แท็ก
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คณะกรรมการกฤษฎีกา
รัฐธรรมนูญ
รัฐสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 1) และข้อสังเกตเกี่ยวกับฐานะของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้ขอหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณี นายสุชัย ยอดโพธิ์ทอง ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อขอให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีประเด็นว่า คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้อำนวยการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนลูกจ้างของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะถือว่าเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ มาตรา 16 หรือไม่อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น แม้จะจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และเป็นนิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 ก็ตามแต่ก็มิได้มีการจัดให้เป็น "หน่วยราชการ" ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่น ฉะนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงมิใช่หน่วยราชการ
2. ส่วนที่ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น "รัฐวิสาหกิจ" หรือไม่คณะกรรมการกฤษฎีกา(กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 2) ได้เคยให้ความเห็นว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่เป็น "รัฐวิสาหกิจ"ฉะนั้น จึงมีความเห็นในทำนองเดียวกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 2) ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
3. สำหรับปัญหาที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น "หน่วยงานของรัฐ" หรือไม่ นั้น เมื่อได้พิจารณานิยาม "หน่วยงานของรัฐ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาฯ แล้ว ได้กำหนดให้หมายถึงหน่วยงานอื่นของรัฐนอกจากหน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น การที่บัญญัติไว้เช่นนี้กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะให้มีความหมายอย่างกว้าง โดยหน่วยงานของรัฐจะหมายถึงกิจการของรัฐทุกส่วนที่รวมกันขึ้นเป็นรัฐ ซึ่งมิได้หมายถึงแต่คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรการบริหารเท่านั้น แต่รวมถึงสถาบันอื่น เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย ฉะนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลจัดหาผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ จึงถือได้ว่าเป็น "หน่วยงานของรัฐ" ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีสถานะเป็นพิเศษมิได้ขึ้นอยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรีหรือกระทรวง ทบวง กรมใด และด้วยเหตุนี้ ผู้อำนวยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นพนักงานหรือลูกจ้างตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ ส่วนคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น โดยที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในรูปคณะกรรมการจึงมิใช่พนักงานหรือลูกจ้างตามมาตราดังกล่าว
อนึ่ง การที่มีความเห็นว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีข้อสังเกตว่า ในการเข้าไปตรวจสอบโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเกี่ยวกับกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นจะต้องคำนึงถึงสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 ซึ่งการจะพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เพียงใดนั้น ควรต้องเป็นไปตามพระราชประสงค์และต้องไม่เป็นการกระทบต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้ขอหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณี นายสุชัย ยอดโพธิ์ทอง ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเพื่อขอให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีประเด็นว่า คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้อำนวยการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนลูกจ้างของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะถือว่าเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ มาตรา 16 หรือไม่อย่างไร
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาแล้ว มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น แม้จะจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 และเป็นนิติบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491 ก็ตามแต่ก็มิได้มีการจัดให้เป็น "หน่วยราชการ" ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่น ฉะนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงมิใช่หน่วยราชการ
2. ส่วนที่ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น "รัฐวิสาหกิจ" หรือไม่คณะกรรมการกฤษฎีกา(กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 2) ได้เคยให้ความเห็นว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่เป็น "รัฐวิสาหกิจ"ฉะนั้น จึงมีความเห็นในทำนองเดียวกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ 2) ว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
3. สำหรับปัญหาที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น "หน่วยงานของรัฐ" หรือไม่ นั้น เมื่อได้พิจารณานิยาม "หน่วยงานของรัฐ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาฯ แล้ว ได้กำหนดให้หมายถึงหน่วยงานอื่นของรัฐนอกจากหน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจหรือของราชการส่วนท้องถิ่น การที่บัญญัติไว้เช่นนี้กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะให้มีความหมายอย่างกว้าง โดยหน่วยงานของรัฐจะหมายถึงกิจการของรัฐทุกส่วนที่รวมกันขึ้นเป็นรัฐ ซึ่งมิได้หมายถึงแต่คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรการบริหารเท่านั้น แต่รวมถึงสถาบันอื่น เช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐด้วย ฉะนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลจัดหาผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ จึงถือได้ว่าเป็น "หน่วยงานของรัฐ" ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีสถานะเป็นพิเศษมิได้ขึ้นอยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรีหรือกระทรวง ทบวง กรมใด และด้วยเหตุนี้ ผู้อำนวยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นพนักงานหรือลูกจ้างตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาฯ ส่วนคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น โดยที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในรูปคณะกรรมการจึงมิใช่พนักงานหรือลูกจ้างตามมาตราดังกล่าว
อนึ่ง การที่มีความเห็นว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภานี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) มีข้อสังเกตว่า ในการเข้าไปตรวจสอบโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเกี่ยวกับกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้นจะต้องคำนึงถึงสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว ทั้งนี้ เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 ซึ่งการจะพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เพียงใดนั้น ควรต้องเป็นไปตามพระราชประสงค์และต้องไม่เป็นการกระทบต่อองค์พระมหากษัตริย์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-