ทำเนียบรัฐบาล--14 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศรายงานสรุปผลด้านสารัตถะของการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งรัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 9 - 19 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งผลการประชุมปรากฏในเอกสาร 2 ฉบับคือ Bangkok Declaration (ปฏิญญากรุงเทพ) และ Bangkok Plan of Action (แผนปฏิบัติการกรุงเทพ) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. Bangkok Declaration (ปฏิญญากรุงเทพ) มี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) สภาวะการณ์ปัจจุบัน 2) การเริ่มต้นใหม่ 3) การหารือที่เปิดกว้างและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
2. Bangkok Plan of Action (แผนปฏิบัติการกรุงเทพ) มี 4 ส่วนหลัก คือ 1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการพัฒนา 2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ 3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ 4) บทบาทของอังค์ถัด
ทั้งนี้ จากการที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการเจรจาจัดทำเอกสารปฏิญญากรุงเทพ เนื่องจากที่ประชุมของผู้ประสานงานของกลุ่มต่าง ๆ ของรัฐสมาชิกอังค์ถัด ได้มีมติให้เลขาธิการอังค์ถัดร่วมกับผู้ประสานงานต่าง ๆ เป็นผู้ยกร่างเบื้องต้นเอกสารปฏิญญากรุงเทพ และมอบให้ประธานที่ประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 เป็นผู้ยกร่างโดยประสานกับผู้แทนกลุ่มต่าง ๆ ของรัฐสมาชิก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว โดยผู้แทนของแต่ละกลุ่มได้นำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อจัดทำร่างสุดท้าย โดยมิต้องมีการเจรจากับทุกรัฐสมาชิกในวงกว้าง ซึ่งทำให้ไทยสามารถกำหนดแนวทาง หลักการและประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญได้ค่อนข้างมาก ซึ่งในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องนี้สามารถแก้ไขประเด็นที่เป็นปัญหาที่ผู้แทนบางกลุ่มได้ยกขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และได้รับคำชมเชยของรัฐสมาชิกเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับประเด็นสำคัญที่ไทยสามารถนำเข้าบรรจุไว้ในเอกสารปฏิญญากรุงเทพ ทั้งที่เสนอผ่านกลุ่ม 77 และที่แก้ไขปรับปรุงจากข้อเสนอของกลุ่มอื่น ๆ ภายใต้การดำเนินการประสานงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่
1. การปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับชาติ และเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกทั้งหมดมีความรับผิดชอบ ที่จะต้องทำให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมของโลกมีสภาวะที่เอื้ออำนวย โดยเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน การแข่งขัน และการเงิน รวมทั้งก่อให้เกิดเสถียรภาพของค่าเงินเพื่อทำให้โลกาภิวัฒน์มีประสิทธิภาพและมีความเสมอภาคมากขึ้น
2. เรื่องระบบการค้าพหุภาคีที่จะให้ประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างทั่วถึง คณะผู้แทนไทยได้เสนอให้มีการปรับปรุงข้อความในร่างแรกซึ่งกล่าวถึงระบบการค้าพหุภาคีภายใต้ความตกลง WTO ไว้น้อยมาก โดยได้เสนอให้เพิ่มข้อความที่จะทำให้เป็นหลักประกันว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถรับประโยชน์จากระบบดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ได้แก่เรื่องการขยายตลาดสินค้าและบริการให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา การแก้ไขประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ
3. คณะผู้แทนไทยได้ย้ายข้อความที่ว่า "เราทั้งหลายได้ตกลงกันในแผนปฏิบัติการที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสำหรับกระบวนการดังกล่าวแล้ว" จากเดิมที่อยู่ในย่อหน้าว่าด้วยกิจกรรมของสำนักเลขาธิการอังค์ถัดมาอยู่ในย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งเป็นย่อหน้าที่รัฐสมาชิกอังค์ถัดทั้งหมดแสดงเจตนารมย์ที่จะร่วมมือกันในการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่ได้แถลงไว้ในย่อหน้าก่อน ๆ ซึ่งทำให้แผนปฏิบัติการกรุงเทพมีผลผูกพันสมาชิกอังค์ถัดทั้งหมด มิใช่เป็นเพียงแค่แผนปฏิบัติการของสำนักเลขาธิการอังค์ถัดเท่านั้น
4. สำหรับประเด็นสำคัญที่ไทยสามารถเจรจานำไปบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการกรุงเทพได้สำเร็จคือ เรื่องวิกฤตการทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงวิกฤตการณ์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในเอเซีย ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศในการปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะป้องกันวิกฤต และเตรียมกลไกในการรับมือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งให้ระบบการเงินนี้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการพัฒนาด้วย ซึ่งเป็นจากความพยายามของคณะผู้แทนไทยที่ได้เจรจาให้มีข้อความดังกล่าวไว้ในแผนปฏิบัติการกรุงเทพ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับไทย และเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวข้อมาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศรายงานสรุปผลด้านสารัตถะของการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ซึ่งรัฐบาลไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 9 - 19 กุมภาพันธ์ 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งผลการประชุมปรากฏในเอกสาร 2 ฉบับคือ Bangkok Declaration (ปฏิญญากรุงเทพ) และ Bangkok Plan of Action (แผนปฏิบัติการกรุงเทพ) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. Bangkok Declaration (ปฏิญญากรุงเทพ) มี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) สภาวะการณ์ปัจจุบัน 2) การเริ่มต้นใหม่ 3) การหารือที่เปิดกว้างและการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
