คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานความคืบหน้า และผลการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ในส่วนที่กระทรวงการคลังรับผิดชอบดำเนินการ คือ โครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยฯ โครงการธนาคารประชาชน และบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พร้อมปัญหา อุปสรรค และการแก้ไขสรุปได้ดังนี้
1. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยฯ
1.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ขณะนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาของการดำเนินการให้เกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ ยื่นแสดงความจำนงค์ในการเข้าร่วมโครงการแล้ว (เมษายน - มิถุนายน 2544) โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันสิ้นสุดของการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1) มีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 2,254,792 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.20 ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,368,412 ราย จำแนกเป็น
ก) เกษตรกรที่สมัครใจขอพักชำระหนี้ จำนวน 1,155,360 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.24 ของจำนวนเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
ข) เกษตรกรที่สมัครใจขอลดภาระหนี้ จำนวน 1,099,432 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.76 ของจำนวนเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
2) มีเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 113,620 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,368,412 ราย จำแนกเป็น
ก) เกษตรกรที่ไม่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ 23,784 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.93 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ข) เกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ 6,170 รายคิดเป็นร้อยละ 5.43 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ค) เกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ได้รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากมีเหตุผิดปกติส่วนตัว เช่น ตาย บวชไม่สึก ถูกบุคคลภายนอกดำเนินคดีต้องโทษจำคุก ป่วยหนัก เป็นต้น) ไปรับจ้างทำงานต่างจังหวัด และไปรับจ้างทำงานต่างประเทศ จำนวน 83,666 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.64 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้รายงานผลความคืบหน้า และผลการดำเนินงานตามที่กล่าวข้างต้นให้คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยทราบแล้ว ในการประชมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น ธ.ก.ส. จะเร่งรัดดำเนินการตามแนวทางและผลงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ โดยเร็วต่อไป
1.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
สำหรับเกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ได้รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว และมีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการฯ แต่ประสบปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุให้ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ นั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการแจ้งและติดตามให้เกษตรกรดังกล่าวหรือทายาทลงลายมือชื่อยืนยันการใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ โดยเร็ว ตามมติของคณะกรรมการกำกับดูแลติดตามการดำเนินการตามนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2544
2. รายงานผลการดำเนินงานโครงการธนาคารประชาชน
2.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานโครงการธนาคารประชาชน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 สรุปได้ ดังนี้
1) มีผู้สนใจมาสมัครเป็นสมาชิกโครงการธนาคารประชาชนแล้วจำนวน 402,439 ราย และมีจำนวนเงินฝากคงเหลือ 853,290,046 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินให้สินเชื่อเฉลี่ยต่อราย รายละ 13,836 บาท
2) มีสมาชิกโครงการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 66,890 ราย คิดเป็นจำนวนเงินอนุมัติสินเชื่อ 925,469,080 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินให้สินเชื่อเฉลี่ยต่อราย รายละ 13,836 บาท
2.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
1) เนื่องจากมีผู้สนใจขอสินเชื่อจากโครงการธนาคารประชาชนเป็นจำนวนมากทำให้บุคลากรของธนาคารออมสินที่มีอยู่ ไม่เพียงพอที่จะรองรับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งธนาคารออมสินจะดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับงานที่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มจำนวนบุคลากรในสาขาให้เพียงพอต่องานที่เพิ่มขึ้นต่อไป
