ทำเนียบรัฐบาล--28 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) เสนอ ผลการเจรจาระหว่างคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกเอกชนรับสัมปทานลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายหัวลำโพง - ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - บางซื่อ) กับ บริษัท BMCL นั้น ให้ถือว่า เป็นข้อยุติตามขั้นตอนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ทั้งนี้ ผลการเจรจาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. ผลการตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และความถูกต้องของข้อเสนอตามเงื่อนไขของการประกวดราคา (TOR)
1.1 ในเบื้องต้นอัยการสูงสุดได้สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้ามหานครว่าเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ ซึ่งปรากฏจากคำรับรองของผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายหัวลำโพง - ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - บางซื่อ) ของ รฟม.ได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
1.2 รับทราบผลการตรวจสอบของอัยการสูงสุดว่า ข้อเสนอของบริษัท BMCL และผลการเจรจาต่อรองที่ รฟม.(คณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ ) ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เป็นไปตามเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) คงมีเพียงบางประเด็นที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ใน TOR หรือ TOR กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น อัตราค่าโดยสาร การปรับอัตราค่าโดยสาร การรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการแบ่งผลกำไรส่วนเกิน เป็นต้น แต่ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ ที่สามารถจะเจรจาต่อรองกับผู้ยื่นประกวดราคาในประเด็นนั้นๆ ได้ตามพระราชบัญญัติในข้อ 1.1 (รวมทั้งการออก ADDENDUM ด้วย)
2. ผลการเจรจาต่อรองและผลพิจารณาของคณะกรรมการ 12 คน
คณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ (กรรมการ 12 คน) ได้พิจารณาข้อสังเกตต่างๆ ทั้งหมด ประกอบกับผลการเจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL แล้ว เห็นว่าคงมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณา รวมทั้งสิ้น 10 ข้อ ได้แก่
1) อัตราดอกเบี้ย เห็นชอบอัตราดอกเบี้ยที่ 8.55% แต่ควรถือเป็นเพดานขั้นสูง (CAP) ซึ่งบริษัท BMCL จะต้องไปเจรจากับแหล่งเงินกู้ให้ได้อัตราดอกเบี้ยจริงที่ถูกที่สุดต่อไป และหากได้รับอัตราถูกลงก็ควรจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือสูตรที่เหมาะสมเพื่อแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ระหว่างรัฐกับบริษัท BMCL เกี่ยวกับผลตอบแทนการลงทุน
2) การปรับลดวงเงินลงทุน เห็นชอบวงเงินลงทุนที่ 25,000 ล้านบาท ซึ่งผลการจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL ยืนยันว่าไม่สามารถปรับลดลงได้ เนื่องจากวงเงินลงทุนดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้ เมื่อพิจารณาถึงภาระการลงทุน ตามประมาณการค่าใช้จ่ายในรายการหลัก เช่น ค่าระบบรถไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายก่อนเริ่มเปิดบริการเดินรถ และค่าดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น
3) การจำหน่ายหุ้น บริษัท BMCL อาจจำหน่ายหุ้นของโครงการในตลาดหลักทรัพย์จนอาจจะกระทบต่อความเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการ ซึ่งผลการเจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL แจ้งว่า ตามร่างสัญญาสัมปทานฯ กำหนดให้ผู้ถือหุ้นเดิม (บริษัท BMCL) จะต้องคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 51% จนกว่าจะเริ่มเปิดบริการเดินรถอยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ เห็นว่า หลักเกณฑ์ตามร่างสัญญาสัมปทานเดิมน่าจะยอมรับได้ เนื่องจากบริษัท BMCL ในฐานะคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบการดำเนินการของโครงการนี้ ตามสัญญาย่อยต่างๆ ซึ่งจะต้องลงนามกับ รฟม.อยู่แล้ว 4) ผลตอบแทนที่ให้แก่รัฐ เห็นว่า ผลตอบแทนที่บริษัท BMCL เสนอให้แก่รัฐอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้ คือ ควรมีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวน 24,000 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท/เหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งผลการเจรจาฯ ต่อรองบริษัท BMCL ยืนยันว่า ผลตอบแทนที่บริษัทได้เสนอไว้เป็นจำนวน 11,788 ล้านบาท หากคำนวณเปรียบเทียบบนฐานเดียวกันจะมีมูลค่าใกล้เคียง หรือสูงกว่า ที่ รฟม.ได้ประเมินไว้
