ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทยลงนามในพิธีสารแนบท้ายกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1) พิธีสารฉบับที่ 2 การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) 2) พิธีสารฉบับที่ 7 ระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit System) และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่สามารถเข้าร่วมพิธีลงนามได้ ให้ผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้ลงนามในพิธีสารดังกล่าว ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการด้วย
ในการนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่ประเทศภาคีอาเซียนได้มีการลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนแล้ว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม นั้น โดยที่กรอบความตกลงฯ ดังกล่าว ประเทศภาคีอาเซียน จะต้องร่วมกันจัดทำพิธีสาร (Protocol) 9 ฉบับ เพื่อแนบท้ายความตกลงฯ ซึ่งกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้จัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และได้รับการประสานงานจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศแกนนำ (Coordinator) ว่าควรลงนามพิธีสารดังกล่าวร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 4 (the 4th ASEAN Finance Ministers Meeting) ในระหว่างวันที่ 25 - 26 มีนาคม 2543 นี้
ทั้งนี้ สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 2 ได้แก่
1. กำหนดที่ทำการพรมแดน ตามรายละเอียดในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนการแก้ไขใด ๆ กระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด
2. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ
3. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา
สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 7 ได้แก่
1. ประเทศภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ขนส่งสินค้าผ่านแดนของตนได้ เว้นแต่สินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด ซึ่งได้กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้
2. ไม่มีการเก็บภาษีใด ๆ สำหรับสินค้าที่ขนส่งผ่านแดน
3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตลอดจนพิธีการศุลกากรเพื่อการผ่านแดนจะต้องกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมายแห่งรัฐ และ/หรือประกาศที่ออกโดยศุลกากร
4. ศุลกากรแต่ละประเทศสามารถดำเนินการใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถควบคุมการขนส่งผ่านแดนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และการตรวจของจะกระทำได้เท่าที่มีเหตุอันควรเท่านั้น
5. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ การแก้ไขจะกระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด เว้นแต่บัญชีสินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด แนบท้ายพิธีสารฉบับนี้
6. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ประเทศไทยลงนามในพิธีสารแนบท้ายกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน จำนวน 2 ฉบับ คือ 1) พิธีสารฉบับที่ 2 การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) 2) พิธีสารฉบับที่ 7 ระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit System) และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย และในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่สามารถเข้าร่วมพิธีลงนามได้ ให้ผู้ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้ลงนามในพิธีสารดังกล่าว ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการด้วย
ในการนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่ประเทศภาคีอาเซียนได้มีการลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนแล้ว เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม นั้น โดยที่กรอบความตกลงฯ ดังกล่าว ประเทศภาคีอาเซียน จะต้องร่วมกันจัดทำพิธีสาร (Protocol) 9 ฉบับ เพื่อแนบท้ายความตกลงฯ ซึ่งกรมศุลกากรได้รับมอบหมายให้จัดทำพิธีสารที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ฉบับ และได้รับการประสานงานจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศแกนนำ (Coordinator) ว่าควรลงนามพิธีสารดังกล่าวร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน ครั้งที่ 4 (the 4th ASEAN Finance Ministers Meeting) ในระหว่างวันที่ 25 - 26 มีนาคม 2543 นี้
ทั้งนี้ สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 2 ได้แก่
1. กำหนดที่ทำการพรมแดน ตามรายละเอียดในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนการแก้ไขใด ๆ กระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด
2. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ
3. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา
สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 7 ได้แก่
1. ประเทศภาคีคู่สัญญาจะอนุญาตให้ขนส่งสินค้าผ่านแดนของตนได้ เว้นแต่สินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด ซึ่งได้กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ายพิธีสารนี้
2. ไม่มีการเก็บภาษีใด ๆ สำหรับสินค้าที่ขนส่งผ่านแดน
3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตลอดจนพิธีการศุลกากรเพื่อการผ่านแดนจะต้องกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมายแห่งรัฐ และ/หรือประกาศที่ออกโดยศุลกากร
4. ศุลกากรแต่ละประเทศสามารถดำเนินการใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถควบคุมการขนส่งผ่านแดนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และการตรวจของจะกระทำได้เท่าที่มีเหตุอันควรเท่านั้น
5. บทบัญญัติในพิธีสารฉบับนี้ มิให้มีการตั้งข้อสงวนใด ๆ การแก้ไขจะกระทำได้โดยความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของภาคีคู่สัญญาทั้งหมด เว้นแต่บัญชีสินค้าต้องห้าม ต้องกำกัด แนบท้ายพิธีสารฉบับนี้
6. พิธีสารจะมีผลบังคับใช้ภายหลังการให้สัตยาบันของภาคีคู่สัญญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--