ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่ง (Recommendation on the Transport of Dangerous Goods) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศไทย รวมทั้งจะได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการออกกฎเกณฑ์และระเบียบทางกฎหมายสำหรับบังคับใช้ในการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้งทางบก โดยรถยนต์และรถไฟ และทางน้ำภายในประเทศโดยเรือ รวมทั้งใช้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายเพื่อประกันความปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าอันตราย นับตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง รวมไปถึงขณะหยุดพักระหว่างทาง
2. มอบหมายคณะกรรมการระดับนโยบายให้รับผิดชอบประสานการดำเนินงานใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าอันตรายตามข้อกำหนดนี้ ทั้งที่เป็นสารเคมี และวัตถุอันตราย ให้มีเอกภาพและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
2.1 ให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติพิจารณารับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการจัดการอุบัติภัยแห่งชาติ เพื่อจะได้ประสานแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุบัติภัยนำไปปฏิบัติต่อไป
2.2 ให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ทำการปรับปรุงรายการสารเคมีและวัตถุอันตรายเป็นระยะ ๆ โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ภายในประเทศและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล
2.3 ให้คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุที่กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บท ผนวกประเด็นการขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้าอันตราย เป็นส่วนหนึ่งของแผน โดยมีแผนปฏิบัติการรองรับที่ชัดเจน
3. ให้มีการทบทวน บทบาท หน้าที่และการดำเนินงานของคณะกรรมการทั้ง 3 คณะคือ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ คณะกรรมการวัตถุอันตราย และคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเป็นระบบต่อเนื่องมีประสิทธิภาพมีการทำงานที่มีเอกภาพไม่ซ้ำซ้อนกัน สามารถประสานงานกันได้อย่างเป็นระบบในทางปฏิบัติ
4. ให้มีการจัดทำในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย โดยมีคณะกรรมการเข้าไปดำเนินการดูแลระบบตรวจสอบอย่างมีมาตรฐาน รวมทั้งมีการสร้างระบบเครือข่ายระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ในการร่วมมือกันเมื่อเกิดเหตุอุบัติภัยขึ้น และมีการซักซ้อมระบบป้องกันภัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งจะต้องสร้างจิตสำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานจนเป็นนิสัยให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทยอย่างแพร่หลาย
5. ให้ปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย จำนวน 29 ฉบับ ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบ 11 หน่วยงาน ให้สอดคล้องไปในแนวเดียวกันและให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า คณะทำงานย่อย 4 คณะ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการบริหารโครงการวางระบบการจัดการและป้องกันสาธารณภัยจากการขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่งเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
1. การจำแนกประเภทสินค้าอันตราย เป็นการจัดแบ่งตามความแตกต่างของคุณสมบัติภายในอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ แบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ 1) วัตถุระเบิด 2) ก๊าซ 3) ของเหลวไวไฟ 4) ของแข็งไวไฟ 5) สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 6) สารพิษและสารติดเชื้อ 7) วัสดุกัมมันตรังสี8) สารกัดกร่อน 9) สารหรือสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด
2. บัญชีรายชื่อสินค้าอันตราย
3. วิธีการบรรจุหีบห่อ
4. กำหนดวิธีการในการขนส่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่ง (Recommendation on the Transport of Dangerous Goods) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตรายของประเทศไทย รวมทั้งจะได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
1. ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานในการออกกฎเกณฑ์และระเบียบทางกฎหมายสำหรับบังคับใช้ในการขนส่งสินค้าอันตราย ทั้งทางบก โดยรถยนต์และรถไฟ และทางน้ำภายในประเทศโดยเรือ รวมทั้งใช้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าอันตรายเพื่อประกันความปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งสินค้าอันตราย นับตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง รวมไปถึงขณะหยุดพักระหว่างทาง
2. มอบหมายคณะกรรมการระดับนโยบายให้รับผิดชอบประสานการดำเนินงานใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าอันตรายตามข้อกำหนดนี้ ทั้งที่เป็นสารเคมี และวัตถุอันตราย ให้มีเอกภาพและเป็นปัจจุบัน ดังนี้
2.1 ให้คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติพิจารณารับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการจัดการอุบัติภัยแห่งชาติ เพื่อจะได้ประสานแจ้งให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอุบัติภัยนำไปปฏิบัติต่อไป
2.2 ให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ทำการปรับปรุงรายการสารเคมีและวัตถุอันตรายเป็นระยะ ๆ โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ภายในประเทศและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล
2.3 ให้คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุที่กำลังดำเนินการจัดทำแผนแม่บท ผนวกประเด็นการขนส่ง เคลื่อนย้ายสินค้าอันตราย เป็นส่วนหนึ่งของแผน โดยมีแผนปฏิบัติการรองรับที่ชัดเจน
3. ให้มีการทบทวน บทบาท หน้าที่และการดำเนินงานของคณะกรรมการทั้ง 3 คณะคือ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ คณะกรรมการวัตถุอันตราย และคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุ แล้วปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเป็นระบบต่อเนื่องมีประสิทธิภาพมีการทำงานที่มีเอกภาพไม่ซ้ำซ้อนกัน สามารถประสานงานกันได้อย่างเป็นระบบในทางปฏิบัติ
4. ให้มีการจัดทำในเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย โดยมีคณะกรรมการเข้าไปดำเนินการดูแลระบบตรวจสอบอย่างมีมาตรฐาน รวมทั้งมีการสร้างระบบเครือข่ายระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน ในการร่วมมือกันเมื่อเกิดเหตุอุบัติภัยขึ้น และมีการซักซ้อมระบบป้องกันภัยอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งจะต้องสร้างจิตสำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานจนเป็นนิสัยให้เกิดขึ้นในหมู่คนไทยอย่างแพร่หลาย
5. ให้ปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย จำนวน 29 ฉบับ ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบ 11 หน่วยงาน ให้สอดคล้องไปในแนวเดียวกันและให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า คณะทำงานย่อย 4 คณะ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะอนุกรรมการบริหารโครงการวางระบบการจัดการและป้องกันสาธารณภัยจากการขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดทำข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ทั่วไปของการขนส่งเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย
1. การจำแนกประเภทสินค้าอันตราย เป็นการจัดแบ่งตามความแตกต่างของคุณสมบัติภายในอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ แบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ 1) วัตถุระเบิด 2) ก๊าซ 3) ของเหลวไวไฟ 4) ของแข็งไวไฟ 5) สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ 6) สารพิษและสารติดเชื้อ 7) วัสดุกัมมันตรังสี8) สารกัดกร่อน 9) สารหรือสิ่งของอันตรายเบ็ดเตล็ด
2. บัญชีรายชื่อสินค้าอันตราย
3. วิธีการบรรจุหีบห่อ
4. กำหนดวิธีการในการขนส่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-