5) ผลตอบแทนการลงทุน รับทราบและเห็นชอบผลตอบแทนการลงทุน คือ ลดลงจาก 14.75% อีกได้ ซึ่งผลการเจรจาฯ บริษัท BMCL ยืนยันว่า ผลตอบแทนที่เสนอไว้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากแล้ว
6) อัตราค่าโดยสาร เห็นชอบให้กลับมาใช้อัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดไว้ใน TOR โดยเน้นปรับอัตราค่าโดยสารให้ถูกลง เพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งจากการเจรจาฯ บริษัท BMCL ยินดีที่จะปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็นกรณีพิเศษ 15% จากอัตราค่าโดยสารปกติ เป็นเวลา 1 ปี เมื่อเริ่มเปิดบริการเดินรถ
7) การปรับอัตราค่าโดยสาร เห็นควรให้ปรับอัตราค่าโดยสารตามเงื่อนไข TOR คือเป็นไปตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริงในแต่และปี (real term) แต่ไม่เกิน 4% ต่อปี โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อภาระการลงทุนที่แท้จริงของบริษัทฯ เป็นหลัก
8) จำนวนผู้โดยสาร เห็นชอบให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้โดยสารที่ใช้ประเมินรายได้ของบริษัท BMCL ตามเดิม คือ 430,000 คน (ณ ปี 2545)
9) การรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เห็นชอบให้ใช้วิธีการจัดตั้งเป็นบัญชีสำรองเตรียมไว้เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยจะต้องมีระบบบัญชีคุมยอดสะสมส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตลอด ณ วันที่ได้มีการกู้เงินจริงจนถึงวันที่ได้มีการส่งคืนเงินกู้ เพื่อให้สามารถนำผลกำไร/ขาดทุน ที่ได้จากส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาดังกล่าว มาหักลบกลบหนี้กันให้เหลือผลการขาดทุนที่แท้จริง (ถ้ามี) ก่อน ทั้งนี้ ให้ใช้เฉพาะในช่วงที่ต้องชดใช้เงินกู้แก่ต่างประเทศเท่านั้นไม่ใช่ตลอดอายุสัมปทาน รวมทั้งไม่ให้นำเอาความผันผวนดังกล่าว มาเป็นเงื่อนไขในการขอปรับราคาค่าโดยสารเพิ่มเติมด้วย
10) ความเสียหายของโครงการ รับทราบข้อมูลในกรณีเกิดความล่าช้าตามที่ รฟม. ชี้แจง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่องค์การรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.) เสนอ ผลการเจรจาระหว่างคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกเอกชนรับสัมปทานลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายหัวลำโพง - ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - บางซื่อ) กับ บริษัท BMCL นั้น ให้ถือว่า เป็นข้อยุติตามขั้นตอนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ทั้งนี้ ผลการเจรจาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1. ผลการตรวจสอบความถูกต้องของการปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และความถูกต้องของข้อเสนอตามเงื่อนไขของการประกวดราคา (TOR)
1.1 ในเบื้องต้นอัยการสูงสุดได้สอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้ามหานครว่าเป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือไม่ ซึ่งปรากฏจากคำรับรองของผู้อำนวยการองค์การรถไฟฟ้ามหานคร ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ว่า โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายหัวลำโพง - ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ - บางซื่อ) ของ รฟม.ได้ดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
1.2 รับทราบผลการตรวจสอบของอัยการสูงสุดว่า ข้อเสนอของบริษัท BMCL และผลการเจรจาต่อรองที่ รฟม.(คณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ ) ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เป็นไปตามเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) คงมีเพียงบางประเด็นที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ใน TOR หรือ TOR กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น อัตราค่าโดยสาร การปรับอัตราค่าโดยสาร การรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการแบ่งผลกำไรส่วนเกิน เป็นต้น แต่ก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ ที่สามารถจะเจรจาต่อรองกับผู้ยื่นประกวดราคาในประเด็นนั้นๆ ได้ตามพระราชบัญญัติในข้อ 1.1 (รวมทั้งการออก ADDENDUM ด้วย)
2. ผลการเจรจาต่อรองและผลพิจารณาของคณะกรรมการ 12 คน
คณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ (กรรมการ 12 คน) ได้พิจารณาข้อสังเกตต่างๆ ทั้งหมด ประกอบกับผลการเจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL แล้ว เห็นว่าคงมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณา รวมทั้งสิ้น 10 ข้อ ได้แก่
