แท็ก
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงคมนาคม
ทำเนียบรัฐบาล--18 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขคำนิยาม "การขนส่งทางทะเล" ให้มีความหมายรวมถึง การขนส่งคนโดยสารและการขนส่งทางทะเลชายฝั่งในราชอาณาจักร
2. แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี เพิ่มผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชยนาวี ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรมเจ้าท่า และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
3. เพิ่มหน้าที่ของสำนักงาน และคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีให้มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการท่าเรือ และพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการท่าเรือตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป (เดิมห้าร้อยตันกรอส)
4. เพิ่มบทบัญญัติในเรื่องการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล และกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางทะเลเช่น การประกอบกิจการรับจัดการขนส่ง ท่าเรือบก เป็นต้น
5. เพิ่มบทกำหนดโทษ ผู้ที่ประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังกำหนดโทษปรับสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และผู้ประกอบกิจการพาณิชยนาวีที่มีกฎกระทรวงกำหนดเพิ่มขึ้นภายหลังที่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจดทะเบียนแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการประกอบกิจการ
6. เพิ่มบทบัญญัติ มิให้นำมาตราที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีไปใช้บังคับในทางที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 มกราคม 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 ดังต่อไปนี้
1. แก้ไขคำนิยาม "การขนส่งทางทะเล" ให้มีความหมายรวมถึง การขนส่งคนโดยสารและการขนส่งทางทะเลชายฝั่งในราชอาณาจักร
2. แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี เพิ่มผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชยนาวี ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กรมเจ้าท่า และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
3. เพิ่มหน้าที่ของสำนักงาน และคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีให้มีหน้าที่กำกับดูแลกิจการท่าเรือ และพิจารณาอนุญาตการประกอบกิจการท่าเรือตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป (เดิมห้าร้อยตันกรอส)
4. เพิ่มบทบัญญัติในเรื่องการจดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล และกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางทะเลเช่น การประกอบกิจการรับจัดการขนส่ง ท่าเรือบก เป็นต้น
5. เพิ่มบทกำหนดโทษ ผู้ที่ประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังกำหนดโทษปรับสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการท่าเรือที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และผู้ประกอบกิจการพาณิชยนาวีที่มีกฎกระทรวงกำหนดเพิ่มขึ้นภายหลังที่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจดทะเบียนแล้วแต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการประกอบกิจการ
6. เพิ่มบทบัญญัติ มิให้นำมาตราที่เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีไปใช้บังคับในทางที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 มกราคม 2543--