แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
พระราชกำหนด
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การบริหารสินทรัพย์” ให้มีความหมายรวมถึงการรับซื้อ รับโอน และรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น รวมทั้งกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดังกล่าว
2. กำหนดให้การดำเนินการบางประเภทของบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
3. แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับขอบเขตในการบริหารสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
4. เพิ่มอำนาจให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในการตรวจสอบความครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงของงบการเงิน รายงาน ข้อมูล เอกสารหรือคำชี้แจงที่บริษัทบริหารสินทรัพย์จัดทำ
5. กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์กระทำการและงดเว้นกระทำการได้เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
6. เพิ่มบทบัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทบริหารสินทรัพย์
7. กำหนดโทษบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาต การออกหลักทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงิน การคำนวณอัตราดอกเบี้ย การจัดทำงบการเงิน รายงาน ข้อมูล เอกสารหรือคำชี้แจง และคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริษัทบริหารสินทรัพย์กระทำการงดเว้นกระทำการ หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
8. เพิ่มฐานความผิดและกำหนดโทษกรณีขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ที่ไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบสำหรับความผิดบางประเภทและกำหนดอายุความสำหรับความผิดดังกล่าว
ซึ่งกระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อนำเสนอรัฐสภาต่อไป เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะช่วยขยายขอบเขตการดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบสถาบันการเงินลง นอกจากนี้ ยังทำให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำกับดูแลและควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “การบริหารสินทรัพย์” ให้มีความหมายรวมถึงการรับซื้อ รับโอน และรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้น รวมทั้งกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจดังกล่าว
2. กำหนดให้การดำเนินการบางประเภทของบริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
3. แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับขอบเขตในการบริหารสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น
4. เพิ่มอำนาจให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในการตรวจสอบความครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริงของงบการเงิน รายงาน ข้อมูล เอกสารหรือคำชี้แจงที่บริษัทบริหารสินทรัพย์จัดทำ
5. กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจสั่งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์กระทำการและงดเว้นกระทำการได้เมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
6. เพิ่มบทบัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบกิจการสินทรัพย์ และหนี้สินของบริษัทบริหารสินทรัพย์
7. กำหนดโทษบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือหลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการอนุญาต การออกหลักทรัพย์หรือการให้กู้ยืมเงิน การคำนวณอัตราดอกเบี้ย การจัดทำงบการเงิน รายงาน ข้อมูล เอกสารหรือคำชี้แจง และคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริษัทบริหารสินทรัพย์กระทำการงดเว้นกระทำการ หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
8. เพิ่มฐานความผิดและกำหนดโทษกรณีขัดขวางหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้ที่ไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบสำหรับความผิดบางประเภทและกำหนดอายุความสำหรับความผิดดังกล่าว
ซึ่งกระทรวงการคลังชี้แจงว่า ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่า ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อนำเสนอรัฐสภาต่อไป เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะช่วยขยายขอบเขตการดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้เอื้ออำนวยต่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาระของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบสถาบันการเงินลง นอกจากนี้ ยังทำให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำกับดูแลและควบคุมตรวจสอบการดำเนินกิจการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--