ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีกระบวนการกำกับดูแลที่ดีและเพื่อเป็นไปในแนวทางและหลักเกณฑ์เดียวกัน แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ เพื่อรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจนั้น กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อนำมาใช้ต่อไป โดยร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) หลักการและเหตุผลของการกำกับดูแลที่ดี
2) ความสำคัญของการจัดให้มีหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
3) หลักสำคัญสำหรับการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันเป็นหลักสากลที่เป็นมาตรฐานของการกำกับดูแลที่ดี 6 ประการ ดังนี้
- Accountability หรือความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจมีทั้งบวกและลบ
- Responsibility หรือความสำนึกในหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ
- Equitable Treatment หรือการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน
- Transparency ต้องมีความโปร่งใส ซึ่งแบ่งเป็นทั้ง Transparency ในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ และ Transparency ในการเปิดเผยข้อมูลด้วย
- การมี Vision ที่จะ Create Long Term Value หรือการมีวิสัยทัศน์โดยการมองการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว ที่จะสนองภารกิจโดยไม่ทำลายขีดความสามารถในระยะสั้น
- Ethics การส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแล และจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ
4) หลักปฏิบัติของการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
- กล่าวถึง การกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ มีวิสัยทัศน์โดยมองการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและหน้าที่ และการรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหารและการตรวจสอบ
5) หมวดที่ 1 คณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจ
- กล่าวถึง ภาวะผู้นำและความเป็นอิสระ การถ่วงดุลกรรมการ บทบาทของคณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร ภาครัฐต่อกิจการ และประชาชน ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการ หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ การแต่งตั้งและเลือกตั้งกรรมการ คุณลักษณะของกรรมการ บทบาทของกรรมการอิสระ การประเมินผลของคณะกรรมการการดำเนินการประชุมของคณะกรรมการ การได้รับเอกสารและข้อมูล และค่าตอบแทนของคณะกรรมการ
6) หมวดที่ 2 การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร และการตรวจสอบ
- กล่าวถึง การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร การควบคุมและตรวจสอบภายในคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชี การทบทวนรายงานทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยง
7) หมวดที่ 3 การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
- กล่าวถึง การเปิดเผยสารสนเทศทั้งที่เป็นสารสนเทศทางการเงินและสารสนเทศที่ไม่ใช่ทางการเงินอย่างครบถ้วน เพียงพอ และดำเนินการตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8) หมวดที่ 4 สิทธิและความเท่าเทียมกันของเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น และบทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- กล่าวถึง การปฏิบัติต่อเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ในการประชุม การแสดงความคิดเห็น และการมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
9) หมวดที่ 5 จริยธรรมและจรรยาบรรณ
- กล่าวถึง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณเพื่อให้กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกคน ได้ทราบถึงมาตรฐานการปฏิบัติที่รัฐวิสาหกิจและเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นคาดหวัง
10) หมวดที่ 6 การปฏิบัติตามหลักการและแนวทางปฏิบัติ
- กล่าวถึง ให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการและแนวทางปฏิบัติฯ และให้มีถ้อยแถลงไว้ในรายงานประจำปีของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจต่อไป หากรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีระบบการกำกับดูแลที่ดีให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจรายงานเหตุผลต่อกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังจะจัดให้มีการประเมินระบบการกำกับดูแลที่ดีของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะต่อไป
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่มีหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดี เพื่อนำไปสู่การประเมินการกำกับดูแลที่ดีต่อไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. สร้างความโปร่งใส และมีมาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นสากล
2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจแก่สาธารณชน เจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ
3. สร้างความมั่นใจในการลงทุนแล้ว และทำให้มูลค่ากิจการสูงขึ้น
4. ทำให้เกิดรูปแบบกิจการที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถแข่งขันได้ในสภาพตลาดการแข่งขันเสรี
5. ทำให้เกิดการสร้างพันธะผูกพัน เพื่อให้ผู้บริหารใช้อำนาจภายในขอบเขต รวมถึงการสร้างกรอบความรับผิดชอบของคณะผู้บริหารและคณะกรรมการ ต่อผู้มีส่วนได้เสียและสังคมส่วนรวม ทำให้เกิดระบบความรับผิดของผู้บริหารต่อกรรมการ และกรรมการต่อเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น เป็นลำดับชั้นไป
6. เป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะให้กับองค์กร เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
