ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบโครงการศึกษาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
จังหวัดเชียงราย ตามที่คณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดนเสนอ และเห็นควรให้มีการศึกษาความเหมาะสมและแผน
แม่บทเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงรายโดยเร็ว และขออนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการศึกษาโครงการจากงบ
กลางปี 2543 จำนวนเงิน 10 ล้านบาท
สำหรับสาระสำคัญของโครงการศึกษาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย มีดังนี้
1. เหตุผล/ความจำเป็น
1.1 เพื่อรองรับโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจไทย - พม่า - ลาว - จีน ซึ่งเกิดจากแนวคิด
ของทั้ง 4 ประเทศ ที่จะมุ่งหมายเครือข่ายระบบคมนาคมระหว่างกัน เพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และประชาชน
ระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว อันเป็นพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมการค้า และการลงทุนในภูมิภาคให้
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
1.2 ปัจจุบันโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐ
กิจได้มีการริเริ่มดำเนินการมาช้านาน และกำลังจะมีผลสำเร็จเสร็จสิ้นในปีนี้ ได้แก่
1) ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน คาดว่าจะมีการลงนามในต้นปี 2543 ที่
ประเทศพม่า
2) การก่อสร้างถนนสายท่าขี้เหล็ก - เชียงตุง ในประเทศพม่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก รัฐบาลพม่า
ได้ตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2543
3) การพัฒนาเส้นทางคมนาคมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างไทยกับจีน พม่า และลาว
เป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยลดระยะทางและต้นทุนค่าขนส่งสินค้าจากไทยไปยังมณฑลยูนนาน และมณฑลต่าง ๆ ทางภาคตะวันตก
เฉียงใต้ของจีนลงได้มาก จากเดิมที่ใช้การขนส่งทางทะเล ซึ่งต้องขนส่งเป็นระยะทางไกล มาเป็นการขนส่งทางถนน สายท่า
ขี้เหล็ก - เชียงตุง - ต้าลั่วและทางแม่น้ำโขงแทน โดยมีการเปรียบเทียบระยะทางการขนส่งสินค้าโดยเส้นทางต่าง ๆ ดังนี้
เส้นทางขนส่งสินค้าจากไทยไปยังมณฑลยูนนาน ระยะทาง (กิโลเมตร)
1. การขนส่งทางทะเล (ท่าเรือกรุงเทพฯ - ฮ่องกง - คุนหมิง) 4,800
(ท่าเรือกรุงเทพฯ - ท่าเรือฮ่องกง) 2,800
(ต่อรถไฟจากฮ่องกง - คุนหมิง มณฑลยูนนาน) 2,000
2. การขนส่งทางแม่น้ำโขง (จากอำเภอเชียงแสน - เมืองเชียงรุ้ง
มณฑลยูนนาน) 380
3. การขนส่งทางถนนสายท่าขี้เหล็ก - เชียงตุง - ต้าลั่ว มณฑลยูนนาน 248
2. ศักยภาพของจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงรายมีความเหมาะสมเป็นสถานที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยมีเหตุผล ดังนี้
1) สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ
2) พื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมีขนาดใหญ่ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย
(GrossProvincial Product, GPP) ในปี 2539 จำนวน 33,294 ล้านบาท สามารถรองรับกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
3) จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าการค้าชายแดนมากเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ โดยทำการค้ากับทั้ง 3
ประเทศ ได้แก่ พม่า จีน และลาว ทั้งนี้ ในปี 2542 (ม.ค. - พ.ย.) จังหวัดเชียงรายมีมูลค่าการส่งออก 2,515 ล้านบาท
มูลค่าการนำเข้า881 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้า 1,634 ล้านบาท
4) จังหวัดเชียงรายมีจำนวนประชากร 1,261,138 คน มากเป็นอันดับ 2 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดเชียง
ใหม่จึงมีความพร้อมในด้านแรงงานเพื่อรองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนโดยไม่ต้องพึ่งพา
แรงงานต่างชาติ
5) ประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย โดย
เฉพาะในอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้
กรอบโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ มีความต้องการและสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณาจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในฐานะที่ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็น
ประตู (Gateway) เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจกับ
ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จัดตั้งขึ้นจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้
1) เป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
2) เป็นฐานในการผลิตสินค้าและระบายสินค้าดังกล่าวไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง
3) เป็นฐานในการผลิตสินค้า โดยอาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกในต่าง
ประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ
4) เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทั้งโครงการลงทุนของไทย และการลงทุนจากต่างประ
เทศที่จะเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้
5) เป็นศูนย์กลางหรือทางพัก/ผ่าน เพื่อการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค
6) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบโครงการศึกษาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
