1. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
2. อนุมัติให้ยกเลิกคณะทำงานยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าของประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558
พณ. เสนอว่า
1. ตามที่ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระหว่างประเทศ พ.ศ. 2558 กำหนดให้ คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและแนวทางเพื่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์เพื่อการส่งออก การนำเข้าปัจจัยการผลิตและสินค้าที่จำเป็นต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งบูรณาการการพัฒนาและขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ แต่ปรากฏว่าอำนาจหน้าที่บางส่วนของ พกค. มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนและให้การดำเนินการต่าง ๆ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ กนศ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมิให้เกิดผลเสียหายการดำเนินนโนยบายและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้ ประกอบกับเพื่อให้เกิดการบูรณาการกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับมิติทางสังคม วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สมควรปรับปรุงอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบของ กนศ. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังกล่าว
2. นอกจากนี้ คณะทำงานยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าของประเทศ ซึ่งมีบทบาทหลักในการ
สนับสนุนการดำเนินงานของ กนศ. แต่มิได้มีสถานะเป็นอนุกรรมการภายใต้ กนศ. จึงจำเป็นต้องมีการยกเลิกคณะทำงานดังกล่าว เพื่อให้ กนศ. สามารถพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ในลักษณะเดียวกันเพื่อสนับสนุนการทำงานของ กนศ. ได้ ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันมากขึ้น
สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
1. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ กนศ. เพื่อให้ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของ พกค.
อำนาจหน้าที่เดิม อำนาจหน้าที่ใหม่ ข้อ 7 ให้ กนศ. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ท่าทีในการ (2) พิจารณากำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ ท่าทีในการ เจรจาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาพื้นที่ เจรจาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาพื้นที่ เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน แนวทาง เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน แนวทาง ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี การพัฒนาการส่งออก ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี และการค้าต่างตอบแทน การค้าต่างตอบแทน รวมทั้งการค้าชายแดนและผ่านแดน (3) พิจารณากำหนดนโยบายการส่งเสริมการส่งออก (3) ตัดออก และนโยบายการจัดวางและการปรับเปลี่ยนเพิ่มลด บุคลากร รวมทั้ง หน่วยงานในการเจาะขยายตลาดใน ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวสามารถเจาะ รุกขยายตลาดได้ทันที
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของ กนศ. ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อำนาจหน้าที่เดิม อำนาจหน้าที่ใหม่ ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ” “คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ” เรียกโดยย่อว่า “กนศ.” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เรียกโดยย่อว่า “กนศ.” ประกอบด้วย หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมาย เป็น 1. นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2. รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการ รองประธานกรรมการ กระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กรรมการ ต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กรรมการ สหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ 5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ และสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการ 7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และ 8. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 9. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ สามคน เป็นกรรมการ 10. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นเลขานุการ และ 11. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
ให้รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้าน เศรษฐกิจและสังคมแห่งขาติ กรรมการ การค้าต่างประเทศ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ” 12. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
13. ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน กรรมการ
14. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการและเลขานุการ
15. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 มกราคม 2559--