7. ป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการ และเสริมสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีกระบวนการกำกับดูแลที่ดีและเพื่อเป็นไปในแนวทางและหลักเกณฑ์เดียวกัน แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ เพื่อรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ในส่วนของหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจนั้น กระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมเพื่อนำมาใช้ต่อไป โดยร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) หลักการและเหตุผลของการกำกับดูแลที่ดี
2) ความสำคัญของการจัดให้มีหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
3) หลักสำคัญสำหรับการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันเป็นหลักสากลที่เป็นมาตรฐานของการกำกับดูแลที่ดี 6 ประการ ดังนี้
- Accountability หรือความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจมีทั้งบวกและลบ
- Responsibility หรือความสำนึกในหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ
- Equitable Treatment หรือการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน
- Transparency ต้องมีความโปร่งใส ซึ่งแบ่งเป็นทั้ง Transparency ในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ และ Transparency ในการเปิดเผยข้อมูลด้วย
- การมี Vision ที่จะ Create Long Term Value หรือการมีวิสัยทัศน์โดยการมองการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว ที่จะสนองภารกิจโดยไม่ทำลายขีดความสามารถในระยะสั้น
- Ethics การส่งเสริมพัฒนาการกำกับดูแล และจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ
4) หลักปฏิบัติของการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ
- กล่าวถึง การกำหนดกรอบการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจ มีวิสัยทัศน์โดยมองการสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาว กำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและหน้าที่ และการรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหารและการตรวจสอบ
5) หมวดที่ 1 คณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจ
- กล่าวถึง ภาวะผู้นำและความเป็นอิสระ การถ่วงดุลกรรมการ บทบาทของคณะกรรมการ ฝ่ายบริหาร ภาครัฐต่อกิจการ และประชาชน ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการ หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ การแต่งตั้งและเลือกตั้งกรรมการ คุณลักษณะของกรรมการ บทบาทของกรรมการอิสระ การประเมินผลของคณะกรรมการการดำเนินการประชุมของคณะกรรมการ การได้รับเอกสารและข้อมูล และค่าตอบแทนของคณะกรรมการ
6) หมวดที่ 2 การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร และการตรวจสอบ
- กล่าวถึง การรายงานทางการเงิน รายงานทางการบริหาร การควบคุมและตรวจสอบภายในคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชี การทบทวนรายงานทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยง
7) หมวดที่ 3 การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
- กล่าวถึง การเปิดเผยสารสนเทศทั้งที่เป็นสารสนเทศทางการเงินและสารสนเทศที่ไม่ใช่ทางการเงินอย่างครบถ้วน เพียงพอ และดำเนินการตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
8) หมวดที่ 4 สิทธิและความเท่าเทียมกันของเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น และบทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อผู้มีส่วนได้เสีย
- กล่าวถึง การปฏิบัติต่อเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ในการประชุม การแสดงความคิดเห็น และการมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
9) หมวดที่ 5 จริยธรรมและจรรยาบรรณ
- กล่าวถึง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาบรรณเพื่อให้กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกคน ได้ทราบถึงมาตรฐานการปฏิบัติที่รัฐวิสาหกิจและเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้นคาดหวัง
10) หมวดที่ 6 การปฏิบัติตามหลักการและแนวทางปฏิบัติ
- กล่าวถึง ให้รัฐวิสาหกิจจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักการและแนวทางปฏิบัติฯ และให้มีถ้อยแถลงไว้ในรายงานประจำปีของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการกำกับดูแลที่ดีในรัฐวิสาหกิจต่อไป หากรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีระบบการกำกับดูแลที่ดีให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจรายงานเหตุผลต่อกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังจะจัดให้มีการประเมินระบบการกำกับดูแลที่ดีของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะต่อไป
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่มีหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลที่ดี เพื่อนำไปสู่การประเมินการกำกับดูแลที่ดีต่อไป จะก่อให้เกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. สร้างความโปร่งใส และมีมาตรฐานการปฏิบัติที่เป็นสากล
2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจแก่สาธารณชน เจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ
3. สร้างความมั่นใจในการลงทุนแล้ว และทำให้มูลค่ากิจการสูงขึ้น
4. ทำให้เกิดรูปแบบกิจการที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถแข่งขันได้ในสภาพตลาดการแข่งขันเสรี
5. ทำให้เกิดการสร้างพันธะผูกพัน เพื่อให้ผู้บริหารใช้อำนาจภายในขอบเขต รวมถึงการสร้างกรอบความรับผิดชอบของคณะผู้บริหารและคณะกรรมการ ต่อผู้มีส่วนได้เสียและสังคมส่วนรวม ทำให้เกิดระบบความรับผิดของผู้บริหารต่อกรรมการ และกรรมการต่อเจ้าของกิจการ/ผู้ถือหุ้น เป็นลำดับชั้นไป
6. เป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำงานด้านต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางเสนอข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะให้กับองค์กร เพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
7. ป้องกันการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นกรรมการ และเสริมสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-