2. Bangkok Plan of Action (แผนปฏิบัติการกรุงเทพ) มี 4 ส่วนหลัก คือ 1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการพัฒนา 2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ 3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ 4) บทบาทของอังค์ถัด
ทั้งนี้ จากการที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ทำให้ไทยมีบทบาทสำคัญในการเจรจาจัดทำเอกสารปฏิญญากรุงเทพ เนื่องจากที่ประชุมของผู้ประสานงานของกลุ่มต่าง ๆ ของรัฐสมาชิกอังค์ถัด ได้มีมติให้เลขาธิการอังค์ถัดร่วมกับผู้ประสานงานต่าง ๆ เป็นผู้ยกร่างเบื้องต้นเอกสารปฏิญญากรุงเทพ และมอบให้ประธานที่ประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 เป็นผู้ยกร่างโดยประสานกับผู้แทนกลุ่มต่าง ๆ ของรัฐสมาชิก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินการดังกล่าว โดยผู้แทนของแต่ละกลุ่มได้นำข้อเสนอแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อจัดทำร่างสุดท้าย โดยมิต้องมีการเจรจากับทุกรัฐสมาชิกในวงกว้าง ซึ่งทำให้ไทยสามารถกำหนดแนวทาง หลักการและประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญได้ค่อนข้างมาก ซึ่งในการดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเรื่องนี้สามารถแก้ไขประเด็นที่เป็นปัญหาที่ผู้แทนบางกลุ่มได้ยกขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และได้รับคำชมเชยของรัฐสมาชิกเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับประเด็นสำคัญที่ไทยสามารถนำเข้าบรรจุไว้ในเอกสารปฏิญญากรุงเทพ ทั้งที่เสนอผ่านกลุ่ม 77 และที่แก้ไขปรับปรุงจากข้อเสนอของกลุ่มอื่น ๆ ภายใต้การดำเนินการประสานงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แก่
1. การปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับชาติ และเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกทั้งหมดมีความรับผิดชอบ ที่จะต้องทำให้มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมของโลกมีสภาวะที่เอื้ออำนวย โดยเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน การแข่งขัน และการเงิน รวมทั้งก่อให้เกิดเสถียรภาพของค่าเงินเพื่อทำให้โลกาภิวัฒน์มีประสิทธิภาพและมีความเสมอภาคมากขึ้น
2. เรื่องระบบการค้าพหุภาคีที่จะให้ประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างทั่วถึง คณะผู้แทนไทยได้เสนอให้มีการปรับปรุงข้อความในร่างแรกซึ่งกล่าวถึงระบบการค้าพหุภาคีภายใต้ความตกลง WTO ไว้น้อยมาก โดยได้เสนอให้เพิ่มข้อความที่จะทำให้เป็นหลักประกันว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะสามารถรับประโยชน์จากระบบดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ได้แก่เรื่องการขยายตลาดสินค้าและบริการให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา การแก้ไขประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ
3. คณะผู้แทนไทยได้ย้ายข้อความที่ว่า "เราทั้งหลายได้ตกลงกันในแผนปฏิบัติการที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการสำหรับกระบวนการดังกล่าวแล้ว" จากเดิมที่อยู่ในย่อหน้าว่าด้วยกิจกรรมของสำนักเลขาธิการอังค์ถัดมาอยู่ในย่อหน้าสุดท้าย ซึ่งเป็นย่อหน้าที่รัฐสมาชิกอังค์ถัดทั้งหมดแสดงเจตนารมย์ที่จะร่วมมือกันในการดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจที่ได้แถลงไว้ในย่อหน้าก่อน ๆ ซึ่งทำให้แผนปฏิบัติการกรุงเทพมีผลผูกพันสมาชิกอังค์ถัดทั้งหมด มิใช่เป็นเพียงแค่แผนปฏิบัติการของสำนักเลขาธิการอังค์ถัดเท่านั้น
4. สำหรับประเด็นสำคัญที่ไทยสามารถเจรจานำไปบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการกรุงเทพได้สำเร็จคือ เรื่องวิกฤตการทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงวิกฤตการณ์ครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในเอเซีย ได้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศในการปรับปรุงระบบการเงินระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะป้องกันวิกฤต และเตรียมกลไกในการรับมือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมทั้งให้ระบบการเงินนี้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการพัฒนาด้วย ซึ่งเป็นจากความพยายามของคณะผู้แทนไทยที่ได้เจรจาให้มีข้อความดังกล่าวไว้ในแผนปฏิบัติการกรุงเทพ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับไทย และเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวข้อมาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--