คณะรัฐมนตรีเห็นชอบข้อเสนอของสมัชชาแห่งชาติเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ ประเด็นอาหารและเกษตรเพื่อสุขภาพ ตามที่ คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามที่ รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ประธานกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. สนับสนุนระบบเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กำหนดแผนและเป้าหมายลดการใช้ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน โดยใช้หลักการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ
2. กำหนดให้ “ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่อย่างครบวงจร” โดยเน้นความสำคัญที่กระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหาร เป็นยุทธศาสตร์ร่วมของรัฐและเครือข่ายประชาคม หน่วยงาน สถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานสนองนโยบายอาหารปลอดภัย (Food Safety) ของรัฐบาล
3. ให้กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการควบคุมการโฆษณา และการขายตรงสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในลักษณะข้อบังคับทางกฎหมาย โดยต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และผู้บริโภคอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม
4. ให้บัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอน “กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน” ไว้ในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน
5. ให้การสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรและประชาคมในพื้นที่ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิดระบบอาหารปลอดภัย และระบบผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
6. ให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเปิดเผยเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้
ทั้งนี้ ให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ประธานกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ รายงานว่า ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะประกาศนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร สารตกค้างจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีอัตราส่วนการลดลงน้อยลงที่สุด ขณะเดียวกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก็มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งการตกค้างในดินและน้ำ ขณะที่แนวโน้มในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การนำเข้าและใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด สมัชชาสุขภาพจังหวัดกว่า 60 จังหวัด รวมทั้งนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักพร้อมกันถึงอันตรายจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และได้ร่วมกันระดมความเห็นนำเสนอข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ นับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้ระดมความร่วมมือและการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดระบบอาหารและเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน อันจะเป็นผลดีต่อสุขภาวะของประชาชนโดยรวมอย่างยิ่ง
ข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “อาหารและเกษตรเพื่อสุขภาพ” ให้หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
ประเด็นข้อเสนอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.สนับสนุนระบบเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและ - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
สิ่งแวดล้อม กำหนดแผนและเป้าหมายลดการใช้ แห่งชาติ
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน โดยใช้ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หลักการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ - องค์กรเอกชนและเครือข่ายประชาคมด้านการเกษตร
2.กำหนดให้"ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างครบวงจร"โดยเน้นความสำคัญที่กระบวนการ - กระทรวงสาธารณสุข
ผลิตวัตถุดิบอาหารเป็นยุทธศาสตร์ร่วมของรัฐและ - คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร
เครือข่ายประชาคม หน่วยงานสถาบันวิชาการที่ - คณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่
เกี่ยวข้องเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงาน - ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครอง
สนองนโยบายอาหารปลอดภัย (Food Safety) ส่วนท้องถิ่น
ของรัฐบาล - องค์กรเอกชน ธุรกิจเอกชนและเครือข่ายประชาคม
ที่เกี่ยวข้องในวงจรอาหาร
3.กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการควบคุมการโฆษณา - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
และการขายตรงสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในลักษณะ - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ
ข้อบังคับทางกฎหมาย โดยต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และ - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภคอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงสาธารณสุข
- องค์กรเอกชนด้านคุ้มครองผู้บริโภค
4.ให้บัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอน "กระบวนการมี - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
ส่วนร่วมของประชาชน" ไว้ในพระราชบัญญัติที่ - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ
เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างชัดเจน - กระทรวงสาธารณสุข
5.ให้การสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรและประชาคมในพื้นที่ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิดระบบอาหาร - กระทรวงสาธารณสุข
ปลอดภัยและระบบผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและ - กระทรวงอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อม - ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
- คณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่
- องค์กรเอกชน ธุรกิจเอกชนและเครือข่ายประชาคม
ที่เกี่ยวข้องในวงจรอาหาร
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ
6.ให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านสาร - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจาก - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางเคมีวัตถุ
การใช้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเปิดเผย - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและประโยชน์ข้อมูลได้ - กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- สถาบันทางวิชาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. สนับสนุนระบบเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กำหนดแผนและเป้าหมายลดการใช้ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน โดยใช้หลักการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ
2. กำหนดให้ “ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่อย่างครบวงจร” โดยเน้นความสำคัญที่กระบวนการผลิตวัตถุดิบอาหาร เป็นยุทธศาสตร์ร่วมของรัฐและเครือข่ายประชาคม หน่วยงาน สถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้องเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงานสนองนโยบายอาหารปลอดภัย (Food Safety) ของรัฐบาล
3. ให้กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการควบคุมการโฆษณา และการขายตรงสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในลักษณะข้อบังคับทางกฎหมาย โดยต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และผู้บริโภคอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม
4. ให้บัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอน “กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน” ไว้ในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน
5. ให้การสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรและประชาคมในพื้นที่ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิดระบบอาหารปลอดภัย และระบบผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
6. ให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเปิดเผยเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้
ทั้งนี้ ให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) ประธานกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ รายงานว่า ผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี แม้รัฐบาลจะประกาศนโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร สารตกค้างจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชมีอัตราส่วนการลดลงน้อยลงที่สุด ขณะเดียวกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก็มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งการตกค้างในดินและน้ำ ขณะที่แนวโน้มในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การนำเข้าและใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด สมัชชาสุขภาพจังหวัดกว่า 60 จังหวัด รวมทั้งนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักพร้อมกันถึงอันตรายจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และได้ร่วมกันระดมความเห็นนำเสนอข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ นับเป็นโอกาสอันดีที่รัฐบาลจะได้ระดมความร่วมมือและการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดระบบอาหารและเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพอย่างยั่งยืน อันจะเป็นผลดีต่อสุขภาวะของประชาชนโดยรวมอย่างยิ่ง
ข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็น “อาหารและเกษตรเพื่อสุขภาพ” ให้หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้
ประเด็นข้อเสนอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.สนับสนุนระบบเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและ - สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
สิ่งแวดล้อม กำหนดแผนและเป้าหมายลดการใช้ แห่งชาติ
สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างชัดเจน โดยใช้ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หลักการสร้างการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ - องค์กรเอกชนและเครือข่ายประชาคมด้านการเกษตร
2.กำหนดให้"ยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างครบวงจร"โดยเน้นความสำคัญที่กระบวนการ - กระทรวงสาธารณสุข
ผลิตวัตถุดิบอาหารเป็นยุทธศาสตร์ร่วมของรัฐและ - คณะกรรมการแห่งชาติด้านอาหาร
เครือข่ายประชาคม หน่วยงานสถาบันวิชาการที่ - คณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่
เกี่ยวข้องเป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงาน - ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครอง
สนองนโยบายอาหารปลอดภัย (Food Safety) ส่วนท้องถิ่น
ของรัฐบาล - องค์กรเอกชน ธุรกิจเอกชนและเครือข่ายประชาคม
ที่เกี่ยวข้องในวงจรอาหาร
3.กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการควบคุมการโฆษณา - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
และการขายตรงสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในลักษณะ - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ
ข้อบังคับทางกฎหมาย โดยต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และ - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภคอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงสาธารณสุข
- องค์กรเอกชนด้านคุ้มครองผู้บริโภค
4.ให้บัญญัติหลักเกณฑ์และขั้นตอน "กระบวนการมี - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
ส่วนร่วมของประชาชน" ไว้ในพระราชบัญญัติที่ - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางด้านเคมีวัตถุ
เกี่ยวข้องกับการควบคุมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างชัดเจน - กระทรวงสาธารณสุข
5.ให้การสนับสนุนแก่กลุ่มองค์กรและประชาคมในพื้นที่ - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิดระบบอาหาร - กระทรวงสาธารณสุข
ปลอดภัยและระบบผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและ - กระทรวงอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อม - ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
- คณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับพื้นที่
- องค์กรเอกชน ธุรกิจเอกชนและเครือข่ายประชาคม
ที่เกี่ยวข้องในวงจรอาหาร
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ
6.ให้มีการพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์ด้านสาร - คณะกรรมการวัตถุอันตราย
ป้องกันกำจัดศัตรูพืช และผลกระทบทางสุขภาพจาก - คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยทางเคมีวัตถุ
การใช้อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเปิดเผย - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและประโยชน์ข้อมูลได้ - กระทรวงสาธารณสุข
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
- สถาบันทางวิชาการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--