คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดอุดรธานี ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี(คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง) เสนอ ดังนี้
1. ให้กำหนดแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดอุดรธานีในลักษณะแผนงานบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบเบ็ดเสร็จผสมผสานอย่างเป็นระบบ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดอุดรธานี เบื้องต้น ให้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ขุดลอกห้วยหลวง ห้วยอิฐ ห้วยดาน ห้วยหมากแข้ง ห้วยมั่ง บริเวณท้ายน้ำ (downstream) เพื่อผันน้ำไม่ให้ไหลเข้าตัวเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ และด้านทิศตะวันออก ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ได้แก่ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่
2.2 ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำด้านเหนือน้ำ (up stream) ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านจั่น อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ และอ่างอื่น ๆ ในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน เพื่อให้อ่างเก็บน้ำทำหน้าที่เป็นแก้มลิง ช่วยลดปริมาณการไหลของน้ำเข้าในเขตเทศบาลนครอุดรธานีและพื้นที่ข้างเคียง
2.3 มอบหมายให้แขวงทางการจังหวัดอุดรธานี ดำเนินการ
1) ปรับปรุงคลองระบายน้ำด้านนอกของถนนเลี่ยงเมืองทั้งหมด โดยทำการรื้อถอนท่อระบายน้ำขนาดเล็ก คันคูและสิ่งกีดขวางทางน้ำที่ไม่จำเป็นออก โดยคงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องใช้เป็นทางเข้าออกของถนนทางเชื่อมกับถนนเลี่ยงเมือง และให้ก่อสร้างเป็นสะพานหรือ BOX CULVERT ขนาดใหญ่ที่สามารถระบายน้ำลงสู่ลำห้วยต่าง ๆ ด้านท้ายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ขุดลอกคลองระบายน้ำในเขตทางหลวง (RIGHT OF WAY) จากอำเภอกุมภวาปี ถึงถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี พร้อมทั้งปรับปรุงทางระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการระบายน้ำ
สำหรับกลไกดำเนินการนั้น คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมืองได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดอุดรธานี โดยมี นายชัยพร รัตนนาคะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นรองประธาน และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการมีหน้าที่ในการดำเนินจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดอุดรธานีแบบเบ็ดเสร็จ ตลอดจนประสานงานกับคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดอุดรธานี ดำเนินการรวบรวมวิเคราะห์ปัญหา และสรุปแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้กำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1. การวางแผนและออกแบบก่อสร้างพร้อมประมาณการค่าก่อสร้าง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนับจากการประชุมครั้งแรก โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ
2. ในกรณีที่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ทางระบายน้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน ให้มอบหมายให้กรมธนารักษ์พิจารณามาตรการแลกเปลี่ยนกับที่ดินของรัฐเป็นการชดเชยแทนการเวนคืน ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการจัดหาที่ดินได้เร็วขึ้น
3. ให้หน่วยราชการในพื้นที่ดำเนินการต่อไปได้เฉพาะโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและการซ่อมแซมสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ในสภาพเดิมไปก่อน ส่วนแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ชะลอการดำเนินงานไว้ก่อนจนกว่าคณะอนุกรรมการฯ จะได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายเดือนตุลาคม 2544 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. ให้กำหนดแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดอุดรธานีในลักษณะแผนงานบริหารจัดการลุ่มน้ำแบบเบ็ดเสร็จผสมผสานอย่างเป็นระบบ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย จังหวัดอุดรธานี เบื้องต้น ให้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 ขุดลอกห้วยหลวง ห้วยอิฐ ห้วยดาน ห้วยหมากแข้ง ห้วยมั่ง บริเวณท้ายน้ำ (downstream) เพื่อผันน้ำไม่ให้ไหลเข้าตัวเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ และด้านทิศตะวันออก ผู้รับผิดชอบดำเนินการ ได้แก่ หน่วยงานเจ้าของพื้นที่
2.2 ระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำด้านเหนือน้ำ (up stream) ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบ้านจั่น อ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ และอ่างอื่น ๆ ในช่วงก่อนเข้าฤดูฝน เพื่อให้อ่างเก็บน้ำทำหน้าที่เป็นแก้มลิง ช่วยลดปริมาณการไหลของน้ำเข้าในเขตเทศบาลนครอุดรธานีและพื้นที่ข้างเคียง
2.3 มอบหมายให้แขวงทางการจังหวัดอุดรธานี ดำเนินการ
1) ปรับปรุงคลองระบายน้ำด้านนอกของถนนเลี่ยงเมืองทั้งหมด โดยทำการรื้อถอนท่อระบายน้ำขนาดเล็ก คันคูและสิ่งกีดขวางทางน้ำที่ไม่จำเป็นออก โดยคงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องใช้เป็นทางเข้าออกของถนนทางเชื่อมกับถนนเลี่ยงเมือง และให้ก่อสร้างเป็นสะพานหรือ BOX CULVERT ขนาดใหญ่ที่สามารถระบายน้ำลงสู่ลำห้วยต่าง ๆ ด้านท้ายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ขุดลอกคลองระบายน้ำในเขตทางหลวง (RIGHT OF WAY) จากอำเภอกุมภวาปี ถึงถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี พร้อมทั้งปรับปรุงทางระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการระบายน้ำ
สำหรับกลไกดำเนินการนั้น คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมืองได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดอุดรธานี โดยมี นายชัยพร รัตนนาคะ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นรองประธาน และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น เป็นกรรมการมีหน้าที่ในการดำเนินจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดอุดรธานีแบบเบ็ดเสร็จ ตลอดจนประสานงานกับคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดอุดรธานี ดำเนินการรวบรวมวิเคราะห์ปัญหา และสรุปแนวทางดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแต่งตั้ง
ทั้งนี้ ให้กำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1. การวางแผนและออกแบบก่อสร้างพร้อมประมาณการค่าก่อสร้าง ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนับจากการประชุมครั้งแรก โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการฯ
2. ในกรณีที่จำเป็นต้องขยายพื้นที่ทางระบายน้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชน ให้มอบหมายให้กรมธนารักษ์พิจารณามาตรการแลกเปลี่ยนกับที่ดินของรัฐเป็นการชดเชยแทนการเวนคืน ซึ่งจะทำให้สามารถดำเนินการจัดหาที่ดินได้เร็วขึ้น
3. ให้หน่วยราชการในพื้นที่ดำเนินการต่อไปได้เฉพาะโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและการซ่อมแซมสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้ในสภาพเดิมไปก่อน ส่วนแผนงาน/โครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะปานกลาง และระยะยาว ให้ชะลอการดำเนินงานไว้ก่อนจนกว่าคณะอนุกรรมการฯ จะได้ข้อสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายเดือนตุลาคม 2544 นี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-