จังหวัดเชียงราย ตามที่คณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดนเสนอ และเห็นควรให้มีการศึกษาความเหมาะสมและแผน
แม่บทเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงรายโดยเร็ว และขออนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการศึกษาโครงการจากงบ
กลางปี 2543 จำนวนเงิน 10 ล้านบาท
สำหรับสาระสำคัญของโครงการศึกษาการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย มีดังนี้
1. เหตุผล/ความจำเป็น
1.1 เพื่อรองรับโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจไทย - พม่า - ลาว - จีน ซึ่งเกิดจากแนวคิด
ของทั้ง 4 ประเทศ ที่จะมุ่งหมายเครือข่ายระบบคมนาคมระหว่างกัน เพื่อให้การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และประชาชน
ระหว่างประเทศสมาชิกเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว อันเป็นพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมการค้า และการลงทุนในภูมิภาคให้
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
1.2 ปัจจุบันโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ภายใต้กรอบโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐ
กิจได้มีการริเริ่มดำเนินการมาช้านาน และกำลังจะมีผลสำเร็จเสร็จสิ้นในปีนี้ ได้แก่
1) ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน คาดว่าจะมีการลงนามในต้นปี 2543 ที่
ประเทศพม่า
2) การก่อสร้างถนนสายท่าขี้เหล็ก - เชียงตุง ในประเทศพม่า ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก รัฐบาลพม่า
ได้ตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2543
3) การพัฒนาเส้นทางคมนาคมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างไทยกับจีน พม่า และลาว
เป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยลดระยะทางและต้นทุนค่าขนส่งสินค้าจากไทยไปยังมณฑลยูนนาน และมณฑลต่าง ๆ ทางภาคตะวันตก
เฉียงใต้ของจีนลงได้มาก จากเดิมที่ใช้การขนส่งทางทะเล ซึ่งต้องขนส่งเป็นระยะทางไกล มาเป็นการขนส่งทางถนน สายท่า
ขี้เหล็ก - เชียงตุง - ต้าลั่วและทางแม่น้ำโขงแทน โดยมีการเปรียบเทียบระยะทางการขนส่งสินค้าโดยเส้นทางต่าง ๆ ดังนี้
เส้นทางขนส่งสินค้าจากไทยไปยังมณฑลยูนนาน ระยะทาง (กิโลเมตร)
1. การขนส่งทางทะเล (ท่าเรือกรุงเทพฯ - ฮ่องกง - คุนหมิง) 4,800
(ท่าเรือกรุงเทพฯ - ท่าเรือฮ่องกง) 2,800
(ต่อรถไฟจากฮ่องกง - คุนหมิง มณฑลยูนนาน) 2,000
2. การขนส่งทางแม่น้ำโขง (จากอำเภอเชียงแสน - เมืองเชียงรุ้ง
มณฑลยูนนาน) 380
3. การขนส่งทางถนนสายท่าขี้เหล็ก - เชียงตุง - ต้าลั่ว มณฑลยูนนาน 248
2. ศักยภาพของจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงรายมีความเหมาะสมเป็นสถานที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยมีเหตุผล ดังนี้
1) สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านได้ทั้งทางบก ทางน้ำ
และทางอากาศ
2) พื้นฐานทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมีขนาดใหญ่ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเชียงราย
(GrossProvincial Product, GPP) ในปี 2539 จำนวน 33,294 ล้านบาท สามารถรองรับกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
3) จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีมูลค่าการค้าชายแดนมากเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ โดยทำการค้ากับทั้ง 3
ประเทศ ได้แก่ พม่า จีน และลาว ทั้งนี้ ในปี 2542 (ม.ค. - พ.ย.) จังหวัดเชียงรายมีมูลค่าการส่งออก 2,515 ล้านบาท
มูลค่าการนำเข้า881 ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้า 1,634 ล้านบาท
4) จังหวัดเชียงรายมีจำนวนประชากร 1,261,138 คน มากเป็นอันดับ 2 ของภาคเหนือรองจากจังหวัดเชียง
ใหม่จึงมีความพร้อมในด้านแรงงานเพื่อรองรับกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนโดยไม่ต้องพึ่งพา
แรงงานต่างชาติ
5) ประชาชนชาวจังหวัดเชียงราย และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย โดย
เฉพาะในอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้
กรอบโครงการความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ มีความต้องการและสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณาจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในฐานะที่ประเทศไทยมีความเหมาะสมที่จะเป็น
ประตู (Gateway) เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจกับ
ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เขตเศรษฐกิจพิเศษที่จัดตั้งขึ้นจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังนี้
1) เป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
2) เป็นฐานในการผลิตสินค้าและระบายสินค้าดังกล่าวไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านและพื้นที่ใกล้เคียง
3) เป็นฐานในการผลิตสินค้า โดยอาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกในต่าง
ประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ
4) เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทั้งโครงการลงทุนของไทย และการลงทุนจากต่างประ
เทศที่จะเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้
5) เป็นศูนย์กลางหรือทางพัก/ผ่าน เพื่อการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวระดับภูมิภาค
6) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--