คณะรัฐมนตรีพิจารณาผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับการแปลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542ตามที่คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ เพื่อให้ ปตท. สามารถจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ทันภายในวันที่1 ตุลาคม 2544 ตามที่กำหนด แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบตามนัยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในเรื่องการดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดของการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. อาทิเช่น การกำหนดกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดและสินทรัพย์ การกำหนดพนักงาน การกำหนดทุนเรือนหุ้น และมูลค่าหุ้น เป็นต้น
2. เห็นชอบตามผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ให้ภาครัฐถือครองหุ้นใน บมจ. ปตท. มากกว่าร้อยละ 51
2) ให้คงสถานะของ บมจ. ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และได้รับสิทธิพิเศษตามสถานะดังกล่าวต่อไป
3) สิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้ บมจ. ปตท. ได้รับเช่นเดียวกันจนกว่าจะพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ
4) ให้มีการดำเนินการภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้การโอนกิจการจาก ปตท. ให้กับบมจ. ปตท. และบริษัทที่จัดตั้งใหม่ปราศจากภาระภาษีและค่าธรรมเนียม
5) เห็นชอบในหลักการให้ บมจ. ปตท. ดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องนำคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับ แต่ให้บริษัทจัดให้มีกฎระเบียบของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการพัสดุ การงบประมาณ การเงินและบัญชี และการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นการได้รับการผ่อนคลายเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด
3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ที่จะจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 13(3) ของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จนกว่าพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะมีผลบังคับใช้
4. อนุมัติให้เปลี่ยนทุนของ ปตท. เป็นหุ้นและจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
1. เห็นชอบตามนัยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในเรื่องการดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดของการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. อาทิเช่น การกำหนดกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดและสินทรัพย์ การกำหนดพนักงาน การกำหนดทุนเรือนหุ้น และมูลค่าหุ้น เป็นต้น
2. เห็นชอบตามผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ให้ภาครัฐถือครองหุ้นใน บมจ. ปตท. มากกว่าร้อยละ 51
2) ให้คงสถานะของ บมจ. ปตท. เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และได้รับสิทธิพิเศษตามสถานะดังกล่าวต่อไป
3) สิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้ บมจ. ปตท. ได้รับเช่นเดียวกันจนกว่าจะพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ
4) ให้มีการดำเนินการภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่เพื่อให้การโอนกิจการจาก ปตท. ให้กับบมจ. ปตท. และบริษัทที่จัดตั้งใหม่ปราศจากภาระภาษีและค่าธรรมเนียม
5) เห็นชอบในหลักการให้ บมจ. ปตท. ดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องนำคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับ แต่ให้บริษัทจัดให้มีกฎระเบียบของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการพัสดุ การงบประมาณ การเงินและบัญชี และการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นการได้รับการผ่อนคลายเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจที่แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด
3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ที่จะจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 13(3) ของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 จนกว่าพระราชบัญญัติบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติจะมีผลบังคับใช้
4. อนุมัติให้เปลี่ยนทุนของ ปตท. เป็นหุ้นและจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-