1) อัตราดอกเบี้ย เห็นชอบอัตราดอกเบี้ยที่ 8.55% แต่ควรถือเป็นเพดานขั้นสูง (CAP) ซึ่งบริษัท BMCL จะต้องไปเจรจากับแหล่งเงินกู้ให้ได้อัตราดอกเบี้ยจริงที่ถูกที่สุดต่อไป และหากได้รับอัตราถูกลงก็ควรจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือสูตรที่เหมาะสมเพื่อแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ระหว่างรัฐกับบริษัท BMCL เกี่ยวกับผลตอบแทนการลงทุน
2) การปรับลดวงเงินลงทุน เห็นชอบวงเงินลงทุนที่ 25,000 ล้านบาท ซึ่งผลการจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL ยืนยันว่าไม่สามารถปรับลดลงได้ เนื่องจากวงเงินลงทุนดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้ เมื่อพิจารณาถึงภาระการลงทุน ตามประมาณการค่าใช้จ่ายในรายการหลัก เช่น ค่าระบบรถไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายก่อนเริ่มเปิดบริการเดินรถ และค่าดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างการก่อสร้าง เป็นต้น
3) การจำหน่ายหุ้น บริษัท BMCL อาจจำหน่ายหุ้นของโครงการในตลาดหลักทรัพย์จนอาจจะกระทบต่อความเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการ ซึ่งผลการเจรจาต่อรองกับบริษัท BMCL แจ้งว่า ตามร่างสัญญาสัมปทานฯ กำหนดให้ผู้ถือหุ้นเดิม (บริษัท BMCL) จะต้องคงสัดส่วนการถือหุ้นไว้ไม่น้อยกว่า 51% จนกว่าจะเริ่มเปิดบริการเดินรถอยู่แล้ว ซึ่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาผลการคัดเลือกฯ เห็นว่า หลักเกณฑ์ตามร่างสัญญาสัมปทานเดิมน่าจะยอมรับได้ เนื่องจากบริษัท BMCL ในฐานะคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบการดำเนินการของโครงการนี้ ตามสัญญาย่อยต่างๆ ซึ่งจะต้องลงนามกับ รฟม.อยู่แล้ว 4) ผลตอบแทนที่ให้แก่รัฐ เห็นว่า ผลตอบแทนที่บริษัท BMCL เสนอให้แก่รัฐอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นไปได้ คือ ควรมีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวน 24,000 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท/เหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งผลการเจรจาฯ ต่อรองบริษัท BMCL ยืนยันว่า ผลตอบแทนที่บริษัทได้เสนอไว้เป็นจำนวน 11,788 ล้านบาท หากคำนวณเปรียบเทียบบนฐานเดียวกันจะมีมูลค่าใกล้เคียง หรือสูงกว่า ที่ รฟม.ได้ประเมินไว้
5) ผลตอบแทนการลงทุน รับทราบและเห็นชอบผลตอบแทนการลงทุน คือ ลดลงจาก 14.75% อีกได้ ซึ่งผลการเจรจาฯ บริษัท BMCL ยืนยันว่า ผลตอบแทนที่เสนอไว้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากแล้ว
6) อัตราค่าโดยสาร เห็นชอบให้กลับมาใช้อัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดไว้ใน TOR โดยเน้นปรับอัตราค่าโดยสารให้ถูกลง เพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้บริการ ซึ่งจากการเจรจาฯ บริษัท BMCL ยินดีที่จะปรับลดอัตราค่าโดยสารเป็นกรณีพิเศษ 15% จากอัตราค่าโดยสารปกติ เป็นเวลา 1 ปี เมื่อเริ่มเปิดบริการเดินรถ
7) การปรับอัตราค่าโดยสาร เห็นควรให้ปรับอัตราค่าโดยสารตามเงื่อนไข TOR คือเป็นไปตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริงในแต่และปี (real term) แต่ไม่เกิน 4% ต่อปี โดยคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อภาระการลงทุนที่แท้จริงของบริษัทฯ เป็นหลัก
8) จำนวนผู้โดยสาร เห็นชอบให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้โดยสารที่ใช้ประเมินรายได้ของบริษัท BMCL ตามเดิม คือ 430,000 คน (ณ ปี 2545)
9) การรับความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เห็นชอบให้ใช้วิธีการจัดตั้งเป็นบัญชีสำรองเตรียมไว้เพื่อแก้ปัญหาความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยจะต้องมีระบบบัญชีคุมยอดสะสมส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตลอด ณ วันที่ได้มีการกู้เงินจริงจนถึงวันที่ได้มีการส่งคืนเงินกู้ เพื่อให้สามารถนำผลกำไร/ขาดทุน ที่ได้จากส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาดังกล่าว มาหักลบกลบหนี้กันให้เหลือผลการขาดทุนที่แท้จริง (ถ้ามี) ก่อน ทั้งนี้ ให้ใช้เฉพาะในช่วงที่ต้องชดใช้เงินกู้แก่ต่างประเทศเท่านั้นไม่ใช่ตลอดอายุสัมปทาน รวมทั้งไม่ให้นำเอาความผันผวนดังกล่าว มาเป็นเงื่อนไขในการขอปรับราคาค่าโดยสารเพิ่มเติมด้วย
10) ความเสียหายของโครงการ รับทราบข้อมูลในกรณีเกิดความล่าช้าตามที่ รฟม. ชี้แจง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2543--