ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบการจัดตั้งคลังสมองตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการและแนวทางดำเนินการในการจัดตั้งคลังสมอง และขอได้โปรดพิจารณานำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
2. เห็นชอบเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานฯ โดยให้หน่วยงานและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ในฐานะเครือข่ายหน่วยทะเบียนย่อย รับแนวทางการจัดตั้งคลังสมองไปดำเนินการ โดยสำนักงานอำนวยการคลังสมอง ภายใต้มูลนิธิพัฒนาไท จะเป็นผู้ประสานการดำเนินงานในรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานจัดตั้งคลังสมอง ซึ่งสาระสำคัญสรุปได้ 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 : หลักการและแนวคิดในการจัดตั้งคลังสมอง
คลังสมองเปรียบเสมือนศูนย์รวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขาอาชีพที่เกษียณอายุแล้ว ทั้งจากภาคราชการและเอกชน ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้มีความพร้อมและสมัครใจที่จะนำปัญญา ความรู้และประสบการณ์มาทำงานรับใช้ส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจคลังสมองจะทำหน้าที่หน่วยทะเบียนกลางประสานเครือข่ายขององค์กรและหน่วยงาน ที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือเพื่อจัดให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือวุฒิอาสาได้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรหรือชุมชนต่าง ๆ
ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและที่อยู่ต่างประเทศ ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เกษียณอายุได้มีโอกาสทำประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่อาจจะยังขาดการประสานเชื่อมโยงการทำงาน และเครือข่ายข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งการจัดตั้งคลังสมองในครั้งนี้จะทำหน้าที่นี้ได้
แนวคิดเรื่องคลังสมอง มีความสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย ที่ให้ความเคารพนับถือต่อผู้อาวุโส และเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการถ่ายทอดปัญญา ความรู้และประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ และส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในอนาคตที่จะมีสัดส่วน ผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย
ส่วนที่ 2 : กระบวนการระดมวุฒิอาสาและการบริหารคลังสมอง
วุฒิอาสาที่มีความสมัครใจ พร้อมที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีสุขภาพดี มีความเชี่ยวชาญ จะได้รับการจดทะเบียนไว้ในคลังสมอง ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลในลักษณะเครือข่ายกับหน่วยทะเบียนต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และประสานกับเครือข่ายขององค์กรที่ต้องการขอรับความช่วยเหลือจากวุฒิอาสา ทั้งนี้ สำนักงานอำนวยการคลังสมองที่จะจัดตั้งขึ้นจะทำหน้าที่ประสานงาน โดยหน่วยงานที่จะขอรับความช่วยเหลือต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในระดับที่อำนวยความสะดวกพอสมควร และไม่สร้างภาระทางการเงินแก่วุฒิอาสา
ส่วนที่ 3 : บทบาทและขั้นตอนการดำเนินงานของ สศช.
ระยะเริ่มต้น จัดตั้งสำนักงานอำนวยการคลังสมอง โดยให้ดำเนินงานภายใต้มูลนิธิพัฒนาไท ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานเครือข่ายหน่วยทะเบียนย่อยที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งประสานการจัดหาวุฒิอาสาให้สอดคล้องกับความต้องการรับความช่วยเหลือของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้มี "คณะกรรมการอำนวยการคลังสมอง" ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานคลังสมองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระยะยาว ควรพัฒนาให้สำนักงานอำนวยการคลังสมองเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน โดยอาจมีมูลนิธิคลังสมองทำหน้าที่ระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ และบริหารจัดการสำนักงานฯ ให้เกิดความมั่นคง และทำหน้าที่รับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 35. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนเป้าหมายการปรับลดขบวนรถโดยสารตามมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. จากเดิมไม่น้อยกว่า 50 ขบวน เป็น 32 ขบวน
ประธาน กนร. พิจารณาแล้วเห็นว่ามาตรการปรับลดขบวนรถฯ กำหนดขึ้นเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินรถซึ่งมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายผันแปรตรง แต่ประชาชนผู้ใช้บริการก็จะต้องมีทางเลือกอื่นด้วย ซึ่ง รฟท.ได้ดำเนินการปรับลดขบวนรถไปแล้ว จำนวน 32 ขบวน ทำให้สามารถลดผลการขาดทุนจากการเดินรถได้ในระดับหนึ่งตามวัตถุประสงค์ ส่วนที่เหลืออีก 18 ขบวน ยังมีความจำเป็นต้องให้เดินรถต่อไป เพื่อมิให้เกิดปัญหากับผู้โดยสารที่ต้องเดินทางโดยขบวนรถดังกล่าว ประกอบกับปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์และบริการเชิงสังคม และ รฟท.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์และบริการเชิงสังคม และ รฟท.จะต้องนำเอากิจการในส่วนของการเดินรถมาจัดตั้งเป็นบริษัทตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ต่อไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบการจัดตั้งคลังสมองตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการและแนวทางดำเนินการในการจัดตั้งคลังสมอง และขอได้โปรดพิจารณานำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