2) ผู้ที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากโครงการธนาคารประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่ในชนบทส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในวิธีการ และหลักเกณฑ์ที่ธนาคารได้วางไว้ เช่นเข้าใจว่าจะได้รับอนุมัติเงินกู้ในทันที โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบประวัติ ซึ่งธนาคารออมสินได้กำหนดให้ผู้ที่จะมาขอรับสินเชื่อจากโครงการฯ ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับทางธนาคารออมสินก่อนเป็นเวลา 2 เดือน จึงจะสามารถดำเนินการขอสินเชื่อได้ ทำให้ประชาชนบางคนเข้าใจผิดว่าตนจะไม่ได้รับสินเชื่อ เนื่องจากไม่ได้มีการอนุมัติสินเชื่อในทันที ทำให้ประชาชนบางส่วนที่อยากได้รับสินเชื่อไม่มาติดต่อขอสินเชื่อเพราะเข้าใจผิดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หรือมีประชาชนบางส่วนเข้าใจว่าเป็นเงินกู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค บริโภคได้ ซึ่งธนาคารออมสินจะได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการขอสินเชื่อตามโครงการฯ นี้ เพื่อที่ประชาชนจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
3) มีผู้สมัครสมาชิกโครงการฯ บางรายไม่สามารถพบปะได้ตามสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับทางธนาคารออมสิน ทำให้ธนาคารออมสินไม่สามารถติดต่อกับผู้สมัครสมาชิกรายนั้น ๆ ได้
4) เนื่องจากโครงการธนาคารประชาชนเป็นโครงการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการฯ ค่อนข้างสูง ดังนั้น เพื่อให้มีการติดตามการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอด จึงควรมอบหมายให้ธนาคารออมสินติดตาม และประมวลผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินโครงการนี้ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้กระทรวงการคลังได้แจ้งธนาคารออมสินทราบและดำเนินการดังกล่าวในเรื่องดังกล่าวแล้ว
3. รายงานผลการดำเนินงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
3.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ณ ปัจจุบัน บสท. ได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ดังนี้
1) การพิจารณากลุ่มลูกหนี้เป้าหมาย คณะกรรมการ บสท. มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ให้ บสท. ทยอยรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปจากสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน ที่มียอดหนี้สูงสุด 300 รายแรก โดยส่วนของสถาบันการเงินเอกชนให้โอน เฉพาะที่จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญก่อน เพื่อเป็นโครงการนำร่อง โดยมีเป้าหมายที่จะโอนในเดือนแรก
กลุ่มที่ 2 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปที่เหลือของสถาบันการเงินของรัฐและเอกชนเฉพาะที่จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญ โดยมีเป้าหมายที่จะโอนในเดือนต่อไป
กลุ่มที่ 3 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 1 ราย ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปของสถาบันการเงินของรัฐ โดยเป้าหมายที่จะโอนในเดือนถัดไป
กลุ่มที่ 4 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปที่เหลือทั้งหมดของสถาบันการเงินของรัฐและเอกชนเฉพาะที่จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานและสงสัยเมื่อกันสำรองครบ 100%
กลุ่มที่ 5 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินของรัฐ ที่มีเจ้าหนี้ 1 รายที่เหลือ โดยจะกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป ในระหว่างที่ยังไม่กำหนดเวลาสถาบันการเงินของรัฐจะต้องจัดทำรายงานเสนอตามที่ บสท. กำหนด
ทั้งนี้ บสท. ได้กำหนดจะรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกลุ่มที่ 1 ให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ถ้าหากไม่มีอุปสรรคในเรื่องราคาหลักประกันที่ใช้เป็นราคาในการรับโอน
2) การกำหนดหลักเกณฑ์การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ คณะกรรมการ บสท. ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดย บสท. ได้หารือกับสถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ดังนี้
(1) คุณสมบัติของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโอน เช่น ลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จแล้ว เป็นต้น
(2) ราคาและการชำระ เช่น การกำหนดนิยามและราคารับโอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักประกัน และการกำหนดหลักเกณฑ์การชำระราคา เช่น อัตราดอกเบี้ย วิธีการจ่ายดอกเบี้ย การแบ่งปันผลกำไรและขาดทุน เช่นการกำหนดวิธีคำนวณและการรับรู้ผลกำไรและขาดทุน การกำหนดเกณฑ์การจัดสรรสินทรัพย์ที่เรียกเก็บได้ (Recoveries) และค่าใช้จ่ายการกำหนดวิธีการแบ่งผลกำไรและขาดทุนระหว่างสถาบันการเงินกับ บสท.
