ทำเนียบรัฐบาล--22 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ
2. มติคณะรัฐมนตรีไดขัดหรือแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้แทน และในการออกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับป่าชายเลนฉบับใหม่ ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้เป็นหลัก
3. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543เรื่อง เงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในการบังคับและจัดการป่าชายเลน
สาระสำคัญของกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน มีดังนี้
ประธานคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์) ได้เชิญประธานคณะอนุกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ) และอธิบดีกรมป่าไม้ (นายปลอดประสพสุรัสวดี) เข้าหารือ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในรายละเอียดของเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลจำนวน 12 ข้อ โดยในการประชุมหารือมีความเห็นร่วมกันให้ปรับปรุงเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 จำนวน 12 ข้อไปปฏิบัติให้บังเกิดผลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ควรให้คงไว้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ
2. เพื่อสนองนโยบายการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งของราษฎรที่ได้เข้าครอบครองอาศัยพื้นที่ทำกินในเขตป่าชายเลนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในกรณีการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงเห็นควรให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1. ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในการใช้บังคับและการจัดการป่าชายเลนในเบื้องต้น จำนวน 7 ข้อ ดังนี้
2.1 ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนและประสงค์จะดำเนินการต่อ คงมีสิทธิ์ทำไม้ต่อไปจนสิ้นอายุสัมปทาน โดยให้กรมป่าไม้กวดขันดูแลมิให้มีการกระทำผิดเงื่อนไขสัมปทานที่กำหนดโดยเคร่งครัด และหากพบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขใด ๆ ให้เพิกถอนทันที
2.2 ให้ผู้ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลนดำเนินการต่อไปจนสิ้นอายุประทานบัตรโดยให้กรมทรัพยากรธรณีกวดขันดูแลมิให้มีการกระทำผิดเงื่อนไขประทานบัตร และเจตนารมณ์ของกฎหมาย หากพบว่ามีการกระทำผิดให้เพิกถอนประทานบัตรทันที
2.3 ให้คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการกำหนดอัตราและเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าชายเลนในกรณีต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้พื้นที่และขนาดของพื้นที่ที่ใช้ รวมทั้งผลกระทบ และความสูญเสียสภาพความสมบูรณ์ของป่าชายเลนและสภาพแวดล้อมประกอบด้วย โดยให้นำรายได้จากการเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวสมทบสนับสนุนการปลูก ฟื้นฟู และการอนุรักษ์ป่าชายเลนของกรมป่าไม้
2.4 ในพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลังแนวเขตป่าชายเลนที่ราษฎรบุกรุกพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเอกชน ให้กรมประมง กรมป่าไม้ และกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกันดูแล และจัดให้มีระบบน้ำ ระบบบำบัด และระบบกำจัดของเสีย เพื่อรักษาสภาพป่าชายเลน และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.5 ให้นำพื้นที่ป่าชายเลนที่จำแนกออกเป็นเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 พื้นที่งอกชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ให้กรมป่าไม้กันไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู มารวมเป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้งหมด เว้นแต่บริเวณพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ให้กรมป่าไม้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตอนุรักษ์ให้แจ้งชัด รวมทั้งแสดงแนวเขตพื้นที่ที่อนุญาตให้ราษฎรเข้าอาศัยทำกินเพื่อจัดเป็นเขตกันชน ให้กรมป่าไม้เร่งรัดจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตดังกล่าวให้เสร็จโดยเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องไม่ช้ากว่า 1 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และให้จัดส่งแผนที่ที่ทำเสร็จแล้วให้หน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณประจำปีให้กรมป่าไม้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
2.6 ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตามข้อ 2.5 ห้ามมิให้อนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณีทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเปิดโอกาสให้ป่าชายเลนได้ฟื้นตัวกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ อันจะเป็นการเกื้อกูลการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2.7 ความข้อใดในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 เรื่องรายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ รวมทั้งมติอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับเงื่อนไขเพิ่มเติมข้างต้นซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ถือตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าวข้างต้น
สำหรับมาตรการอื่น และวิธีดำเนินการ มอบให้คณะกรรมการป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ
2. มติคณะรัฐมนตรีไดขัดหรือแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้แทน และในการออกมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับป่าชายเลนฉบับใหม่ ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้เป็นหลัก
3. เห็นชอบตามมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543เรื่อง เงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในการบังคับและจัดการป่าชายเลน
สาระสำคัญของกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน มีดังนี้
ประธานคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์) ได้เชิญประธานคณะอนุกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ) และอธิบดีกรมป่าไม้ (นายปลอดประสพสุรัสวดี) เข้าหารือ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2543 เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในรายละเอียดของเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลจำนวน 12 ข้อ โดยในการประชุมหารือมีความเห็นร่วมกันให้ปรับปรุงเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 จำนวน 12 ข้อไปปฏิบัติให้บังเกิดผลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงยิ่งขึ้น ดังนี้
1. ควรให้คงไว้ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ
2. เพื่อสนองนโยบายการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งของราษฎรที่ได้เข้าครอบครองอาศัยพื้นที่ทำกินในเขตป่าชายเลนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในกรณีการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงเห็นควรให้เพิ่มเติมเงื่อนไขในการนำมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1. ไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมในการใช้บังคับและการจัดการป่าชายเลนในเบื้องต้น จำนวน 7 ข้อ ดังนี้
2.1 ให้ผู้ได้รับสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนและประสงค์จะดำเนินการต่อ คงมีสิทธิ์ทำไม้ต่อไปจนสิ้นอายุสัมปทาน โดยให้กรมป่าไม้กวดขันดูแลมิให้มีการกระทำผิดเงื่อนไขสัมปทานที่กำหนดโดยเคร่งครัด และหากพบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขใด ๆ ให้เพิกถอนทันที
2.2 ให้ผู้ได้รับประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ป่าชายเลนดำเนินการต่อไปจนสิ้นอายุประทานบัตรโดยให้กรมทรัพยากรธรณีกวดขันดูแลมิให้มีการกระทำผิดเงื่อนไขประทานบัตร และเจตนารมณ์ของกฎหมาย หากพบว่ามีการกระทำผิดให้เพิกถอนประทานบัตรทันที
2.3 ให้คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการกำหนดอัตราและเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์พื้นที่ในเขตป่าชายเลนในกรณีต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการใช้พื้นที่และขนาดของพื้นที่ที่ใช้ รวมทั้งผลกระทบ และความสูญเสียสภาพความสมบูรณ์ของป่าชายเลนและสภาพแวดล้อมประกอบด้วย โดยให้นำรายได้จากการเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวสมทบสนับสนุนการปลูก ฟื้นฟู และการอนุรักษ์ป่าชายเลนของกรมป่าไม้
2.4 ในพื้นที่ที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหลังแนวเขตป่าชายเลนที่ราษฎรบุกรุกพื้นที่กรรมสิทธิ์ของเอกชน ให้กรมประมง กรมป่าไม้ และกรมควบคุมมลพิษ ร่วมกันดูแล และจัดให้มีระบบน้ำ ระบบบำบัด และระบบกำจัดของเสีย เพื่อรักษาสภาพป่าชายเลน และคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.5 ให้นำพื้นที่ป่าชายเลนที่จำแนกออกเป็นเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 พื้นที่งอกชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นใหม่ให้กรมป่าไม้กันไว้เป็นพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู มารวมเป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้งหมด เว้นแต่บริเวณพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ในกรณีต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ ให้กรมป่าไม้จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตอนุรักษ์ให้แจ้งชัด รวมทั้งแสดงแนวเขตพื้นที่ที่อนุญาตให้ราษฎรเข้าอาศัยทำกินเพื่อจัดเป็นเขตกันชน ให้กรมป่าไม้เร่งรัดจัดทำแผนที่แสดงแนวเขตดังกล่าวให้เสร็จโดยเร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องไม่ช้ากว่า 1 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และให้จัดส่งแผนที่ที่ทำเสร็จแล้วให้หน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเคร่งครัด และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณประจำปีให้กรมป่าไม้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน
2.6 ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ตามข้อ 2.5 ห้ามมิให้อนุญาตการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าชายเลนในทุกกรณีทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเปิดโอกาสให้ป่าชายเลนได้ฟื้นตัวกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ อันจะเป็นการเกื้อกูลการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2.7 ความข้อใดในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 เรื่องรายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ รวมทั้งมติอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับเงื่อนไขเพิ่มเติมข้างต้นซึ่งถ้าคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบให้ถือตามเงื่อนไขเพิ่มเติมดังกล่าวข้างต้น
สำหรับมาตรการอื่น และวิธีดำเนินการ มอบให้คณะกรรมการป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 22 ส.ค. 2543--
-สส-