2. เห็นชอบเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานของสำนักงานฯ โดยให้หน่วยงานและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ ในฐานะเครือข่ายหน่วยทะเบียนย่อย รับแนวทางการจัดตั้งคลังสมองไปดำเนินการ โดยสำนักงานอำนวยการคลังสมอง ภายใต้มูลนิธิพัฒนาไท จะเป็นผู้ประสานการดำเนินงานในรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานจัดตั้งคลังสมอง ซึ่งสาระสำคัญสรุปได้ 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 : หลักการและแนวคิดในการจัดตั้งคลังสมอง
คลังสมองเปรียบเสมือนศูนย์รวบรวมผู้ทรงคุณวุฒิทุกสาขาอาชีพที่เกษียณอายุแล้ว ทั้งจากภาคราชการและเอกชน ทั้งที่อยู่ภายในประเทศและต่างประเทศ ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้มีความพร้อมและสมัครใจที่จะนำปัญญา ความรู้และประสบการณ์มาทำงานรับใช้ส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทนเชิงธุรกิจคลังสมองจะทำหน้าที่หน่วยทะเบียนกลางประสานเครือข่ายขององค์กรและหน่วยงาน ที่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือเพื่อจัดให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือวุฒิอาสาได้ทำงานสอดคล้องกับความต้องการขององค์กรหรือชุมชนต่าง ๆ
ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและที่อยู่ต่างประเทศ ดำเนินการในเรื่องนี้อยู่บ้างแล้ว เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เกษียณอายุได้มีโอกาสทำประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่อาจจะยังขาดการประสานเชื่อมโยงการทำงาน และเครือข่ายข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งการจัดตั้งคลังสมองในครั้งนี้จะทำหน้าที่นี้ได้
แนวคิดเรื่องคลังสมอง มีความสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมไทย ที่ให้ความเคารพนับถือต่อผู้อาวุโส และเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการถ่ายทอดปัญญา ความรู้และประสบการณ์อันดีงามจากผู้อาวุโสสู่คนรุ่นใหม่ และส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในอนาคตที่จะมีสัดส่วน ผู้สูงอายุมากขึ้นอีกด้วย
ส่วนที่ 2 : กระบวนการระดมวุฒิอาสาและการบริหารคลังสมอง
วุฒิอาสาที่มีความสมัครใจ พร้อมที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีสุขภาพดี มีความเชี่ยวชาญ จะได้รับการจดทะเบียนไว้ในคลังสมอง ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลในลักษณะเครือข่ายกับหน่วยทะเบียนต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และประสานกับเครือข่ายขององค์กรที่ต้องการขอรับความช่วยเหลือจากวุฒิอาสา ทั้งนี้ สำนักงานอำนวยการคลังสมองที่จะจัดตั้งขึ้นจะทำหน้าที่ประสานงาน โดยหน่วยงานที่จะขอรับความช่วยเหลือต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายขั้นต่ำในระดับที่อำนวยความสะดวกพอสมควร และไม่สร้างภาระทางการเงินแก่วุฒิอาสา
ส่วนที่ 3 : บทบาทและขั้นตอนการดำเนินงานของ สศช.
ระยะเริ่มต้น จัดตั้งสำนักงานอำนวยการคลังสมอง โดยให้ดำเนินงานภายใต้มูลนิธิพัฒนาไท ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ.2540 เพื่อทำหน้าที่ประสานเครือข่ายหน่วยทะเบียนย่อยที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งประสานการจัดหาวุฒิอาสาให้สอดคล้องกับความต้องการรับความช่วยเหลือของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้มี "คณะกรรมการอำนวยการคลังสมอง" ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานคลังสมองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระยะยาว ควรพัฒนาให้สำนักงานอำนวยการคลังสมองเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน โดยอาจมีมูลนิธิคลังสมองทำหน้าที่ระดมทุนจากแหล่งต่าง ๆ และบริหารจัดการสำนักงานฯ ให้เกิดความมั่นคง และทำหน้าที่รับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 35. เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติเสนอให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทบทวนเป้าหมายการปรับลดขบวนรถโดยสารตามมาตรการแก้ไขปัญหาของ รฟท. จากเดิมไม่น้อยกว่า 50 ขบวน เป็น 32 ขบวน
ประธาน กนร. พิจารณาแล้วเห็นว่ามาตรการปรับลดขบวนรถฯ กำหนดขึ้นเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเดินรถซึ่งมีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายผันแปรตรง แต่ประชาชนผู้ใช้บริการก็จะต้องมีทางเลือกอื่นด้วย ซึ่ง รฟท.ได้ดำเนินการปรับลดขบวนรถไปแล้ว จำนวน 32 ขบวน ทำให้สามารถลดผลการขาดทุนจากการเดินรถได้ในระดับหนึ่งตามวัตถุประสงค์ ส่วนที่เหลืออีก 18 ขบวน ยังมีความจำเป็นต้องให้เดินรถต่อไป เพื่อมิให้เกิดปัญหากับผู้โดยสารที่ต้องเดินทางโดยขบวนรถดังกล่าว ประกอบกับปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์และบริการเชิงสังคม และ รฟท.อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับโครงสร้าง ซึ่งจะต้องมีการพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับขบวนรถโดยสารเชิงพาณิชย์และบริการเชิงสังคม และ รฟท.จะต้องนำเอากิจการในส่วนของการเดินรถมาจัดตั้งเป็นบริษัทตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ต่อไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-