3) การเตรียมการด้านฐานข้อมูล บสท. ได้ประสานงานกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เพื่อขอใช้ระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ (Customer Information System - CIS) ในระยะเริ่มต้น และจะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะงานของ บสท. ต่อไป โดยได้การจัดเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อรองรับระบบงาน และได้มีการประชุมหารือกับสถาบันการเงินเกี่วกับลักษณะข้อมูลที่จะให้นำส่งเข้าระบบ
3.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
1) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เสนอศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วให้รับเรื่องตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอไว้พิจารณาต่อไป ขณะนี้ รอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
2) หากสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือ บสท. ได้ร้องขอให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันใหม่โดยยื่นต่อคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามมาตรา 45 วรรคสี่แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมายัง บสท. ให้เกิดความล่าช้าออกไปจากที่ได้กำหนดตามแผน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
1. รายงานผลการดำเนินงานโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยฯ
1.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ขณะนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาของการดำเนินการให้เกษตรกรที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ ยื่นแสดงความจำนงค์ในการเข้าร่วมโครงการแล้ว (เมษายน - มิถุนายน 2544) โดยผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันสิ้นสุดของการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1) มีเกษตรกรสมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 2,254,792 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.20 ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,368,412 ราย จำแนกเป็น
ก) เกษตรกรที่สมัครใจขอพักชำระหนี้ จำนวน 1,155,360 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.24 ของจำนวนเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
ข) เกษตรกรที่สมัครใจขอลดภาระหนี้ จำนวน 1,099,432 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.76 ของจำนวนเกษตรกรที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ
2) มีเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 113,620 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของจำนวนเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2,368,412 ราย จำแนกเป็น
ก) เกษตรกรที่ไม่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ 23,784 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.93 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ข) เกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ไม่รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ 6,170 รายคิดเป็นร้อยละ 5.43 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ค) เกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ได้รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากมีเหตุผิดปกติส่วนตัว เช่น ตาย บวชไม่สึก ถูกบุคคลภายนอกดำเนินคดีต้องโทษจำคุก ป่วยหนัก เป็นต้น) ไปรับจ้างทำงานต่างจังหวัด และไปรับจ้างทำงานต่างประเทศ จำนวน 83,666 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.64 ของจำนวนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการฯ
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้รายงานผลความคืบหน้า และผลการดำเนินงานตามที่กล่าวข้างต้นให้คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการตามนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยทราบแล้ว ในการประชมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2544 สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้น ธ.ก.ส. จะเร่งรัดดำเนินการตามแนวทางและผลงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ โดยเร็วต่อไป
1.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
สำหรับเกษตรกรที่กลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ได้รับรองให้เข้าร่วมโครงการฯ แล้ว และมีสิทธิ์ได้เข้าร่วมโครงการฯ แต่ประสบปัญหาตามที่กล่าวข้างต้น จึงเป็นเหตุให้ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ นั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการแจ้งและติดตามให้เกษตรกรดังกล่าวหรือทายาทลงลายมือชื่อยืนยันการใช้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ โดยเร็ว ตามมติของคณะกรรมการกำกับดูแลติดตามการดำเนินการตามนโยบายการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2544
2. รายงานผลการดำเนินงานโครงการธนาคารประชาชน
2.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานโครงการธนาคารประชาชน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 สรุปได้ ดังนี้
1) มีผู้สนใจมาสมัครเป็นสมาชิกโครงการธนาคารประชาชนแล้วจำนวน 402,439 ราย และมีจำนวนเงินฝากคงเหลือ 853,290,046 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินให้สินเชื่อเฉลี่ยต่อราย รายละ 13,836 บาท
2) มีสมาชิกโครงการที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน 66,890 ราย คิดเป็นจำนวนเงินอนุมัติสินเชื่อ 925,469,080 บาท ซึ่งคิดเป็นเงินให้สินเชื่อเฉลี่ยต่อราย รายละ 13,836 บาท
2.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
1) เนื่องจากมีผู้สนใจขอสินเชื่อจากโครงการธนาคารประชาชนเป็นจำนวนมากทำให้บุคลากรของธนาคารออมสินที่มีอยู่ ไม่เพียงพอที่จะรองรับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งธนาคารออมสินจะดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้สามารถรองรับงานที่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มจำนวนบุคลากรในสาขาให้เพียงพอต่องานที่เพิ่มขึ้นต่อไป
