างขององค์กร/กลไกของรัฐในการพัฒนาสุขภาพ
5) การสนับสนุนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ
6) การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของประชาชน/ครอบครัว/ชุมชน/ประชาคม
7) การพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับต้นทั้งเขตเมืองและชนบท โดยเชื่อมโยงกับระบบบริการขั้นสูง
8) การพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุข
9) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของระบบสุขภาพ โดยเน้นการแพทย์แผนไทยสมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล
10) การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุขภาพ
3.5 ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาสุขภาพ
ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาสุขภาพที่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เร่งการสร้างสุขภาพเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพถ้วนหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ปฏิรูประบบ โครงสร้าง และกลไกการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเพื่อสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบริหารจัดการความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและระบบสุขภาพใหม่
4. แนวทางการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล
4.1 โครงสร้างการบริหารจัดการแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่9 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ2 ชุด คือ 1) คณะกรรมการอำนวยการแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ 2) คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
4.2 การแปลงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ คณะกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าว จะบริหารจัดการให้มีการนำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ไปสู่การจัดทำแผนรองรับของหน่วยงาน/องค์กรในทุกระดับ โดยการนำฐานความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากการประมวลองค์ความรู้สู่แผนพัฒนาสุขภาพไปใช้ประกอบในการจัดแผนพัฒนา แผนปฏิบัติการและการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4.3 การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยดัชนีชี้วัดใน 2 ระดับคือ 1) ดัชนีชี้วัดระดับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพในภาพรวม และ 2) ดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเฉพาะด้านที่มีการกำหนดเป็นเป้าหมายการดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว
ร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. แนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ 2 ประการ ดังนี้
1.1 สุขภาพหรือสุขภาวะ ซึ่งหมายความว่า สุขภาพ คือ สุขภาวะที่สมบูรณ์และมีดุลยภาพทั้งทางกายทางใจ ทางสังคม และทางจิตวิญญาณ สุขภาพจึงแยกไม่ได้จากวิถีชีวิตที่จะต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของความถูกต้องพอดีโดยดำรงอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมที่พัฒนาอย่างสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม
1.2 พัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ จากแนวคิดหลักที่ถือว่าสุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกายใจ สังคม และจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นบูรณาการ การพัฒนาสุขภาพจึงต้องดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ เพราะสุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ แนวคิดหลักของการพัฒนาระบบสุขภาพจึงต้องเน้นการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบ การจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติจึงเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงไปถึงเหตุปัจจัยทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นองค์ประกอบและกลไกสำคัญของการสร้างสุขภาวะที่สมบูรณ์ของสังคมอย่างเป็นบูรณาการ โดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาสุขภาพ
2. ความเชื่อมโยงของวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับการพัฒนาสุขภาพ
2.1 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับสุขภาพ
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ซึ่งเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทางสายกลาง โดยสาระหลัก ปรัชญานำทาง "เศรษฐกิจพอเพียง" มีหลักการสำคัญ 5 ประการที่จะเป็นแนวทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือยึดทางสายกลาง มีระบบภูมิคุ้มกัน มีความสมดุลพอดี รู้เท่าทันโลก รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล ซึ่งระบบสุขภาพภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็น "ระบบสุขภาพพอเพียง" ซึ่งมีคุณลักษณะ ดังนี้
1) มีรากฐานที่เข้มแข็งจากการมีความพอเพียงทางสุขภาพในระดับครอบครัวและชุมชน
2) มีความรอบคอบและรู้จักความพอประมาณอย่างมีเหตุผลในด้านการเงินการคลังเพื่อสุขภาพในทุกระดับ
3) มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และใช้อย่างรู้เท่าทัน โดยเน้นภูมิปัญญาไทยและการพึ่งตนเอง
4) มีการบูรณาการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพและคุ้มครองผู้บริโภค
5) มีระบบภูมิคุ้มกันที่ให้หลักประกันและคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
6) มีคุณธรรม จริยธรรม คือความซื่อตรง ไม่โลภมาก และรู้จักพอ
2.2 ภาพลักษณ์ของสังคมและระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
ระบบสุขภาพมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ที่ต้องร่วมสร้างสังคมเข้มแข็งที่มีดุลยภาพ และในแง่ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องมีความเข้มแข็งและต้องมีดุลยภาพทั้ง 3 ด้าน คือเป็นระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และเป็นระบบสุขภาพที่เอื้ออาทร พึ่งพาเกื้อกูลกันได้ และสามารถให้การดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและคนจนได้
ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ของสังคมไทยเป็นระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งการสร้างเสริมสุขภาพดีของประชาชน ควบคู่กับการมีหลักประกันที่อุ่นใจในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เอื้ออาทรและมีคุณภาพเมื่อยามจำเป็น โดยสังคมทุกส่วนและทุกระดับมีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทย เพื่อให้สังคมไทยดำรงอยู่อย่างพึ่งตนเองได้ และมีสุขภาวะในสังคมโลกที่มีสภาพการเชื่อมโยงและมีอิทธิพลต่อกันอย่างกว้างขวาง
3. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
3.1 วิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพประชาชน คนในสังคมไทยทุกคนมีหลักประกันที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ และเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค รวมทั้งอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมที่มีความพอเพียงทางสุขภาพ มีศักยภาพ มีการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ โดยสามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยได้อย่างรู้เท่าทัน
3.2 พันธกิจหลัก : การระดมพลังทั้งสังคมเพื่อสร้างสุขภาพ (All for Health) โดยการพัฒนาระบบสุขภาพทั้งระบบจะเกี่ยวข้องกับองค์กร ประชาคม และสถาบันต่าง ๆ ทั้งในภาคสาธารณสุขและนอกภาคสาธารณสุข ภารกิจหลักของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 นี้ จึงเป็นการระดมพลังทั้งสังคมเพื่อร่วมสร้างสุขภาพ โดยจะต้องทำให้เกิดสำนึกสุขภาพในสังคมทุกส่วนอย่างทั่วถึง และเปิดโอกาสให้ส่วนต่าง ๆ ในสังคมมีบทบาทและได้ใช้ศักยภาพของตนในการพัฒนาเพื่อบรรลุสู่สังคมแห่งสุขภาวะ
3.3 วัถตุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้ทิศทางการพัฒนาสุขภาพมุ่งสู่จุดหมาย คือวิสัยทัศน์การพัฒนาสุขภาพประชาชน จึงกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ คือ
1) เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งการสร้างเสริมสุขภาพดี และการคุ้มครองความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพ ทั้งด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของระบบอาหาร ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและการประกอบอาชีพการคุ้มครองผู้บริโภค และการป้องกันควบคุมโรค
2) เพื่อสร้างหลักประกันที่ช่วยคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะคนจนและผู้ด้อยโอกาสในสังคม
3) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มีศักยภาพในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ มีการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพ
4) เพื่อสร้างกลไกและมาตรการในการสร้าง แสวงหา และเพิ่มศักยภาพในการคัดกรองการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสุขภาพ โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาสากลและภูมิปัญญาไทยอย่างรู้เท่าทันเพื่อการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ
3.4 เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพ ประกอบด้วย 10 เป้าหมาย คือ
1) การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
2) คนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพ
3) การสร้างความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ
4) การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างขององค์กร/กลไกของรัฐในการพัฒนาสุขภาพ
5) การสนับสนุนการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ
6) การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของประชาชน/ครอบครัว/ชุมชน/ประชาคม
7) การพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขระดับต้นทั้งเขตเมืองและชนบท โดยเชื่อมโยงกับระบบบริการขั้นสูง
8) การพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุข
9) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของระบบสุขภาพ โดยเน้นการแพทย์แผนไทยสมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล
10) การสนับสนุนอุตสาหกรรมสุขภาพ
3.5 ยุทธศาสตร์หลักการพัฒนาสุขภาพ
ยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาสุขภาพที่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ มี 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เร่งการสร้างสุขภาพเชิงรุก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสร้างหลักประกันการเข้าถึงบริการสุขภาพถ้วนหน้า
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : ปฏิรูประบบ โครงสร้าง และกลไกการบริหารจัดการระบบสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมเพื่อสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การบริหารจัดการความรู้และภูมิปัญญาเพื่อสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและระบบสุขภาพใหม่
4. แนวทางการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล
4.1 โครงสร้างการบริหารจัดการแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่9 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการ2 ชุด คือ 1) คณะกรรมการอำนวยการแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ 2) คณะกรรมการบริหารแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
4.2 การแปลงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ คณะกรรมการทั้งสองชุดดังกล่าว จะบริหารจัดการให้มีการนำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ไปสู่การจัดทำแผนรองรับของหน่วยงาน/องค์กรในทุกระดับ โดยการนำฐานความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากการประมวลองค์ความรู้สู่แผนพัฒนาสุขภาพไปใช้ประกอบในการจัดแผนพัฒนา แผนปฏิบัติการและการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4.3 การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการพัฒนาตามแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยดัชนีชี้วัดใน 2 ระดับคือ 1) ดัชนีชี้วัดระดับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสุขภาพในภาพรวม และ 2) ดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเฉพาะด้านที่มีการกำหนดเป็นเป้าหมายการดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-