2) ผู้ที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากโครงการธนาคารประชาชน โดยเฉพาะที่อยู่ในชนบทส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในวิธีการ และหลักเกณฑ์ที่ธนาคารได้วางไว้ เช่นเข้าใจว่าจะได้รับอนุมัติเงินกู้ในทันที โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบประวัติ ซึ่งธนาคารออมสินได้กำหนดให้ผู้ที่จะมาขอรับสินเชื่อจากโครงการฯ ต้องเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับทางธนาคารออมสินก่อนเป็นเวลา 2 เดือน จึงจะสามารถดำเนินการขอสินเชื่อได้ ทำให้ประชาชนบางคนเข้าใจผิดว่าตนจะไม่ได้รับสินเชื่อ เนื่องจากไม่ได้มีการอนุมัติสินเชื่อในทันที ทำให้ประชาชนบางส่วนที่อยากได้รับสินเชื่อไม่มาติดต่อขอสินเชื่อเพราะเข้าใจผิดในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หรือมีประชาชนบางส่วนเข้าใจว่าเป็นเงินกู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการอุปโภค บริโภคได้ ซึ่งธนาคารออมสินจะได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการขอสินเชื่อตามโครงการฯ นี้ เพื่อที่ประชาชนจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
3) มีผู้สมัครสมาชิกโครงการฯ บางรายไม่สามารถพบปะได้ตามสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับทางธนาคารออมสิน ทำให้ธนาคารออมสินไม่สามารถติดต่อกับผู้สมัครสมาชิกรายนั้น ๆ ได้
4) เนื่องจากโครงการธนาคารประชาชนเป็นโครงการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมีความเสี่ยงในการดำเนินโครงการฯ ค่อนข้างสูง ดังนั้น เพื่อให้มีการติดตามการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอด จึงควรมอบหมายให้ธนาคารออมสินติดตาม และประมวลผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา อุปสรรคในการดำเนินโครงการนี้ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้กระทรวงการคลังได้แจ้งธนาคารออมสินทราบและดำเนินการดังกล่าวในเรื่องดังกล่าวแล้ว
3. รายงานผลการดำเนินงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
3.1 ความคืบหน้า และผลการดำเนินงาน
ณ ปัจจุบัน บสท. ได้ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ แล้ว ดังนี้
1) การพิจารณากลุ่มลูกหนี้เป้าหมาย คณะกรรมการ บสท. มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2544 ให้ บสท. ทยอยรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพโดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปจากสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน ที่มียอดหนี้สูงสุด 300 รายแรก โดยส่วนของสถาบันการเงินเอกชนให้โอน เฉพาะที่จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญก่อน เพื่อเป็นโครงการนำร่อง โดยมีเป้าหมายที่จะโอนในเดือนแรก
กลุ่มที่ 2 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปที่เหลือของสถาบันการเงินของรัฐและเอกชนเฉพาะที่จัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญ โดยมีเป้าหมายที่จะโอนในเดือนต่อไป
กลุ่มที่ 3 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 1 ราย ที่มีมูลหนี้ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปของสถาบันการเงินของรัฐ โดยเป้าหมายที่จะโอนในเดือนถัดไป
กลุ่มที่ 4 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีเจ้าหนี้ 2 รายขึ้นไปที่เหลือทั้งหมดของสถาบันการเงินของรัฐและเอกชนเฉพาะที่จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐานและสงสัยเมื่อกันสำรองครบ 100%
กลุ่มที่ 5 รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินของรัฐ ที่มีเจ้าหนี้ 1 รายที่เหลือ โดยจะกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมต่อไป ในระหว่างที่ยังไม่กำหนดเวลาสถาบันการเงินของรัฐจะต้องจัดทำรายงานเสนอตามที่ บสท. กำหนด
ทั้งนี้ บสท. ได้กำหนดจะรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพกลุ่มที่ 1 ให้เสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2544 ถ้าหากไม่มีอุปสรรคในเรื่องราคาหลักประกันที่ใช้เป็นราคาในการรับโอน
2) การกำหนดหลักเกณฑ์การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ คณะกรรมการ บสท. ได้มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดย บสท. ได้หารือกับสถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ดังนี้
(1) คุณสมบัติของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เช่น การกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกำหนดข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโอน เช่น ลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จแล้ว เป็นต้น
(2) ราคาและการชำระ เช่น การกำหนดนิยามและราคารับโอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินราคาหลักประกัน และการกำหนดหลักเกณฑ์การชำระราคา เช่น อัตราดอกเบี้ย วิธีการจ่ายดอกเบี้ย การแบ่งปันผลกำไรและขาดทุน เช่นการกำหนดวิธีคำนวณและการรับรู้ผลกำไรและขาดทุน การกำหนดเกณฑ์การจัดสรรสินทรัพย์ที่เรียกเก็บได้ (Recoveries) และค่าใช้จ่ายการกำหนดวิธีการแบ่งผลกำไรและขาดทุนระหว่างสถาบันการเงินกับ บสท.
3) การเตรียมการด้านฐานข้อมูล บสท. ได้ประสานงานกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เพื่อขอใช้ระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ (Customer Information System - CIS) ในระยะเริ่มต้น และจะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะงานของ บสท. ต่อไป โดยได้การจัดเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อรองรับระบบงาน และได้มีการประชุมหารือกับสถาบันการเงินเกี่วกับลักษณะข้อมูลที่จะให้นำส่งเข้าระบบ
3.2 ปัญหา อุปสรรค และการแก้ไข
1) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้เสนอศาลรัฐธรรมนูญตีความพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 ว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วให้รับเรื่องตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอไว้พิจารณาต่อไป ขณะนี้ รอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
2) หากสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือ บสท. ได้ร้องขอให้มีการประเมินราคาสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันใหม่โดยยื่นต่อคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามมาตรา 45 วรรคสี่แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมายัง บสท. ให้เกิดความล่าช้าออกไปจากที่ได้กำหนดตามแผน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-